ประเทศไทยอยู่ในยุคที่กำลังเสื่อม และล้าหลัง หรือคุณคิดว่าไม่ใช่ ?


ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองในภาวะ 'วิกฤติ' ที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าอาจเป็น 'โอกาส' ในการหยิบยกเรื่องการ 'ปฏิรูปประเทศ' มาพูดคุยกันอย่างจริงจังอีกครั้ง

หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน ภารวิชาการธนาคารและการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีเสวนาเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : จุดเปลี่ยนเส้นทางสู่อนาคต" ขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้

เส้นทางสู่ความล้มเหลว 5 ระยะ ได้แก่

1.การหลงระเริงในความสำเร็จ

2.ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด

3.ไม่ยอมรับสภาพที่แท้จริง ปฏิเสธความจริงเกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น

4.การหาทางออกอย่างเชิงรับแบบขอไปที

และ 5.ยอมจำนนกับความล้มเหลว

เมื่อพิจารณาดูเส้นทางเดินของประเทศไทย จากเดิมเคยเป็น "เสือ" แต่เมื่อประเทศไทยมีความต้องการไม่สิ้นสุด พรรคการเมืองใดขึ้นมาบริหารก็เน้นกระตุ้นประชานิยม ใช้เงินลงทุน จนเริ่มปฏิเสธอันตรายที่จะเกิดขึ้น สะท้อนชัดจากการส่งออกที่มีปัญหา การกู้หนี้ยืมสิน (ที่สามารถทำได้ หากใช้เพื่อโครงการที่ดี)

สำคัญที่สุด... ขณะนี้เรากำลังหาทางออกแบบง่ายๆ แบบขอไปทีอยู่หรือไม่ อย่างเรื่องจำนำข้าว ถามนักเศรษฐศาสตร์ทั้งโลกก็คงไม่มีใครอธิบาย (justify) ตรรกะนี้ได้

ประเทศไทยวันนี้จึงกำลังอยู่ในระยะที่ กำลังจะก้าวไปข้างหน้า หรือล้าหลัง นี่เป็นจุดที่สำคัญมาก

ท้ายที่สุดแล้ว เขาฟันธงว่า... ประเทศไทยมีโอกาสที่จะล้าหลัง มากกว่าที่จะก้าวหน้า หากผู้บริหารและนักการเมืองยังไม่ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า ระบบการเมือง ความมีเสถียรภาพทางการเมือง และระบบการกำกับดูแลล้วนมีผลต่อพลังในการพัฒนาประเทศ และจำเป็นต้องปฏิรูปอย่างเป็นรูปธรรม

ไม่ใช่แค่...นโยบายสวยหรูที่แถลงต่อประชาชน

                                                                                                         อ้างอิงThaireform

 

หมายเลขบันทึก: 642988เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2017 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท