แก่นแท้ของการเรียนรู้ เพื่อคุณครู และเด็กไทย


เมื่อมีความเข้าใจในทฤษฏีการศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว จึงนำไปสู่วิธีปฏิบัติอันแยบยล..และผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา “ต้องตระหนักอย่างจริงจัง”ว่า.. การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ คือ วิธีการเรียนรู้ที่ “ผู้เรียน The learner” จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ “ด้วยตนเอง Self-learning” เพราะโลก Internet ทำให้ความรู้จากทุกซอกมุมของโลกส่งถึงกันหมด กลายเป็นข้อมูลความรู้ก้อนมหึมาที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันทั้งโลก It is a great knowledge that everyone can learn the whole world...หมดความสามารถที่ครูผู้สอนจะนำความรู้เหล่านี้มาบอกนักเรียนได้อย่างเดิมอีกแล้ว..โลกทั้งโลกได้หลอมรวมสรรพวิทยาการความรู้ทุกสาขาเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว..คนทุกคนในโลกนี้สามารถเรียนรู้ทันกันหมดแล้ว..นี้คือสถานการณ์ที่บีบบังคับ ให้ “เรียนรู้ด้วยตนเอง Self-learning” ดังที่กล่าวมาข้างต้น..

***แต่ลูกมนุษย์ต้องมีครูสอน ต้องมีครูคอยอบรมกล่อมเกลา..มิฉะนั้นจะเติบโตขึ้นตามยถากรรม ขาดการกล่อมเกลา และมีจิตวิญญาณไม่ต่างอะไรกับสัตว์ป่า***

การเรียนรู้ด้วยตนเอง Self-learning ที่ถูกต้องตามหลักการเรียนการสอนที่เป็นวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาการศึกษา นั้น ผู้เรียนจะต้องเข้าไปเรียนรู้ด้วยตนเองจริงๆ เรียกว่า Active learning participation หรือที่บางท่านนิยมเรียกอย่างง่ายๆว่า Active learning..ง่ายจนเกิดความ “มักง่าย”ในการสอนในการอบรม..นานๆเข้า ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ถึงกับลืมคำสำคัญที่สุด คือ คำว่า Participation คือการที่ผู้เรียนจะต้องเข้าไปร่วมเรียน ร่วมรู้ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมพิจารณา คิดวิเคราะห์เจาะประเด็นปัญหาที่มันเกิดขึ้นในเวลา Learning by doing จริงๆจังๆ..เพราะความรู้ที่แท้จริง ก็คือ ความรู้ที่ได้จากการแก้ปัญหา The real knowledge is the knowledge gained from problem solving. ทั้งสิ้น

วิธีการเหล่านี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎี การสร้างองค์ความรู้ภายในตัวของผู้เรียน “These approaches to learning are grounded in and derived from constructivist theory”..  ทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ภายในตัวผู้เรียน Constructivist theory เป็น ทฤษฎีแห่งความรู้ “Theory of Knowledge” อธิบายถึงที่มาของความรู้ แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง ดังนี้

>>>ที่มาของความรู้ Source of knowledge

มนุษย์เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว “ตั้งแต่ได้รับการปฏิสนธิ Fertilizationในครรภ์มารดา”จนคลอดออกมาดูโลก เรียนรู้ตั้งแต่เกิดจนตาย สิ่งแวดล้อมอย่างนี้เรียกว่า “สิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ Learning environment.”

***ตัวเราเอง ซึ่งเป็นพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ องค์กรทางสังคม ผู้รับผิดชอบทางการศึกษา สื่อ รวมไปถึงรัฐบาล..ควรมีความ “สำนึกอย่างไร” ในการจัดสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ การพูดจา และพฤติกรรมของผู้คนในครอบครัว ในโรงเรียน ในสังคม ควรมีความรับผิดชอบอย่างไร.. เมื่อ "เด็กๆเข้ามาในโรงเรียน..มีสิ่งใดเร้าใจให้อยากเรียน..ตัวครูเอง ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างคุณสมบัติเยาวชนผู้ซึ่งจะเติบไปเป็นพลเมืองชองชาติให้มีคุณภาพได้ดีแค่ไหน..มีอะไรเป็นหลักประกันได้ “ทั้งภายนอก และภายในหัวใจของคนเป็นครู”..***

>>>แหล่งกำเนิดของความรู้ Origin of knowledge ความรู้จะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้ ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อยที่สุด 3 อย่าง คือ

1.ประสาทรับรู้ทั้ง 5 อันเป็นทางที่นำ “ประสบการณ์ความรู้” เข้าสู่สมอง อันได้แก่ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, และกายที่ใช้สัมผัสกับสิ่งที่จะต้องเรียนรู้”

2.ใจ, หรือจิต, คือ สติ consciousness

***ประสาทรับรู้ทั้ง 5 และใจ หรือจิต หรือ สติ ต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นการเรียนรู้ “ด้วยกาย และใจ Body and Mind.” หรือที่เรียกว่า เรียนรู้ด้วย “อายตนะ 6.” หรือ “The six main pathways into the brain” นั่นเอง

3.สิ่งที่จะเรียนรู้ Things to learn คุณครูจะสอนอะไร ?..สอนอย่างไร ?..นักเรียนจะต้องเรียนด้วยวิธีไหน ?..อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์การสอน แหล่งเรียนรู้ และ สื่อ..?..สิ่งเหล่านี้คือ “คำถามในใจของครู..จะเรียนรู้จากของจริง..อุปกรณ์จริง จากแหล่งประกอบการจริง สถานที่จริง เหตุการณ์จริง..หรือ เพียงแค่ “สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นมาเอง” แล้วให้ผู้เรียนไป Learning by doing จากกิจกรรมที่ครูกำหนด หรือสร้างขึ้นนั้น.. สิ่งเหล่านี้คุณครูต้องหาคำตอบให้ได้ก่อนการ “ออกแบบการสอน Instruction design” ทุกครั้ง..

***เมื่อออกแบบการเรียนการสอนแล้ว คุณครูก็ต้องนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งผู้เรียน และผู้สอน เรียกว่า Learning by doing ด้วยกันทั้งคู่..ครูวิจัยการสอน วัดผลตนเองอยู่ตลอดเวลาที่มีการเรียนรู้ ว่า..”กิจกรรมการสอนแบบนี้ ดีต่อการสร้างคุณภาพผู้เรียนอย่างไร หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน..ต้องปรับปรุง แก้ไขตรงไหนอย่างไร หรือไม่..หรือดีแล้ว ควรพัฒนา..ลองวัดผลดูว่า ผู้เรียนได้อะไร แค่ไหนอย่างไร..? เป็นต้น***

>>>ธรรมชาติของความรู้ The nature of knowledge

***ความรู้คือ ความจำอายุสั้น Knowledge is short-lived memory. ดังนั้น ต้อง “แปลงความรู้เป็นความเข้าใจ Knowledge > Understanding” แล้วนำไป “ฝึกฝน จนเกิดเป็นทักษะ คือความชำนาญเพื่อนำไปประกอบสัมมาชีพตามสมควร Knowledge > Understanding > Skill” นี้จึงเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตแท้จริง***

>>>เหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง The real cause of knowledge

***ความรู้ ย่อมเกิดจาก “เหตุแห่งความรู้” Knowledge comes from knowledge creation.*** ด้วยความเชื่อในทฤษฏีการศึกษาอย่างนี้ คุณครูจึงสามารถ แก้ปัญหา และพัฒนาการศึกษาได้ ดังนี้

หากเกิดปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียน..คุณครูจงหาสาเหตุของ “ปัญหาในการเรียนรู้ในผู้เรียนคนนั้นๆให้พบ” แล้วแก้ไขที่สาเหตุนั้นๆ เช่น นักเรียน เรียนจบชั้น ป.6 แล้ว ยังพูดภาษาอังกฤษระดับใช้งานสื่อสารตามปกติไม่ได้..คุณครูต้องหาสาเหตุพบว่า ตั้งแต่เข้าเรียนชั้น ป.๑ มาอยู่ที่โรงเรียนนึ้ “ยังไม่ไม่เคยฝึกพูดภาษาอังกฤษเลย”..คุณครูก็ต้องให้เด็กหัดพูดภาษาอังกฤษ ถ้าฝึกกันจริงๆ และเด็กไม่หูหนวกหรือเป็นใบ้..พอถึงชั้น ป.๓ ก็พูดได้..ฝึกพูด ฝึกอ่าน ฝึกเขียนกันจริงๆ ตั้งแต่ ป.๑..พอถึง ป.๕,ป.๖ ก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารได้สบาย...ลองดูนะครับ..การเรียนรู้อย่างอื่นๆก็เช่นกัน..เด็กคิดไม่เป็น ก็สอนวิธีคิด ฝึกให้คิดเป็น เขาก็รู้จักคิด..ฝึกให้เขาแก้ปัญหา..การเรียนรู้ก็ไปได้สวย..นี่แหละ ธรรมชาติของความรู้ เป็นเช่นนี้เอง..

ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากบุคคล ชุมชน สังคม และวัฒนธรรมนั้นได้ ผู้เรียนต้องเข้าร่วมอย่าง “เป็นเนื้อเดียว” ในกิจกรรมของสังคม วัฒนธรรม บริบททางกายภาพ และสิ่งแวดล้อม แล้ว “สั่งสม บ่มเพาะ เพิ่มพูน ต่อยอดความรู้ขึ้นไป อย่างไม่มีขีดจำกัด” เพื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เขาเรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า “Situated cognition” ซึ่งความรู้ที่สั่งสม บ่มเพาะ และเพิ่มพูน ต่อยอดนี้.. “เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเอง Created within the learner” ไม่ได้เกิดมาจากคำบอกเล่าภายนอกเพียงอย่างเดียว..

จากการเรียนรู้แบบ Situated cognition นี้ เราสามารถนำมา “ดัดแปลง” เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายประเภท เช่น...

>>>Exploratory learning การเรียนรู้ด้วยการสำรวจ เช่น กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ พืชใบเลี้ยงเดียว ใบเลี้ยงคู่ สำรวจแมลง..สัตว์ในท้องนา..ฯ..หรือกิจกรรมอื่นๆทางสังคมก็ได้เช่น บัญชีครัวเรือนของเรา..ค่าใช้จ่ายและการเก็บออมชุมชนของเรา..เรียนรู้จากการลงสำรวจจริงๆ ฝึกให้ผู้เรียนรู้จัก รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ในโอกาสต่างๆ..ความรู้ก็สามารถเกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนเอง..

>>>Apprenticeship learning การฝึกงาน ยิ่งฝึกฝนตนเองก็ยิ่งชำนาญมาก เป็นทักษะในตัวของเขายิ่งๆขึ้นไป เกิดความชำนาญในตนเอง

>>>Problem-based learning การใช้ปัญหาเป็นฐานแห่งการเรียนรู้.. คนเราจะดิ้นรนหาทางแก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับตนเอง แม้บางครั้งจะเป็นการลองผิดลองถูกก็ตาม ถ้าเขาแก้ปัญหาด้วยตนเอง “ปัญญาย่อมเกิดขึ้นในตัวเขาได้ทุกเมื่อ” นั้นคือ ถ้าแก้ปัญหาผิด เขาก็รู้ด้วยตนเองว่าผิด โดยไม่ต้องมีใครมาชี้ความผิด..และถ้าเขาแก้ปัญหาถูกต้อง เขาก็รู้ว่าถูกต้องด้วยตัวเขาเอง..เขาจึงเป็นคนรู้ผิดรู้ถูก..ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Problem-based learning คุณครูจะสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยการ “ยกสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขึ้นมาร่วมกันคิดวิเคราะห์” หาต้นตอของปัญหา และแนวทางแก้ไขร่วมกัน..วิธีนี้เป็นการ “สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้” อีกวิธีหนึ่ง..

ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง

สุทัศน์ เอกา..........................บอกความ

 

หมายเลขบันทึก: 643079เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2017 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท