ใบอนุญาตนักบิน


แบ่งระดับของการอนุญาตการทำการบินเป็น 3 ระดับครับ ตามรายละเอียดนี้ครับ



1. PRIVATE PILOT LICENCE (PPL)

ใบอนุญาตส่วนบุคคล ผู้ถือใบอนุญาต จะทำการบินกับเครื่องบินเล็ก ส่วนตัวได้ และสามารถบินได้เช่นเดียวกับนักบินอาชีพเกือบทุกประการ เว้นแต่ไม่สามารถทำการบินเพื่อสร้างรายได้ (รับจ้างบินไม่ได้) โดยเริ่มต้นจาก การอบรมภาคพื้น ประมาณ 80 ชั่วโมง (ประมาณ 1 เดือน) ต่อจากนั้น ทำการฝึกบินภาคอากาศอีก 40 ชั่วโมง จากนั้น จึงขอทำการสอบกับ กรมการขนส่ง ทางอากาศ เพื่อถือใบอนุญาตซึ่งได้รับการรับรองระดับสากล จาก องค์กร การบินระหว่าง ประเทศ (ICAO) ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ในการฝึกจะอยู่ที่ประมาณ 3XX,000 บาท

ผู้ถือใบอนุญาต ใดๆก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าผู้ถือจะสามารถขับ เครื่องบินได้ทุกแบบในโลกเพราะใบอนุญาตเป็นเพียงสิ่งแสดงถึงความสามารถ พื้นฐานของผู้ถือเท่านั้น โดยปกติผู้ถือสามารถทำการบินกับเครื่องบินเล็ก ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 5,800 กิโลกรัม (ประมาณ 4-8 ที่นั่ง) ได้อยู่แล้ว แต่หากเครื่องบินมีขนาดใหญ่หรือหนักกว่าที่กล่าว ผู้ถือจะต้องฝึก และอบรมกับเครื่องในแบบนั้นๆ (เฉพาะแบบ) จนกระทั่ง กรมขนส่งทางอากาศรับรองและบันทึก (Type Rating) ลงบนใบอนุญาตให้เป็นแบบของเครื่องบินลำดังกล่าว



2. COMMERCIAL PILOT LICENCE (CPL) 

ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี ผู้ถือใบอนุญาต จะทำการบินกับ เครื่องบินเล็กได้เท่านั้นแต่จะต่างจาก PPL คือสามารถทำการบินเป็นอาชีพรับจ้าง เพื่อสร้างรายได้โดยถูกกฎหมายได้ด้วย เริ่มต้นต้องได้รับ PPL ก่อน จากนั้น ฝึกบินต่ออีกจนกระทั่ง มีชั่วโมงบินรวมอย่างต่ำ 200 ชั่วโมง (ปกติจะใช้เวลาฝึก อย่างต่อเนื่อง ประมาณหนึ่งปี) ขณะฝึกบิน ต้องมีการเรียนภาคพื้นเพิ่มเติมด้วย จึงจะขอสอบกับ กรมการขนส่งทางอากาศอีกครั้ง เพื่อขอถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี ( CPL) ซึ่งได้รับการรับรองระดับสากล ( ICAO) เช่นกัน นั่นหมายความว่านักบินประเภทนี้สามารถ ถือใบอนุญาตไปสมัครงาน ในหน้าที่นักบินที่สองตามสายการบินต่างๆทั่วโลกได้แล้ว (การบินรับจ้างในต่างประเทศจำเป็นต้องแปลงใบอนุญาตตามกฎของประเทศนั้นๆก่อน) แต่เครื่องบินโดยสารส่วนใหญ่ น้ำหนักจะมากกว่า 5,800 กิโลกรัม ดังนั้นสายการบินจะต้องฝึกนักบินเหล่านี้ก่อน และการใช้ทุนในการฝึกเพื่อบินตามเครื่องบินเฉพาะแบบนั้นต้องใช้ทุนสูงพอสมควร ปกติจะเป็นหน้าที่ของสายการบิน




3.AIR TRANSPORT PILOT LICENCE (ATPL) 

ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก ผู้ที่จะถือใบอนุญาตระดับสูงสุดนี้ ต้องมีประสบการณ์ทางด้านการบินสูง ชั่วโมงบินต้องมากกว่า 1500 ชั่วโมง และประเภท ของเครื่องก็มีส่วนในการพิจารณาด้วย นักบินประเภทนี้ก็คือ กัปตัน ตามสายการบินต่างๆ ทั่วโลกนั่นเอง การที่นักบินจะมีสิทธิสอบขอรับ ใบอนุญาตประเภทนี้ นักบินจะไม่สามารถ ฝึกบินจนมีชั่วโมงบินมากมาย ขนาดนั้นได้ ด้วยทุนส่วนตัวได้จึงต้องสะสมจากการทำงานเอง เริ่มจากนักบินที่สอง ตามสายการบินต่างๆ จนกระทั่งมีความรู้และ มีประสบการณ์สูงขึ้น



เสริมอีกหน่อยแล้วกันครับ จากรายละเอียดข้างต้นจะเห็นได้ว่า มีระดับใบอนุญาต แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ซึ่งระดับแรก หรือ PPL หรือใบอนุญาตส่วนบุคคลนั้น มีหลายโรงเรียนการบินในไทยครับ ที่สามารถจัดหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนในระดับนี้ได้

ส่วนระดับ CPL หรือระดับนักบินพาณิชย์ตรี ก็อย่างที่บอกไว้ตอนต้นครับ มีเพียง 2 แห่งในประเทศไทย ที่สามารถสอนจนนักเรียนสามารถไปสอบใบอนุญาตจากกรมขนส่งทางอากาศได้ ซึ่งหน้าที่ของโรงเรียนการบิน ก็คือทำให้พวกผม ถือใบอนุญาตในระดับ CPL พ่วงท้ายด้วย Instrument Rating (IR) และ Muti Engine Rating (MR) ซึ่งเดี๋ยวจะเล่ารายละเอียดให้ฟังในโอกาสต่อๆ ไปครับกลับไปยังการบินไทย เพื่อการฝึกในระดับต่อไป

และสุดท้าย ATPL อันนี้เป็นเรื่องของฝีมือ และประสบการณ์ครับ เรียนกันไม่ไหว ใครไปทำงานสายการบินไหน ก็ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์กันเอาครับ เมื่อชั่วโมงถึง ความรู้ได้ ก็ค่อยไปสอบกันเอาเองครับ<p></p>

หมายเลขบันทึก: 641060เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2017 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท