พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)


          พระโรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป้นผุ้ริเริ่มก่อตั้งสวนโกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถาน ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาศภิกขุยังมีปรากฎอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรม เทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่าง แท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่ เรื่อง พุทธพาณิชย์ฐ ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเอหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน


         ท่านพุทธทาศภิกขุ หรือฉายาก่อนหน้านี้ว่ อินทปัญโญ แปลว่ ผุ้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ก่อนบวชท่านมีชื่อว่ เงื่อม นามสกุล พาณิช เกิดวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๔๔๙ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ณ อำเภอไชยา จ. สุราษฎร์ธานี เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน มีน้องสองคน ผุ้ชายชื่อ ยี่เก้ย ผุ้หญิงชื่อ กิมซ้อย

           บิดาประกอบอาชีพค้าขายเฉพเช่นที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วไปนิยมทำกัน ส่วนอิทธิพลที่ได้รับมานั้นก็คือ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือความสนใจในการศึกษาธรรมมะ ส่วนทางด้านการเล่าเรียน นั้นท่านต้องออกจากโรงเรยนตอน ม.๓ เพื่อมาช่วยมารดาค้าขาย หลังจากที่บิดาของท่านถึงแก่กรรม

           อายุ ได้ ๒๐ ปี ก็บวชเป็ฯพระตามคตินิยมของชายไทย ที่วัดธารามโดยได้รับฉายาว่า “อินทปัญโญ” เดิมท่านจตั้งใจบวชเพียง ๓ เดือน แต่กด้วยความชอบที่จะศึกษาและเทศน์แสดงธรรมทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่าคร้งกนึ่งท่านเจ้าคณะอำเภอเคยถามท่านว่า มีความเห็นอย่างไรในการใช้ชีวิต ท่าตอบว่า “ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด” และยังกล่วต่อไปอีกว่า “แต่ถ้ายี่เก้ยจะบวช ผมก็ต้องสึกออกไปอยู่บ้านค้าขาย” ท่านเจ้าคณะอำเภอจึงไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่าควรให้ท่านบวชเป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมีชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษการกิอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้นเกรียนตลอดเวลา ยี่เก้ยก็เลยไม่ได้บวชให้พี่ชายบวชแทนมาตลอด ซึ่งต่อมายี่เก้ยก็คือ “ท่านธรรมทาส” ฆราวาสผุ้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสวนโมกขพลาราม

         หลังจากนั้นท่านได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อที่ กรุงเทพฯ จนสอบได้นักธรรมเอก ด้วยความที่ท่านเป็นคนรักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และยังค้นคว้าออกไปจากตำราถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศศรีลักา อินเดีย และการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตกทำให้ท่านรู้นึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือตามระเบยียบแบบแผนมากเกินไป รวมถึงความหย่อนยานในพระวินัยของสงฆ์ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของพุทธศาสนิกชนในขณะนั้น ซึ่งท่านมีความเชื่อว่าพระพุทธศาสนาที่สอน ที่ปฏิบัติกันในเวลานั้นคลาดเคลื่อนไปจากที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ ท่านึงตัดสินใจหันหลังให้กับการศึกษาของสงฆ์ เดินทางกลับไชยาเพื่อศึกษาและทดลองปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านเชื่อ โดยร่วมกับยี่เก้ย ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นธรรมทาส และยังมีคณะธรรมทานในการช่วยจัดตั้งสถานปฏิบัติธรรม “สวนโมกขพลาราม” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาก็ได้ประกาศใช้ชื่อนาม “พุทธทาส” เพื่อแสดงถึงอุดมคติสูงสุดในชีวิตของท่าน

           ท่านได้รับสมณศักดิ์สูงสุดเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมโกศาจารญ์ เมื่ปี ๒๕๒๐ ส่วนในระดับนานาชาตินั้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่มีแผนกสอนวิชาศาสนาสากล ในหลายประเทศล้วนศึกษางานของท่าน มีหนังสือได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันจีน อินโดนีเซียน กว่า ๒๐ เล่ม จากต้นฉบับภาษาไทยทั้งหมด ๑๔๐ เล่ม

            ท่านพุทธทาสได้ละสังขารกลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างสงบ ณ สวนดมกขพลารามเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่าน ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปฎิธานของท่านจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาhttp://www.buddhavihara.ru/tha...

            ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๙ ในการประชุมสมัยสามัญขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติแห่งยูเนสโก ณ สำนักงานนใหญ่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ประชุมมีมติประกาศยกย่องพระธรรมโกศาจารย์หรือ “พุทธทาสภิขุ” เป็นบุคคลสำคัญของโลก เ

             เหตุผลที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่อง “พุทธทาสภิกขุ”เป็นบุคคลสำคัญของโลกกือ การที่ท่านได้อุทิศตนเพื่อการเผยแพร่แก่นพระธรรมที่มีความร่วมสมัยและประยุกต์ใช้ได้กับระดับสังคมและปัจเจกบุคคลรวถึงการผสานส่งเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนาเพื่อความสันติภาพ ความเป็นธรรมของสังคมและบุคคล ดังประกาศเป็นทางการว่า

           “ พุทธทาสภิกขุ เป้นพระภิกษุในพระพุทธสาสนา ที่มีชื่เสียงและเป็นที่เคารพทั่วโล ท่านเป็นผุ้ยุกเบิกในการส่งวเสริมความเข้าใจระหว่างศาสนา โดยใช้การสานเสวนาระหว่งเหล่าศาสนิกต่างศรัทธา

             ท่านได้ละอารามที่เคยพำนัก และได้ค้นพบแนวทางในการผสานพุทธศาสนาในโลก ให้สอดคล้องกับแก่นธรรมคำสอนดั้งเดิมอีกครั้ง ท่นยังเน้นย้ำถึงหลักการอิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่ง ทำให้ท่านเป็นผุ้นำของความคิดเชิงนิเวศวิทยา และผุ้ประกาศจุดยืนเพื่อสันติภาพระหว่างประชาชาติทั้งหลาย

            งานเขียนของท่าน ซึ่งได้รับการแปลและตีพิมพ์ในหลายภาษา มีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อการฟื้นฟูวิธีคิดแนวพุทธขึ้นใหม่

           ความคิดที่ท่านได้แสดงไว้ มิเพียงแต่จะสามารถชี้ทางให้กับประเทศไทยได้เท่าน้้น หากยังรวมถึงสังคมทั้งปวง ที่กำลังพยายามสรรค์สร้างระเบียบทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ อันเที่ยงธรรมและเป็นธรรมอีกด้วย

            A pioneer in the promotion of the inter-religious understanding through dialogue among people of different faiths, Buddhadasa Bhikkhu, a famous Buddhist monk, was highly respected worldwide.

           He left his monastery to rediscover the integration of Buddhism in the world and the spirit of its origins.

          His emphasis on the interdependence of all things made of him a precursor of ecological thought and a champion of peace among nations.

         His writings, which have been translated and published in many languages, have had a very considerable influence on the renewal of Buddhist thinking.

        The thoughts expressed have the potential to guide not only Thailand, but also all societies struggling to create a just and equitable social, political and economic order.

         “พุทธทาสภิกขุ” เป็นชาวไทยคนที่ ๑๘ ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก นับตั้งแต่ปี ๒๕๐๕ เป็นต้นมา จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชมของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ โยเฉพาะชาวพุทธ เนื่องจากท่านเป็นพระสงฆ์ที่ได้ให้หลักธรรมคำสอนที่มีค่าอย่างสูงแก่ประชาชน มีวัตรปฏิบัติที่งดงาม เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งแก่พระสงห์ด้วยกันและประชาชนทั่วไ ปจนเป็นที่เคารพของชาวไทยและประชาชนทั่วโลกhttp://www.bia.or.th/html_th/2...

คำสำคัญ (Tags): #พุทธทาสภิกขุ
หมายเลขบันทึก: 642929เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2017 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2017 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท