การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT ( KM)


การจัดการความรู้
KNOWLEDGE  MANAGEMENT ( KM)

ความรู้ ( Knowledge )  

    ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์  สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน  ได้ฟัง  การคิดหรือการปฏิบัติ

(คำนิยามจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 )

ประเภทของความรู้

การจัดการความรู้ ( KM )

      การจัดการความรู้ ( Knowledge Management , KM )

      คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร  โดยพัฒนาระบบจาก  ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญา  รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และเกิดการเรียนรู้ภายในองค์กร

ทำไมต้องมีการจัดการความรู้

  1. เมื่อมีบุคลากรเกษียณหรือลาออก มักมีผลกระทบต่องาน

  2. เวลามีปัญหาในการทำงาน ไม่ทราบว่าจะไปถามผู้ที่เก่งในเรื่องนั้นได้ที่ไหน

  3. มีผู้ทรงความรู้มาก แต่คนในองค์กรไม่สนใจในการเพิ่มและแบ่งปันความรู้

  4. องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ไม่ได้ถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยน ต่อยอดความรู้ใหม่

      แต่เป็นการทำงานซ้ำกับคนอื่นที่ได้ทำมาแล้ว

  5. องค์กรมีการสร้าง/แลกเปลี่ยน/ประยุกต์ใช้ความรู้ไม่เป็นระบบ

  6. การตัดสินใจมักกระทำโดยไม่ใช้ความรู้ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ภายในองค์กร

  7. มีข้อมูล+สารสนเทศท่วมท้น แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

หลักสำคัญของการจัดการความรู้

   - ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้และประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร

   -  บริหารจัดการให้คนที่มี Tacit Knowledge ถ่ายทอดออกมาสู่คนอื่นๆ ที่ต้องการความรู้นั้น ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบ เช่น เอกสารคู่มือ/สื่อรูปแบบต่างๆหรือการสอนงานแบบเป็นพี่เลี้ยง/การถ่ายทอด แลกเปลี่ยนความรู้

แนวคิดของการจัดการความรู้

ที่มา https://sites.google.com/site/...

แนวทางการจัดการความรู้

    ใช้วิธีการง่ายๆ ก่อน แล้วค่อยขยายไปใช้วิธีการที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น  สิ่งสำคัญคือ  ต้องให้เกิด

1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice (ผลงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง  มีประสิทธิภาพสูงหรือมีคุณภาพสูง )
2.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ ( Community  of   Practice , CoP )

การดำเนินการจัดการความรู้

  1. กำหนดเป้าหมาย ( Desired State) ให้ชัดเจนโดยพิจารณาจากยุทธศาสตร์ หรือแก้ปัญหาจากองค์กร

  2. วางแผนการจัดกิจกรรม โดยใช้ วงจรการจัดการความรู้ ( Chang Management Process )

  3. จัดทำกระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process )

การดำเนินการจัดการความรู้

Chang Management Process

  1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้คนในองค์กรอยากเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้

  2.สื่อสาร ทำให้ทุกคนเข้าใจว่า ทำอะไร เพื่ออะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร

  3. กระบวนการและเครื่องมือ จัดทำกระบวนการจัดความรู้ (KM Process)

  4. การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ให้กับคนในองค์กรในรูปแบบและสื่อต่างๆ ในทุกโอกาสอย่างต่อเนื่อง

  5. การวัดผล การดำเนินการตามแผน ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้

  6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนในองค์กรที่สนใจการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร

การจัดทำ  KM  Process

1.บ่งชี้ความรู้

2.การสร้างและแสวงหาความรู้

3.การประมวลและกลั่นกรองความรู้

4.การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

5.การเข้าถึงความรู้

6.การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้

7.การเรียนรู้

KM  Process

บุคคลสำคัญในการดำเนินการจัดการเรียนรู้

1.ผู้บริหารสูงสุด ( Chief Executive Officer-CEO) เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการจัดการความรู้ในองค์กรอย่างจริงจัง และกำหนดตัวบุคคลที่ทำหน้าที่เป็น “คุณเอื้อ”

2.คุณเอื้อ ( Chief Knowledge Office-CKO )กำหนดตัว “คุณเอื้อ” และร่วมกันกำหนดเป้าหมายหรือหัวปลาในระดับของ “คุณกิจ” เชื่อมโยงหัวปลาเข้ากับวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ขององค์กร จัดวัฒนธรรมการเรียนรู้แนวราบและการบริหารงานแบบเอื้ออำนาจ (Empowerment) ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันทักษะและการเรียนรู้เพื่อให้ “คุณกิจ”เห็นคุณค่า ติดตาม แนะนำและแสดงความชื่นชม ยกย่องในความสำเร็จ

3. คุณอำนวย ( Knowledge Facilitator – KF )เป็นผู้อำนวยความสะดวก ช่วยจุดประกายความคิดและเป็นนักเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฏิบัติ “คุณกิจ” กับผู้บริหาร “คุณเอื้อ” จัดให้มีเวทีและพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเก็บรวบรวมขุมความรู้ เช่น ใช้ระบบ IT ส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) และสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้และการเรียนรู้ระหว่างองค์กร

4. คุณกิจ ( Knowledge Practitioner – KP ) เป็นผู้ปฏิบัติงาน เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ประมาณร้อยละ 90-95 ของทั้งหมด เป็นผู้ที่มีความรู้ และเป็นผู้ที่ต้องมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกัน

5. คุณประสาน ( Network Manaer ) คอยประสานเชื่อมโยงเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างหน่วยงานให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น

ผลของการจัดการความรู้

ที่มา http://ptjsw.blogspot.com/2010...

ผลของการจัดการความรู้

1. ผลสัมฤทธิ์ของงาน  ดีขึ้น  หรือได้นวัตกรรมใหม่

2. บุคลากร เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ เกิดชุมชนการเรียนรู้

3. ความรู้ของบุคคลในองค์กร มีการจัดระบบและสั่งสมไว้พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์

4. องค์กร  มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้

1.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2.ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา

3.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและการอยู่รอด

4.เกิดการพัฒนาคนและองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

5.เพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผน ดำเนินการได้รวดเร็ว

6.เพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน

7.เพิ่มคุณค่า และมูลค่าให้กับองค์กร

8.เปลี่ยนวัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่งไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน

หมายเลขบันทึก: 643549เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2017 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ธันวาคม 2017 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท