ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร : ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21


นางสาวสุกัญญา   พงษ์ศิริรักษ์ รหัสประจำตัว 60B0101512 เลขที่ 12 นักศึกษา ป.บัณฑิต รุ่นที่ 4 หมู่ 5

ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตร : ด้านการพัฒนาการเรียนการสอนของครูผู้สอนให้เข้ากับศตวรรษที่ 21

            ในช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข พร้อมทั้งได้มีการปรับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้ท้องถิ่นและสถานศึกษาได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของคนในแต่ละท้องถิ่น

            โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นมา เกิดจากการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ทั้งทางด้านปรัชญาการศึกษา จิตวิทยา สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชาต่างๆ เป็นต้น ในบทบาทของครูผู้สอนจึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร และแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรด้วย จากการที่ครูผู้สอนได้ศึกษาข้อมูล พบว่าปัญหาการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญที่สุดเกิดจากการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร อาจมีสาเหตุมาจาก

  • ไม่มีการจัดอบรมครูทำให้ครูผู้สอนขาดความรู้กลายเป็นครูที่ไม่มีคุณภาพ
  • ปัญหาการคลาดแคลนงบประมาณ ทำให้เอกสารที่ใช้ในการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
  • ปัญหาในส่วนของครูผู้สอนเองที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน ไม่ปรับโลกทัศน์ให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ทำให้ครูผู้สอนไม่นำวิธีการเรียนการสอนใหม่ๆ มาปรับใช้กับวิชาของตน

จากสาเหตุของปัญหาที่ได้กล่าวมานั้น มีแนวโน้มในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรือแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้

  • อบรมครูผู้สอนด้านความรู้ในวิชาที่สอนเป็นหลัก และวิชาเพิ่มเติม เช่น การอบรมภาษาต่างประเทศ การอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ให้ครูผู้สอนเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมการสอน ทั้งในด้านของเนื้อหา กิจกรรมในห้องเรียน และเอกสารหรือสื่อที่ใช้ในการประกอบการเรียนการสอนด้วย
  • สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนมากขึ้น โดยต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • จัดการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยอาจมีศูนย์การเรียนรู้นอกจากในชั้นเรียน เช่น บ้าน ห้องสมุด เป็นต้น
  • จะต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับชั้น

           กล่าวโดยสรุปได้ว่า ถ้าครูผู้สอนให้ความสำคัญของปัญหาในการเรียนการสอน มีการทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ มีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ปรับโลกทัศน์ให้เข้ากับยุคปัจจุบัน และเตรียมการสอนก่อนเข้าชั้นเรียน จะทำให้นักเรียนกลายเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุข ตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544




อ้างอิง:

https://www.sites.google.com/s...050/payha-laea-naew-nom-ni-kar-phathna-hlaksutr

http://patthadon-dit9941.blogs...

http://narajasmine.blogspot.com/2015/05/blog-post_78.html

http://patthadon-dit9941.blogs...

http://www.l3nr.org/posts/408465

http://manthana043.blogspot.com/2015/05/16.html

https://sites.google.com/site/viewnaiyana/kar-pramein-hlaksutr

http://pornsawanlimsinsopon039...

 

หมายเลขบันทึก: 642917เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2017 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ธันวาคม 2017 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เนื้อหาสาระน่าสนใจค่ะ

????‍♂️?‍♂️?‍♂️?‍♀️?‍♀️?‍♀️good idea 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท