Transformative Learning วิทยาลัยพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี


Transformative Learning 
วิทยาลัยพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี

16-11-60
ได้รับคำเชื้อเชิญให้ไปเป็นวิทยากรกระบวนการ
และทำ Workshop การใช้แนวคิด Transformative Learning มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาล

หลังจากที่ท่านผู้อำนวยการกล่าวต้อนรับ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นโดยใช้รูปแบบ Interactive Lectures เป็นการบรรยายสั้นๆ เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง Transformative Learning
"พูดเนื้อหาสั้นๆ สลับการทำ Reflection"
ทำให้บรรยากาศค่อนข้างมีลักษณะของความตื่นรู้และเบิกบานเกิด Active Learning อยู่ตลอดเวลา

(***Interactive Lectures เป็นการเรียนการสอนที่สอดแทรกกลยุทธ์ Active Learning มีความเสี่ยงต่ำได้ผลสูง เป็น ทางเลือกที่แตกต่างจากการสอนแบบบรรยายธรรมดา Interactive Lectures ประกอบด้วยสองส่วน คือ การบรรยายไม่ยาวนักของผู้สอน และหยุดบรรยายเพื่อการให้โอกาสผู้เรียนได้คิดและให้การตอบสนอง)

จากนั้นก็เริ่ม Dialogue และการทำ Reflection ควบคู่กันไปเพื่อสะท้อนประสบการณ์เดิมและการเรียนรู้ใหม่ที่มีต่อ Transformative Learning  โดยใช้คลิปวีดีโอสั้นๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ 

ตลอดทุกๆ กระบวนการเรียนรู้มีการทำ Reflection อยู่เป็นระยะๆ

ในช่วงบ่ายได้จำลองการฝึกการทำแผนการสอนตามแนวทางของ TL ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ เป้าหมายการเรียนรู้และการประเมินผล ซึ่งน่าจะเน้นในการประเมินผลที่เป็น Formative assessment และหากใช้บนฐานของ KM ร่วมด้วยอาจจะเป็นการทำ AAR (After Action Review) ร่วมด้วยได้

เป็นอีกหนึ่งวันที่มีความสุขและสนุกในการเรียนรู้มาก
เมื่อดู BAR และ AAR ได้เห็นทั้งความคาดหวังและสิ่งที่เกิดการเรียนรู้ที่เหนือความคาดหวังอย่างน่าตื่นเต้นและมีความสุข

ท่านผู้อำนวยการฯ ช่วยทำสะท้อนคิดว่า "กระบวนการเรียนรู้วันนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึง How to ของการนำ Transformative Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง"

ประทับใจและน่าติดตามมาก
ประมาณเมษายน ไปร่วมทำ DAR อีกครั้ง (Duration Action Review)

ได้เกิดการเรียนรู้อะไรในตนเอง
- เห็นพลังของการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการเปิดใจของผู้เข้าร่วมกระบวนการ ทำให้การจัดกระบวนการครั้งนี้ดำเนินไปได้ลื่นไหลดั่งสายธาร
- ส่วนตัวของกระบวนกรเอง ได้เกิดความสำเร็จในการทำ Interactive Lecture ค่อนข้างประทับใจในตนเองและมีความพอใจค่อนข้างมาก
- ความท้าทายของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในหนึ่งวันที่สามารถทำได้เกือบครบทุกกระบวนการ
- การเกิดปฏิสัมพันธ์ที่มีความเป็นกัลยาณมิตรร่วมกับคณาจารณ์ทุกท่าน และมีมุมมองของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกันเป็นระยะ
- ทุกๆ การออกแบบสะท้อนถึงโอกาสของการเรียนรู้ในฐานะของวิทยากรกระบวนการ ทำให้เกิดปิติสุขในตนเองและเป็นพลังมากมายในตนเอง

"การมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง TL+R2R+KM เนียนเข้าไปในเรื่องเดียวกัน" 

Capture ประเด็นที่ทางผู้เข้าร่วมกระบวนการสะท้อนออกมา
[1]
ความรัก
สังเกต
ทดลอง
มีการเปลี่ยนแปลง
เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
มีความสุข
แม่เป็นโค้ช
ให้กำลังใจ
เป็นต้นแบบ
ปรับกระบวนการเป็นระยะ
พัฒนารูปแบบตัวเอง
กระบวนการสอนหลายวิธี

[2]
เห็นความจริงลองทำ
สร้างแรงบันดาลใจ
เจอปัญหาเป็นโอกาส
กำลังใจ
ความคิดสร้างสรรค์
เกิดจากความสงสัย(ตั้งคำถาม)
เรียนรู้จากปัญหา
Review 
นอกกรอบ พัฒนานวัตกรรม 
การใส่รหัส encoding 
ทักษะวิจัย

Reflection 
- สะท้อนคิด
- เชื่อมโยง
- ลึกซึ้ง
- วิเคราะห์
- คิดต่อยอด
- คิดเป็นระบบ
- ผู้เหนี่ยวนำ


<p></p>

หมายเลขบันทึก: 641558เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท