นางงามสมุทรสงคราม


โพสต์โดย ‎Ekkarat Chaiyasit‎ ที่กลุ่ม หอจดหมายเหตุสมุทรสงคราม เมื่อ 28 กรกฎาคม

นางงามสมุทสงคราม 2478 Cr.Bee Sakamon

โพสต์โดย ‎Bee Sakamon‎ ที่กลุ่ม รูปเก่าในวันวาน Old Siam Photo เมื่อ 4 ธันวาคม

นางงามแม่กลอง 2478 สมุทรสงคราม คนกลาง (ไม่ทราบประวัติ)

Manwadee Tangteekarakถึง รูปเก่าในวันวาน Old Siam Photo 25 กันยายน คุณมณฑาทิพย์ อดีตรองนางงามสมุทรสงคราม เมื่อ 50 กว่าปีก่อน

Manwadee Tangteekarak สมุทรสงครามจัดการตนเอง 1 ตุลาคม 2014
ภาพถ่ายเหล่านี้ถ่ายเมื่อปี 2504 สาวสวยที่แต่งชุดไทยหน้าตาคมขำผู้นี้ ผู้เขียนเคยเห็นภาพถ่ายของท่านมาตั้งแต่ผู้เขียนยังเป็นเด็ก ทราบว่าชื่อมณฑาทิพย์ เป็นคนคลองโคน ชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้ในการประกวดนางงามของจังหวัดสมุทรสงคราม ญาติผู้พี่ของผู้เขียนพามาอยู่ด้วยและช่วยเทรนให้ เรียกง่ายๆว่าเป็นพี่เลี้ยงแหละค่ะ ตอนผู้เขียนเป็นเด็กก็ได้ยินพวกผู้ใหญ่พูดกันว่าคุณมณฑาทิพย์เป็นคนสวยมาก สวยกว่าผู้เข้าร่วมประกวดคนอื่นๆ แต่แล้วกลับได้ตำแหน่งแค่รองนางงาม ว่ากันว่าเพราะคงแพ้เส้น ภาพที่ถ่ายร่วมกับคนอื่นๆ ถ่ายที่สนามหญ้าโรงเรียนศรัทธาสมุทร ผู้ที่ให้ข้อมูลมาบอกว่าน่าจะเป็นงานแข่งขันกีฬา (แต่ไม่ยืนยันเพราะเหตุการนี้มันผ่านนานมากจนผู้ให้ข้อมูลไม่ค่อยแน่ใจ) เป็นการพามาโชว์ตัว สมาชิกที่อยู่คลองโคนท่านใดมีข้อมูลในเรื่องนี้กรุณาบอกกล่าวกันบ้างนะคะ (ข้อเพิ่มเติมข้อมูลที่ว่าท่านเป็นคนคลองโคนนั้น หากท่านใดมีข้อมูลอื่นกรุณาแจ้งด้วยค่ะ)

Manwadee Tangteekarak หอจดหมายเหตุสมุทรสงคราม

สองภาพนี้ประมาณปี 2504 ที่สนามโรงเรียนศรัทธาสมุทร ขณะนั้นผู้เขียนยังเด็กมาก เพิ่งเข้าโรงเรียนได้สองปี จำเหตุการได้ลางๆ ไม่ทราบว่าเป็นงานอะไรแต่ได้สอบถามพี่ๆ ที่โตทัน พี่บอกว่าเป็นงานบุญ (ดูเหมือนทอดผ้าป่า หากท่านใดที่ทันแล้วมีข้อมูลกรุณาช่วยเสริมด้วยค่ะ) ขณะนั้นคุณประสิทธิ์ อุไรรัตน์ เพิ่งมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปีแรก ในงานมีนางงามจังหวัดด้วย ผู้เขียนจำได้ท่านเดียวคือ คุณมณฑาทิพย์ สาวงามจากคลองโคน เป็นนางงามของจังหวัดค่ะ

?

หนุ่ม กางเกงเล

รูปประกวดนางงามสมัยแม่ผมยังสาวๆไม่เกิน17-18 ตอนนี้แม่ผม 80 แล้ว







ตำนานนางสาวไทย ตอนที่2

ในปีถัดมาแม้ว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นในทวีปยุโรป และเป็นช่วงที่กำลังจะเกิดกรณีปะทะกับฝรั่งเศสในอินโดจีนในปีพ.ศ. 2482 ก็ตาม หากงานฉลองรัฐธรรมนูญของสยามยังดำเนินต่อไปเนื่องจากภายในประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนแต่อย่างไรเรียม แพศยนาวิน นางสาวไทย ปีพ.ศ. 2482การประกวดนางสาวสยามในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อการประกวดจาก นางสาวสยาม ให้เป็น ''นางสาวไทย'' ตามชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่ รวมไปถึงเรื่องเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดซึ่งได้ระบุให้เป็นชุดกระโปรงระดับความยาวครึ่งเข่าเชื่อมติดกับตัวเสื้อซึ่งมีสายโยงโอบอ้อมด้านหน้าไปผูกกันที่ด้านหลังซึ่งเว้าลึกลงมาถึงครึ่งหลัง ผลการตัดสินในคืนประกวดวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2482 โฆษกประจำงานได้ประกาศชื่อ เรียม เพศยนาวิน ซึ่งส่งเข้าประกวดโดยอำเภอยานนาวา ให้เป็นผู้ครองตำแหน่งนางสาวไทย ท่ามกลางรองนางสาวไทยทั้ง 4 อันดับ ประกอบด้วย มาลี พันธุมจินดา รองอันดับ 1 เทียมจันทร์ วานิชขจร รองอันดับ 2 เจริญศรี ปาศะบุตร รองอันดับ 3 และ ลำยอง สู่พานิชย์ รองอันดับ 4 ตามลำดับ ''เรียม'' ได้รับคัดเลือกเป็นนางสาวไทยคนที่ 6 ของประเทศ ขณะนั้นเธอมีอายุเพียง 16 ปี เป็นบุตรสาวคนโตจากพี่น้องจำนวน 7 คน ของ นายสุมิต ผู้เป็นบิดาชาวอิสลาม แต่มารดาของเธอเป็นชาวจีน เกิดที่อำเภอบางรัก พระนคร สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนมหัสดัมอิสลามวิทยาลัย หลังจากรับตำแหน่งนางสาวไทย กว่า 10 ปี จึงได้เข้าพิธีสมรสกับ เอช เอช ซุดพัตรา ชามา ลุลลาอิล ราชาแห่งรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย มีโอรสธิดารวม 4 องค์ เรียม หรือ รานีซุดพัตรา ชามาลุลลาอิล ตวนมาเรียม ถึงแก่อนิจกรรมอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันในปี พ.ศ. 2529 สิริอายุรวม 64 ปี อนึ่งนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ เรียม นับเป็นสาวมุสลิมเพียงคนแรก และคนเดียวเท่านั้นที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวไทย สว่างจิตต์ คฤหานนท์ นางสาวไทย ปีพ.ศ. 2483 การประกวดนางสาวไทยปีพ.ศ. 2483 ได้เริ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองรอบด้านที่แม้จะเริ่มส่อเค้าของการสู้รบตามแนวพรมแดนด้านอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หากการดำเนินการประกวดในงานฉลองรัฐธรรมนูญก็ยังคึกคักไปด้วยฝูงชนที่เข้ามาร่วมงานมากมาย ปีนั้นการฉลองเป็นไปอย่างครึกครื้น โดยเฉพาะบนเวทีการประกวดนางสาวไทยที่มีการประกวดถึง 5 คืน ระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม การแต่งกายถูกกำหนดให้ผู้เข้าประกวดต้องใส่ชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลังเช่นเดิม แต่เปลี่ยนจากกระโปรงยาวคลุมเข่า มาเป็นกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเพื่อโชว์ส่วนขาอ่อน และแล้วสาวงามผู้ได้รับการคัดเลือกให้ครองตำแหน่งนางสาวไทยด้วยคะแนนชนะเลิศชนิดลอยลำคือ สว่างจิตต์ คฤหานนท์ ผู้ซึ่งคณะกรรมการประชาชนอำเภอยานนาวาส่งเข้าประกวด ส่วนผู้ครองตำแหน่งรองนางสาวไทยอีก 4 คนได้แก่ สมจิตต์ ลิ้มไพบูลย์, อารี ปิ่นแสง, สะอาด ลิ่มสวัสดิ์ และประชิญ ศิวเสน''สว่างจิตต์'' เป็นธิดาของ พันโท พระแกล้วกลางณรงค์ และ นางสาคร คฤหานนท์ ขณะรับตำแหน่งนางสาวไทยนั้นมีความรู้จบชั้นมัธยมบริบูรณ์ และเป็นนางสาวไทยที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมดังที่หญิงไทยพึงมีหลายประการ สว่างจิตต์ เข้าพิธีสมรสกับ เรืออากาศเอก ระริน หงสกุล มีบุตร ธิดารวม 3 คน ปัจจุบัน คุณหญิง สว่างจิตต์ หงสกุล ใช้ชีวิตอย่างสงบ ในวัย 82 ปีท่ามกลางลูกหลานอย่างมีความสุข ปี พ.ศ. 2484 งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานประกวดนางสาวไทยกำลังดำเนินไปตามปกติร้านรวงมีการจัดสร้างไว้อย่างสวยงาม สาวงามผู้เข้าประกวดนางสาวไทยทุกคนได้เริ่มเดินขึ้นสู่เวทีประกวดในคืนแรกแล้ว หากแต่เกิดเหตุการณ์ที่ญี่ปุ่นได้ยกกำลังพลบุกที่บางปู จังหวัประจวบคีรีขันธ์ ตลอดไปจนทั้งแถบจังหวัดภาคใต้ จนถึงมลายู และทั่วไปทุกประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก เพื่อต่อสู้สงครามโดยเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร งานประกวดนางสาวไทยจึงหยุดชะงักกลางคัน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2486 ประเทศไทยจึงได้มีการฉลองขวัญคนไทย และรัฐธรรมนูญด้วยการประกวดนางงาม ดอกไม้ของชาติ ขึ้นมาแทน เนื่องจากไม่ได้มีสาวงามจากต่างจังหวัดเข้าร่วมประกวด ด้วยเหตุผลของการคมนาคมไม่สะดวก จะมีก็เพียงสาวงามจากกรุงเทพฯ และธนบุรีเท่านั้น ผู้ชนะเลิศเป็น ดอกไม้ของชาติ คนแรกและคนเดียวในประเทศไทย คือ ปิยฉัตร บุญนาคการประกวดนางสาวไทย ยุคที่ 2 <ลัดดา สุวรรณสุภา นางสาวไทย ปี พ.ศ.2491 หลังจากสงครามเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในปี พ.ศ.2491 รัฐบาลโดยกองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีมติให้จัดการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญหลังจากว่างเว้นการประกวดนางสาวไทยมาถึง 8 ปีได้กำหนดให้มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม มีการเดินประกวดในชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลัง กางเกงกีฬา เหมือนดังปี 2483 เวทีประกวดถูกจัดขึ้น ณ สวนอัมพร ท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบายของลมหนาวสาวงามผู้ที่ชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินดำรงตำแหน่งนางสาวไทย คือ ลัดดา สุวรรณสุภา ท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ ลักษมี กรรณสูต, อุษา วีรยะวรรธนะ, เรณู ภิบูลย์ภาณุวัธน์ (คุณแม่ แซม ยุรนันทน์) และ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล ''ลัดดา'' เป็นนางสาวไทยที่สื่อมวลชนบางฉบับเรียกขานเธอว่า ''บุหงาปัตตานี'' เนื่องจากเธอเข้าประกวดในนามของจังหวัดปัตตานีแม้ว่าแท้ที่จริงเธอจะเป็นชาวกรุงเทพฯ ก็ตาม ลัดดาครองตำแหน่งนางสาวไทยขณะอายุ 16 ปี เป็นธิดาของนายดิเรกข้าราชการนครบาลกรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 4 จากโรงเรียนซางตาครูซ คอนแวนด์ ''ลัดดา'' เข้าพิธีสมรสกับนายสนิท พุกประยูร มีบุตรชาย 2 คน และในปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2492 การประกวดนางสาวไทยและงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญต้องมีอันงดจัดไป 1 ปี เนื่องจากมีคำสั่งของ ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ด้วยเหตุที่สภาพเศรษฐกิจของบ้านเมืองไม่เอื้ออำนวย อัมพร บุรารักษ์ นางสาวไทย ปีพ.ศ.2493 ปี 2493 ได้มีการพลิกฟื้นงานฉลองรัฐธรรมนูญคืนมาอีกวาระหนึ่งพร้อมกับความคึกคักในบริเวณงานที่เต็มไปด้วยร้านรวงต่างๆ นานาจากหน่วยงานของราชการและเอกชนในปีนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดอีกครั้งหนึ่งและนับเป็นปีแรกของการประกวดที่ผู้เข้าประกวดต้องสวมชุดว่ายน้ำผ้าไหมเดินบนเวที ณ สวนอัมพรนั้นความหนาวเหน็บในปีนั้นก็มิได้ทำให้ผู้ชมงานลดน้อยถอยลงไปแต่ประการใด เนื่องเพราะมีเอื้องเหนือผู้เข้าประกวดหมายเลข 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจากจังหวัดเชียงรายและเป็นขวัญใจของผู้เข้าชมโดยทั่วไปได้รับการขนานนามให้เป็นนางสาวไทย ประจำปี 2493 ได้แก่ นางสาวอัมพร บุรารักษ์ และผู้ได้รับตำแหน่งรองนางงาม ประกอบไปด้วย ศรีสมร อรรถไกวัลวที, วีณา มหานนท์ , โสภิตสุดา วรประเสริฐ และพรทิพย์ จันทโมกข์''อัมพร'' เกิดที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เธอเป็นบุตรสาวคนโตในจำนวน 7 คน ของ นายบุญส่ง ข้าราชการ อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 จากโรงเรียนราษฎร์ประพันธ์กุลและได้รับจากการทาบทามของผู้ว่าราชการส่งเข้าประกวดในนามของจังหวัดเชียงราย นับเป็นนางสาวไทยคนที่ 9 ของประเทศไทย และเป็นเอื้องเหนือคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอได้รับตำแหน่งขณะอายุ 18 ปีต่อมาได้สมรสกับร้อยตำรวจตรี วิศิษฐ์ พัฒนานนท์ มีบุตรธิดารรวม 4 คนอุษณีษ์ ทองเนื้อดี นางสาวไทยปีพ.ศ.2494 การประกวดนางสาวไทย 2494 ยังคงดำเนินต่อเนื่องจากปีกลาย ณบริเวณสวนอัมพรเช่นเดิม มีผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 30 คน ในคืนประกวดวันสุดท้ายสาวงามผู้อยู่ในความสนใจของประชาชนมีอยู่หลายคน แต่ผู้ที่อยู่ในความสนใจของกรรมการมีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งผู้ที่ชนะใจกรรมการในคืนประกวดวันนั้น ได้แก่ อุษณีย์ ทองเนื้อดี สาวงามในชุดว่ายน้ำสีชมพูกลีบบัวท่ามกลางรองนางสาวไทยอีก 4 คน ได้แก่ สุวรรณา กังสดาร, สุภัทรา ทวิติยานนท์, เปล่งศรี โสภาวรรณ และบุหงา วัชโรทัย ''อุษณีษ์'' นางสาวไทยคนที่ 10 ของประเทศไทย เธอเป็นบุตรีคนที่ 4จากจำนวนพี่น้องรวม 8 คน ของ นายเอื้อม ผู้รับราชการเป็นผู้ช่วยสรรพสามิตจังหวัดปราจีนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนสายปัญญาเข้าประกวดนางสาวไทยในนามจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการทาบทามของ หลวงอรรถไกลวัลวที บิดาของ ศรีสมรอรรถไกวัลวที รองนางสาวไทยเมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของอุษณีษ์ขณะครองตำแหน่งนางสาวไทยเธอมีอายุ 18 ปีเต็มโดยเข้าร่วมประกวดพร้อมกับพี่สาว นวลละออ ทองเนื้อดี ซึ่งผ่านเข้ารอบรองสุดท้ายในการประกวดปีเดียวกันของ ''อุษณีษ์'' ความหมายที่มงคลต่อตัวเธอ อันมีความหมายว่า ''มงกุฎ'' มงกุฎของเธอซึ่งเป็นมงกุฎดิ้นเงินปักบนผ้ากำมะหยี่ดังเช่นปีที่ผ่านมาและยังมีแหวนเพชรเสียบอยู่บนเรือนมงกุฎอีกด้วย อุษณีษ์เข้าพิธีสมรสกับร้อยโท ม.ร.ว. พงษ์ดิศ ดิศกุล มีบุตรธิดารวม 5 คน 





ปี 2483... อุษณีษ์ ทองเนื้อดี
      นางสาวไทยคนที่ 10 ของประเทศไทย เธอเป็นบุตรีคนที่ 4จากจำนวนพี่น้องรวม 8 คนของ นายเอื้อม ผู้รับราชการ
เป็นผู้ช่วยสรรพสามิตจังหวัดปราจีนบุรี  สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนสายปัญญา
      เข้าประกวดนางสาวไทยในนาม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการทาบทามของ หลวงอรรถไกลวัลวที
บิดาของ ศรีสมรอรรถไกวัลวที รองนางสาวไทยเมื่อปีก่อนซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของอุษณีษ์  ขณะครองตำแหน่ง
นางสาวไทยเธอมีอายุ 18 ปีเต็ม  โดยเข้าร่วมประกวดพร้อมกับพี่สาว นวลละออ ทองเนื้อดี ซึ่งผ่านเข้ารอบรองสุดท้าย
ในการประกวดปีเดียวกันของ ''อุษณีษ์''  ความหมายที่มงคลต่อตัวเธอ อันมีความหมายว่า ''มงกุฎ'' มงกุฎของเธอ
ซึ่งเป็นมงกุฎดิ้นเงินปักบนผ้ากำมะหยี่ดังเช่นปีที่ผ่านมา  และยังมีแหวนเพชรเสียบอยู่บนเรือนมงกุฎอีกด้วย
       อุษณีษ์เข้าพิธีสมรสกับร้อยโท ม.ร.ว. พงษ์ดิศ ดิศกุล มีบุตรธิดารวม 5 คน

https://www.bloggang.com/viewb...


การประกวดนางสาวไทย ยุคที่ 2 < ลัดดา สุวรรณสุภา นางสาวไทย ปี พ.ศ.2491  หลังจากสงครามเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ในปี พ.ศ.2491 รัฐบาลโดยกองการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีมติให้จัดการประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญหลังจากว่างเว้นการประกวดนางสาวไทยมาถึง 8 ปีได้กำหนดให้มีการประกวดนางสาวไทยขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม มีการเดินประกวดในชุดเสื้อแขนกุดเปิดหลัง กางเกงกีฬา เหมือนดังปี 2483 เวทีประกวดถูกจัดขึ้น ณ สวนอัมพร ท่ามกลางบรรยากาศเย็นสบายของลมหนาวสาวงามผู้ที่ชนะใจกรรมการได้รับการตัดสินดำรงตำแหน่งนางสาวไทย คือ ลัดดา สุวรรณสุภา ท่ามกลางรองอีก 4 คน คือ ลักษมี กรรณสูต, อุษา วีรยะวรรธนะ, เรณู ภิบูลย์ภาณุวัธน์ (คุณแม่ แซม ยุรนันทน์) และ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุษณีษ์ ทองเนื้อดี

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, หมวก และ ภาพระยะใกล้

นางสาวไทย ๒๔๙๔ – นางสาวอุษณีษ์ ทองเนื้อดี ดิศกุล ณ อยุธยา

https://sirinual.wordpress.com...

เดลิเมล์ข่าวภาพ อุษณีย์ ทองเนื้อดี ปีพศ 2495 ประมวลภาพนางงาม











 

http://siamboran.com/product_v...


หมายเลขบันทึก: 643491เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2017 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2017 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท