อานาปานสติ (อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ)


            อานาปานสติ ก่อนทีจะทราบว่า เราจะเนิญอานาปานสติกันอย่างไรนั้นคึวรจะไดวินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ทำไมเราจึงเลือกเอาอาณาปานสติ มาเป็นกัมมัฎฐานหลัก ในที่นี้กันก่อน ซึ่งเมื่อทราบแล้ว จะช่วยให้การเจริญอานาปานสติเป็นไปได้ง่ายขึ้น พึงทราบว่า อานาปานสติเป้นชื่อของกัมมัฎฐานอย่างหนึ่งในบรรดากัมมัฎฐาน ๔๐ อย่าง กัมมัฎฐาน ๔๐ นั้นแบ่งเป็นหมวดๆ คือ

            การเจริญกสิณ ๑๐ อย่างได้แก่ ปฐวีกสิณ (ดิน), อาโปกสิณ (น้ำ), เตโชกสิณ (ไฟ), วาโยกสินณ (ลม), นีลกสิณ (สีเขียว), ปีตกสิณ (สีเหลือง), โลหิตกสิณ (สีแดง), โอทาตกสิณ (สีขาว), อาโลกกสิณ (แสงสว่างจากดวงอาทิตย์) และปริจฉินนนกสิณ (ช่องหรือรู)  ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกัมมฎฐานที่หนักไปในทางฝ่ายรูป และมุ่งหมายที่จะฝึกฝนจิตไปในทางอิทธิวีมาแต่เดิม

             การเจริญอสุภ ๑๐ อย่าง คือ ศพแรกพอง, ศพขึ้นเขียว, ศพหนองไหล, ศพขาดเป็นท่อน, ศพถูกสัตว์กัดกิน, สพหลุดออกเป็นส่วน, ศพแหลกละเอียด, สพอาบไปด้วยเลือด, สพเต็มไปด้วยหนอง และศพเหลือแต่กระดูก, ซึ่งมีความมุ่งหมายหนักไปทางกำจัดกามฉันทะเป็นส่วนใหญ่

              การเจริญอนุสสติ ๑๐ อย่า คือ พุธนุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสติ (ระลึกถึงธรรมที่ทำเป็นเทวดา) มรณานุสติ, กายคตาสติ, อานาปานสติ และอุสมานุสสติ (ระลึกถึงคุณพระนิพพาน),

               การเจริญพรหมวิหาร ๔ อย่าง คือเมตตาพรหมวิหาร, กรุณาพรหมวิหาร, มุทิตาพรหมวิหาร, อุเบกขาพรหมวิหาร

                การเจริญอรูปฌาน ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ(กำหนดความไม่มที่สิ้นสุดของอากาศเป้ฯอารมณ์), วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดควาไม่มีที่สิ้นสุดขอ

วิญญาณธาตุเป็นอารมณ์). อากิญจัญญายตนะ (กำหนดความไม่มอะไรเป็นอารมณ์) และเนวสัญญานาสัญญายตนะ )กำหนดความมัญญาก็ไม่ใช่ และความไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็ฯอารมณ์) ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นอรูปฌาณ เป็นสมาธิ เพื่อสามบติชั้นสูงแต่ไม่เป็นไปเพื่อวิปัสสนา

                ส่วนอีก ๒ อย่างที่เหลือ คือ

                อาหารเรปฏิกูลสัญญา (กำหนดความเป็นปฏิกูลแห่งอาหาร) และ

                จตุธาตุววัฎฐานะ (การกำหนดพิจารณาโดยความเป็นธาตุ) ๔ สองอย่างหลังนี้เป็นการพิจารณาค่อยไปทางปัญญารวมทั้งหมด ๔๐ อย่างด้วยกัน การที่เลือกเพียง หนึ่งใน ๔๐ อย่างนั้น มีเหตุผลคือ

                ในบรรดาสมาธิภาวน ซึ่งมีอยุ่ทั้งหมดด้วยกันถึง สี่ประเภทนั้น อานาปานสติกัมมัฎฐาน สามารถเป็นสมาธิภาวนาได้ทั้ง ๓ ประเภท สมาธิภาวนา ๔ ประเภทเหล่านั้นคือ

                  ๑. สมาธิภาวนาเป้ฯไปเพื่อทิฎฐธรรมสุขวิหาร การอยุ่เป็ฯสุขทันตาเห็น

                   ๒. สมาธิภาวนาเป็ฯไปเพื่อญาณทัสสนะ (อันเป็ฯทิพย์ หมายถึงความมีหูทิพย์,ตาทิพย์ ฯลฯ)

                   ๓. สมาธิภาวนาเป้ฯไปเพื่อความสมบูรณ์ของสติสัมปชัญญะ และ

                   ๔. สมาธิภาวนาเป้ฯไปเพื่อความสิ้นอาสวะโดยตรง

                   สำหรับอานาปานสติภาวนา เหรือการเจิรญอานาปานสตินั้น ย่อมเป็นไปในสมาธิภาวนา ประเภทที่๑ ประเภทที่ ๓ ประเภทที่๔ โดยสมบูรณ์ เว้นประเภทที่ ๒ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์แต่ประการใด อานาปานสติ ย่อมเป็นไปในสมาธิภาวนา ๓ ประเภท ดังที่ได้ระบุแล้วอย่างไรนั้น จะชี้ให้เห็นโดยละเอียดข้างหน้า หรืออาจเห็นได้แม้ด้วยตัวเอง ในเมือได้ศึกษาหรือปฏิบัตเรืองอานาปานสติจบไปแล้ว สวนกัมมัฎฐานอื่น ๆม่สำเร็จประโยชน์กว้างขวางดังเช่นอานาปานสติ ยิ่งกว่านั้น อานาปานสติ เป็นกัมมัฎฐานประเภทที่สงบ และประณีตท้งดดยอารมณ์ และทั้งโดยการกำจัดกิเลส กัมมัฎฐานอื่นโดยเฉพาะกายคตาสติแม้เป็นของคู่เคียกงกันกับอานาปานสติ ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่คือสงบและประณีตแต่โดยการกำจัดกิเลสแต่ไม่สงบและประณีตทางอารมณ์ สวนอานาปานสติสงบประณีตโดยทางอารมณ์ คือ เป้นอารมณ์ของกัมมัฎฐานที่เยือกเย็นสบาย ไม่น่าหวาดเสียว ไม่น่าขยะแขยง ไม่ลำบากแก่การทำ แล้วยังกำจัดกิเลสถึงที่สุดด้วย อานาปานสติเป็นเช่นนี้ ส่วนกายคตาสตินั้นมีอารมนาหวาดเสียว น่าขยะแขยงเป็นต้น แลโดยเฉพาะอย่งยิ่ง อสุภกัมมัฎฐานแล้ว ย่อมมีความหมายเป็นอย่างนี้มากขึ้นถึงที่สุด เนื่องจากอานาปานสติมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จึงปรากฎว่าถูกแนะนำโดยพระผุ้มีพระภาคเจ้าเองว่าเหมาะแก่ทุกคน และทรงสรรเสริญว่าเป้ฯกัมมัฎฐานที่พระอริยเจ้าทั้งหายรวมทั้งพระองคฺด้วยได้เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว และยังคงใช้เป็น “วหารธรรม” อยุ่เป็นประจำอีกด้วย

           ยิ่งไปกว่านั้น การเจริญอานาปานสติ เป้นกาเจริญที่สามารถทำติดต่อกันไปได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเรื่อง หรือไม้องเปลี่ยนอารมณ์ตั้งแต่ต้นจนปลาย คือสามารถเจริญเพื่อให้เกิดสมาธิในระยะแรก และสมาธิที่เจือปัญญาในระยะกลาง และเกิดปัญญาอันสุงสุดที่ทำให้สิ้นอาสวะได้ในระยะสุดท้าย ด้วยการเจริยอานาปานสตินั่นเอง จนตลอดสาย ถ้าเป็นกัมมัฎฐานอื่นโดยเฉาะเช่นกสินณ ก็จะไปแค่เพียงสมาธิ แล้วต้องเปลี่ยนเป็นเรื่องอื่น เพื่อเป็นชั้นวิปสสนาต่อไป ส่วนอานาปานสตินั้น เมื่อเจริญครบทั้ง ๔ จตุกกะ หรือ ทั้ง ๑๖ ระยะแล้ว ย่อมสมบูรณ์อยุ่ในตัว ท้งดดยสมาธิและโดยวิปัสสนา

             ทั้งนี้ อานาปานสติเพียงอย่างเดียว เป้นสมาธิภาวนาได้ถึง ๓ ประเภท ไม่มีกัมมัฎฐานข้อใดที่สะดวกเช่นนี้ สบายเช่นนี และได้รับการยกย่องสรรเสริญมาเช่นนี้,.. บางส่วนจาก หนังสือ “อานาปานสติภาวนา” โดยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) หน้า ๓๒-๓๔

คำสำคัญ (Tags): #อานาปานสติ
หมายเลขบันทึก: 643160เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2017 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2018 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท