ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ศาสนากับสันติภาพ


ศาสนากับสันติภาพ

พระพิชิตชัย จิรวฑฺฒโน เลขที่ 3

ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิตหรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน  (th.wikipedia.org/เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560

สันติภาพ  Johan Gultung ได้อธิบายความหมายไว้ดังนี้ สันติภาพ คือ การปราศจากภาวะความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงทางวัฒนธรรมการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง ทีไม่ใช้ความรุนแรง และสร้างสรรค์ www.gotoknow.orgเข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560

1. หลักธรรมของศาสนากับสันติภาพ

เมื่อมนุษย์วางท่าทีต่อศาสนาได้อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถหาหลักการของศสานาไปใช้เพื่อสร้างสันติภาพได้ พระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง (2548: 53-62) ได้สรุปแนวคิดของศาสนากับสันติภาพไว้ว่า ทุกศาสนาต่างก็มีจุดร่วมอย่างเดียวกันคือการพยายามเสนอคำตอบเชิงข้อแนะสำหรับมนุษย์และสังคมโดยการสร้างสันติภาพให้เกิดภายในจิตใจก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างสันติภาพภายนอก สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือการที่ศาสนิกชนของแต่ละศาสนาสามารถเข้าถึงหัวใจหรือแก่นแท้ของศาสนาที่ตนนับถือให้ได้แปรสภาพจิตใจให้เกิดสันติภาพภายในตนและสันติภาพภายในจิตใจ เป็นพลังที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนกระบวนการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆ และสร้างสันติภาพภายนอกให้เกิดขึ้นในสังคมตลอดถึงการดำรงรักษาสันติภาพไว้ให้ยั่งอยู่ได้ต่อไป http://pws.npru.ac.th/เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560

              1.1 ศาสนาพุทธกับสันติภาพ   พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้รู้เพราะมาจากคา ว่า “พุทธ”แปลว่าผู้ตรัสรู้ และคา ว่า “ศาสนา” แปลว่า คา สอน รวมกันแปลว่า คำสอนของท่านผู้รู้ความจริง (พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต). 2546: อ้างถึงใน พระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง, 2548: 53  สันติภาพในพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ สันติภาพภายใน และภายนอก โดยสันติภาพภายใน หมายถึง การที่สภาวะจิตได้บรรลุพระนิพพานซึ่งเป็นสันติภาพที่แท้จริงและสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเกิดข้นจากการฝึกฝนอบรมพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาและสันติภาพภายนอก หมายถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนหรือของสังคมหรือของโลกทั้งหมดซึ่งเป็นภาวะที่ทุกคนมองเห็นรับรู้ได้และเป็นภาวะที่เกิดข้นจากการที่สังคมมีความสงบเรียบร้อยไม่มีการรบราฆ่าฟัน ไม่มีสงคราม อยู่กันโดยไม่เบียดเบียน (พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) อ้างถึงในพระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง, 2548: 53)

             1.2 ศาสนาคริสต์กับสันติภาพ    ศาสนาคริสต์มีคา อธิบายจำกัดความโดยย่อว่า “ศาสนาแห่งความรักของพระเจ้าศาสนาแห่งความรักของมนุษย์ อันพระยีซัสไคร้สต์ (เยซู) ทรงเป็นผู้นำ มาเผยแผ่ กู่โลก” (เสถียร พันธรังษี, 2542. อ้างถึงในพระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง, 2548: 56)  ความรักดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือความรักต่อพระเจ้าและความรักต่อเพื่อนบ้าน ความรักด้านแรกได้แก่การปรารถนาและร่วมมือให้พระเจ้าได้รับเกียรติมากข้นซึ่งจะทา ให้มีความรู้สึกมั่นใจในการดำรงชีวิต มีความหวัง มีความหมาย มีคุณค่า งดงาม และมหัศจรรย์การดา เนินชีวิตก็จะเป็นไปเพื่อความเสียสละและการเสียสละที่ยิ่ง ใหญ่ก็คือการเสียสละเพื่อพระเจาความรักด้านที่สอง ได้แก่ ความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ซึ่งหมายถึงการสละความสุขและผลประโยชน์ส่วนตัวมากเท่าที่ใจจะตัดได้เพื่อความดีของผู้อื่น สามารถมอบให้กับคนทุกคนได้ไม่เลือกชนชั้นวรรณะไม่วา คนนั้น จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว หรือเป็นมิตรหรือศัตรูก็ตาม

                 1.3 ศาสนาอิสลามกับสันติภาพ   ศาสนาอิสลามได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ เพราะคา ว่า “อิสลาม” ซึ่งเป็นชื่อของศาสนานั้น เดิมเป็นภาษาอาหรับคือคา ว่า “อัสละมะ” (Aslama) แปลว่า ยอมตาม ยอมจำนน ยอมตน ซึ่งมาจากรากศัพท์ว่า “ซะลิมะ” แปละว่า “สันติ” (peace) อิสลามจึงหมายถึง การยอมตน ยอมตาม ยอมจำนนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้ประสบสันติทั้งโลกนี้และโลกหน้า (อาห์มัด ลุดชิโต(Ahmad Ludjito), 2536. พระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง, 2548: 60) ผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่ามุสลิม แปลว่า ผู้ใฝ่สันติ คำเรียกตนเองของผู้นับถือศาสนาอิสลามนั้น เป็นเครื่องเตือนสติให้ดา เนินชีวิตตามแนวทางของพระผู้เป็นเจ้า ตลอดถึงการทักทาย หรือการกล่าวสะลามของชาวมุสลิมว่า “อัสสะลามุอะลัยกุม” แปลว่า “ขอให้สันติภาพของพระเจาจงอยู่กับ ท่าน”

                   สันติภาพเป็นความใฝ่ฝันของมนุษยชาติมาทุกยุคทุกสมัย แม้กระนั้นโลกแทบไม่เคยว่างเว้นจากสงคราม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เสร็จสิ้น เชื่อกันว่า “สงครามที่ยุติสงครามทั้งหลาย” จะนำมาซึ่งสันติภาพได้ แต่แล้วผ่านไปเพียงแค่ 2 ทศวรรษ สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น การพ่ายแพ้อย่างยับเยินของเยอรมนีและญี่ปุ่นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว และการเกิดองค์การสหประชาชาติ ได้สร้างความหวังไปทั่วทั้งโลกว่าสันติภาพจะสถาปนาตั้งมั่นในโลก แต่แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ปีโลกก็ต้องเผชิญกับสงครามเย็น ที่นำไปสู่สงครามและความรุนแรงน้อยใหญ่ไปทั่วโลก รวมทั้งสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม และสงครามในอาฟกานิสถาน รวมไปถึงการสะสมกำลังทางอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งสามารถทำลายล้างโลกได้หลายครั้ง การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและกำแพงเบอร์ลิน สร้างประกายแห่งความหวังขึ้นมาใหม่ทั้งในทางสันติภาพและประชาธิปไตย จนถึงกับมีผู้กล่าวว่า “จุดจบของประวัติศาสตร์” ใกล้เข้ามาแล้ว แต่แล้วเพียง 2 ปีให้หลังเท่านั้น สงครามก็อุบัติขึ้นในยูโกสลาเวีย ตามมาด้วยสงครามกลางเมืองในอีกหลายประเทศ ใช่แต่เท่านั้นความรุนแรงในรูปแบบใหม่ได้เกิดขึ้น นั่นคือการก่อการร้ายอย่างไร้พรมแดน ซึ่งนำไปสู่สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งมีอาฟกานิสถานและอิรักเป็นสมรภูมิเต็มรูปแบบ ไม่นับความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการสูญเสียล้มตายอีกมากมายในทั่วทุกมุมโลก

2.วัฒนธรรมแห่งสันติ

            ความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และสีผิว ได้ทำให้สิ่งที่เรียกว่าการเมืองที่ชูประเด็นอัตลักษณ์ (politics of identity) กลายเป็นเรื่องโดดเด่นขึ้นมาในปัจจุบัน แต่ที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปก็คือ การทำให้ “วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง” มีบทบาทมากขึ้นจนกำลังเป็นกระแสใหญ่ทั่วทั้งโลก วัฒนธรรมดังกล่าวกำลังได้แพร่ระบาดในนานาประเทศ และมีอิทธิพลต่อประชาชนทุกระดับไม่เว้นแม้แต่ชนชั้นกลางและผู้ที่มีการศึกษา

           วัฒนธรรมดังกล่าวนอกจากจะเอาความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา และสีผิวมาเป็นเส้นแบ่งผู้คนในประเทศเดียวกันออกเป็น 2 ฝ่าย (คือ “เรา” กับ “เขา”) หากยังสร้างภาพให้คนที่อยู่อีกด้านของเส้นแบ่งนั้นเป็นตัวเลวร้าย เห็นแก่ตัว ไม่รักชาติ ต่ำทราม ล้าหลัง หรือมีความเป็นมนุษย์น้อยกว่า อีกทั้งมีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคาม “พวกเรา” บ่อยครั้งวัฒนธรรมดังกล่าวได้อาศัยลัทธิชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นเร้าให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อต่อต้านและต่อสู้กับอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อทั้ง ๒ ฝ่ายต่างปลุกเร้าวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังให้เพิ่มมากขึ้น ผลก็คือต่างเป็นปฏิปักษ์ต่อกันมากขึ้น และตกอยู่ในวังวนแห่งความขัดแย้งซึ่งลุกลามเป็นความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที

           สันติภาพไม่ว่าในระดับใดก็ตาม ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังแพร่ระบาดอย่างกว้างขวาง และหยั่งลึกลงไปในจิตใจของผู้คน ศาสนาจะเป็นสะพานแห่งสันติภาพได้ก็ด้วยการต่อสู้ทัดทานกับวัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง ศาสนาไม่ว่านิกายใด(อันที่จริงต้องกล่าวว่าเป็นลักษณะร่วมของทุกศาสนาด้วย) ล้วนเน้นถึงความเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณ ชนิดที่ไปพ้นเส้นแบ่งทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และสีผิว ในทัศนะของพุทธศาสนามนุษย์ทุกคนล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลก เป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บและตาย ใช่แต่เท่านั้นในวัฏสงสารอันไม่มีสิ้นสุดเราทั้งหลายยังอาจเคยเป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องกันไม่ชาติใดชาติหนึ่งมาแล้ว

          ศาสนายังเน้นถึงปัญญาเพื่อการเข้าถึงความจริง ความจริงนั้นเป็นปฏิปักษ์กับความเกลียดชัง เพราะความเกลียดชังนั้นมีพื้นฐานอยู่การบิดเบือนความจริง ถ้าอยากจะทำให้ผู้คนเกลียดชังใครสักคน ก็จำต้องสร้างภาพคน ๆ นั้นให้เป็นตัวเลวร้ายประหนึ่งยักษ์มาร และเมื่อเกิดความเกลียดชังแล้ว เราก็ไม่เห็นเขาเป็นมนุษย์อีกต่อไป หรือไม่ก็เห็นแต่ความเลวร้ายของเขาเพียงส่วนเดียว ที่สำคัญคือความเกลียดชังนั้นเกิดขึ้นได้เพราะมองเห็นแต่ความแตกต่างของกันและกัน ทั้ง ๆ ที่มนุษย์เรานั้นมีความเหมือนยิ่งกว่าความต่าง ปัญญาช่วยให้เรามองพ้นอคติทางเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา สีผิว ประจักษ์ถึงความจริงว่ามนุษย์เรานั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้แต่คู่กรณีหรือ “ปฏิปักษ์” ก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา

          ปัญญาและกรุณาควรเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมแห่งสันติที่ผู้คนทั่วโลกควรร่วมมือกันสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น โดยไม่เพียงทำกันในระดับละแวกบ้านหรือชุมชนเท่านั้น ดังที่มักเป็นมาในอดีตเท่านั้น ควรให้ขยายไปในระดับประเทศและระดับโลก ที่แล้วมาคนส่วนใหญ่มักพอใจที่จะสร้างสันติในระดับบุคคล ครอบครัว หรือละแวกบ้านเท่านั้น การกระทำดังกล่าวอาจใช้ได้ในบริบทของสังคมดั้งเดิมเมื่อศตวรรษที่แล้ว แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ทุกอย่างส่งผลกระทบต่อกันไม่ว่าอยู่จุดใดของโลก

3. วิธีการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติ

               3.1 เสริมสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างผู้คนในโลก    วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชังนั้นผลักผู้คนให้เหินห่างจากกัน สิ่งที่ต้องเข้ามาแทนที่คือพลังที่จะดึงคนเข้ามาใกล้ชิดกัน ไว้วางใจ และร่วมมือกันที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ อย่างแรกที่น่าทำคือการสร้างความไว้วางใจและร่วมมือระหว่างศาสนา ปฏิเสธไม่ได้ว่าในอดีตและปัจจุบันศาสนานั้นมีบทบาทอย่างมากในการก่อความเป็นปฏิปักษ์อันนำไปสู่ความรุนแรงและสงคราม แต่ในเวลาเดียวกันศาสนาก็มีศักยภาพอย่างมากในการสร้างความรัก ความอดกลั้นและการให้อภัย อันเป็นสิ่งสำคัญของสันติภาพ สันติภาพในโลกจะมีความหวังได้ต่อเมื่อศาสนาทั้งหลายหันหน้าเข้าหากัน หรือทำยิ่งกว่านั้นคือการร่วมมือกันเพื่อให้ความรักมาแทนที่ความเกลียดชัง การให้อภัยมาแทนที่ความพยาบาท

                นอกจากความร่วมมือระหว่างศาสนาแล้ว ความไว้วางใจและความร่วมมือระหว่างคนต่างเชื้อชาติ ภาษา และสีผิวก็สำคัญเช่นกัน ความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ในหลายประเทศเกิดขึ้นเพราะการหันหลังให้กันจนเกิดความระแวงและการเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน สิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อช่วยลดความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ก็คือการมีเวทีที่นำคนเหล่านี้มาพบปะกัน พูดคุยกัน และใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาถึงความระแวงและหวาดกลัวที่มีต่อกัน กิจกรรมเหล่านี้อาจช่วยให้แต่ละคนแต่ละกลุ่มพบว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้น่ากลัวหรือเลวร้ายอย่างที่ตนเองวาดภาพไว้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่องค์กรชาวพุทธน่าส่งเสริมให้เกิดมีขึ้นมาก ๆ ทั้งในประเทศของตน และในประเทศอื่น ๆ ที่มีชาวพุทธเข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งด้วย หรืออาจทำร่วมกันศาสนาอื่นก็ได้โดยเฉพาะในกรณีที่ศาสนานั้นเข้าไปมีส่วนพัวพันกับความขัดแย้งทางด้านชาติพันธุ์ด้วย ประสบการณ์มากมายในนานาประเทศยืนยันว่า การสร้างความสัมพันธ์แบบตัดผ่านระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลายนั้นนอกจากจะช่วยบรรเทาความระแวงและความรุนแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันความขัดแย้งมิให้ลุกลามไปเป็นความรุนแรงด้วย

                 3.2 ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ   การศึกษาเพื่อสันติภาพเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจากการศึกษาทั่วโลก นี้คือบทบาทที่ชาวพุทธสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้มาก ทั้งโดยการนำเสนอในโรงเรียนต่าง ๆ และการฝึกฝนอบรมนอกโรงเรียน การศึกษาเพื่อสันติที่ควรส่งเสริมให้มีมากขึ้นนั้น ไม่เพียงเน้นย้ำถึงความสำคัญของสันติภาพเท่านั้น หากยังควรส่งเสริมให้เกิดทัศนคติที่เอื้อต่อสันติภาพ เช่น ความใจกว้าง การเคารพและยอมรับความหลากหลาย การรู้จักให้อภัย และที่สำคัญก็คือทัศนคติที่ว่าความรุนแรงนั้นไม่อาจแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน หากต้องแก้ด้วยสันติวิธี เพราะสันติวิธีเท่านั้นที่เป็นหนทางสู่สันติภาพได้ สิ่งที่ควรควบคู่กับทัศนคติดังกล่าวก็คือทักษะการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี ไม่ว่าความขัดแย้งในโรงเรียน ในที่ทำงาน ในครอบครัว ในชุมชน และในประเทศ สามารถแก้ไข้ได้โดยสันติวิธี หากผู้คนได้เรียนรู้ทักษะดังกล่าว หากเริ่มต้นตั้งแต่ในระดับโรงเรียนได้ยิ่งดี ดังที่ในสหรัฐอเมริกามีโรงเรียนประถมและมัธยมหลายพันแห่งได้สอนเด็กให้รู้จักทักษะการแก้ไขความขัดแย้งที่มีกับเพื่อน รวมทั้งวิธีจัดการกับความโกรธ จนสามารถเป็นอาสาสมัครไปช่วยระงับความขัดแย้งของเพื่อนในโรงเรียนได้

                   การศึกษาเพื่อสันติภาพ น่าจะขยายไปถึงการฝึกอบรมปฏิบัติการสันติวิธี เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นในการต่อสู้เพื่อป้องกันสิทธิและเรียกร้องความเป็นธรรม การที่ประชาชนไม่รู้จักปฏิบัติการสันติวิธีที่มีประสิทธิภาพ บ่อยครั้งทำให้เขาเหล่านั้นหันไปหาความรุนแรงเป็นทางออก ขณะเดียวกันตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐก็ควรรู้จักสันติวิธีเมื่อเผชิญกับผู้ประท้วงเพื่อจะได้รักษาความสงบได้ บ่อยครั้งที่พบว่าเมื่อตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐไม่รู้วิธีที่จะจัดการกับผู้ประท้วงโดยสันติวิธี จึงหันไปหาความรุนแรงเช่นกัน

                3.3 จัดทำสื่อเพื่อสันติภาพ   สื่อมวลชนนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติของผู้คน ปัจจุบันสื่อมีบทบาทไม่น้อยในการสร้างความเกลียดชังและความระแวงต่อกันและกัน นอกเหนือจากการสั่งสมนิสัยก้าวร้าวและนิยมความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา ผู้คนทั่วโลกควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสื่อเพื่อสันติภาพ เพื่อสร้างทัศนคติที่ใฝ่สันติภาพและสันติวิธี สื่อดังกล่าวนอกจากจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อสันติโดยมีเนื้อหาตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ควรจะมีบทบาทในการลดทอนอคติทางชาติพันธุ์ ศาสนา และสีผิว โดยนำเสนอภาพความเป็นมนุษย์ของคนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เห็นว่าแท้จริงเขาก็มีความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา สื่อดังกล่าวควรช่วยให้เห็นวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ รวมทั้งความสุขและความทุกข์ของคนกลุ่มต่าง ๆ โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ เพื่อที่คนกลุ่มอื่นจะได้มีความเข้าใจชีวิตและความใฝ่ฝันของคนเหล่านั้นด้วย

               ขณะเดียวกันสื่อดังกล่าวควรมีบทบาทในการนำเสนอข่าวสารที่ส่งเสริมสันติวิธี เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวที่นำเสนอส่วนใหญ่มักเน้นเรื่องที่หวือหวาดึงดูดใจ ดังนั้นจึงมักหนีไม่พ้นที่จะนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความรุนแรง อาชญากรรม และการทะเลาะวิวาทกัน ขณะที่ข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างสรรค์ การร่วมมือกัน รวมทั้งการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี กลับถูกมองข้าม ข่าวประเภทหลังเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรพัฒนาสื่อขึ้นมารองรับ ไม่ว่าในรูปของหนังสือพิมพ์ วารสาร วิทยุ และโทรทัศน์ และหากเป็นไปได้แม้กระทั่งรายการภาคบันเทิง หรือเกมต่าง ๆ ในวิทยุโทรทัศน์ ก็ควรพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมความร่วมมือยิ่งกว่าการแข่งขัน ความเสียสละยิ่งกว่าความเห็นแก่ตัว รวมทั้งการใช้สันติวิธียิ่งกว่าความรุนแรง  บทความโดย พระไพศาล วิสาโล พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพwww.visalo.org/เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560)

4. สรุป

          ศาสนาเป็นรากฐานสำคัญที่จะให้มวลมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ โดยใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นหลัก ความคิด และเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นแก่โลกได้อย่างแท้จริง

                หลักการและหลักธรรมเป็นหลักที่มุ่งสู่สันติภาพทั้งสิ้น ศาสนานั้นก็อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งความแตกแยก แต่ด้วยคุณธรรม เช่น ความอดทน ความเสียสละ ความรักและความรู้ ที่ยึดเป็นแนวปฏิบัติและมีผู้ปฏิบัติตามจนกระทั่งประชาชนยึดหลักคำสอนและวิธีการ และใช้เป็นแนวทางทำให้สังคมมีความสงบสุข แต่ในขณะเดียวกันปัจจุบันนี้หลักคำสอนหรือแนวทางของศาสนา ยังสามารถเป็นแนวทางแห่งสันติภาพได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่าวันนี้สังคมโลกจะให้ความสำคัญเรื่องสันติภาพมากน้อยเพียงใด และจะผลักดันการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขให้มีผลทางปฏิบัติสู่สังคมโลกได้อย่างไร

ไฟล์เพาเวอร์พอยท์ 

20171116150914.pptx

อ้างอิง

          th.wikipedia.org/เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560

          www.gotoknow.org/เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560

          บทความโดย พระไพศาล วิสาโล พุทธศาสนาเพื่อสันติภาพwww.visalo.org/เข้าถึงข้อมูลเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2560)

 พระมหานครินทร์แก้วโชติรุ่ง (2548: 53-62)สรุปแนวคิดของศาสนากับสันติภาพhttp://pws.npru.ac.th/เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนา#สันติภาพ
หมายเลขบันทึก: 641507เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2017 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท