ไตรภูมิพระร่วง


             กรมศิลปากรตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าไตรภูมิพระร่วงน่าจะแต่งขึ้นปีระกามหาศักราช ๑๒๖๗ (พุทธศักราช ๑๘๘๘, จุลศักราช ๑๐๗) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พญาลิไทครอง, ดำรงตำแหน่งมหาอุปราชแห่งศรีสัชนาลัย

             ลักษณะการแต่งคำประพันธ์ของไตรภูมิพระร่วงนั้นแต่งเป็นร้อยแก้ว ภาษาไทยนับเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย (คราวที่แล้วศิลาจารึกซึ่งเป็นศิลา แต่พอเป็นหนังสือก็เป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทย) โดยที่พญาลิไททรงราบรวมข้อความต่างๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาต่างๆ ลักษณะคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว การผูกประโยค..แล้วก็มีถ้อยคำโบราณยากแก่การทำความเข้าใจเป็นอันมาก บางคำก็เป็นภาษาบาลี กรมศิลปากรในขณะที่ตรวจสอบชำระไตรภูมิพระร่วงนี้ก็บอกว่าเป็นเรื่องค่อนข้างจะยาก และต้นฉบบเดิมก็ขาดตกบกพร่องไปเพราะเป็นเวลานานแล้ว อันนี้กรมศิลปากรก็ได้กล่าวในคำนำว่า “เนื่องจากหนังสือนี้เป็นของเด่า และก็มีการคัดลอกกันมาหลายชั้นหลายมัย จึงมีส่วนวิปลาสคลาดเคลื่อนไปมาก ทำให้ของเดิมของแท้มัวหมองไป ยากทีจะเข้าใจได้ การตรวจชำระจึงเป็นงานหัก การวินิจฉัยคำบางคำต้องใช้เวลาแรมเดือน ต้องหาหลักฐานมาประกอบการวินิจฉัยทั้งภาษาไทยและภาษาบาลี แต่เพื่อให้เรื่องนี้มีความเหมาะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการตามหลักฐานต่างๆ

               พบว่าต้นฉบับนี้ได้มาจากฉบับในลาน อักษรขอมรวม ๒ ฉบับ คือฉบับพระมหาช่วย วัดปากน้ำ ซึ่งจารขึ้นเมือ พ.. ๒๓๒๑ และฉบับพระมหาจันทน์ ซึ่งจารขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ และยังพบต้นฉบับที่พบเฉพาะผูกแรก (ใบลานเรียกเป็นผูก) อีหนึ่งผูกซึ่งคิดว่าน่าจะจารขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยาตอนปลาย ก็หมายความว่าจด-จารกันต่อมาคัดลอกกันต่อมาเป็นใบลานบ้าง เป็นอะไรบ้าง อาจจะสูญหายไป อาจจะมีมากกว่าหนึ่งฉบับ แต่ว่าสุญหายไปบ้าง เพราะฉะน้นสรุปแล้วต้นฉบับทั้งหมดขณะนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ-ฉบบพระมหาช่วย และพระมหาจันทร์มีอย่างละสิบผูก ผูกละ ๒๔ลาน (ฉบับพิเศษหนึ่งผูกมี ๒๔ ลาน) คัดลอกมาหลายสมัยมาก บางส่วนอาจมีข้อความคลาดเคลื่อนไป

              ภาษาที่ใช้ตั้งแต่เดิมกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าจะเขียนด้วยอักษรไทยเหมือนหับที่ปรากฏในศิลาจารึก แล้วต่อมามีการคัดลอกเป็นอักษรขอมบ้าง เป็นอักษรไทยบ้างหลายฉบับ และฉบับที่ได้มานี้เป็นอังษรขอม แต่สันนิษฐานว่าฉบบแรกที่เขียนนั้นเป็นอักษรไทย (ศิลาจากรึก)

              แผนภูมิโครงสร้างไตรภูมิ-ไตรภูมิพระร่วงซึงพญาลิไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นนั้นมีพระราชประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อที่จะเทศนาโปรดพระราชมารดาของพระองค์ และเพื่อสั่งสอนประชาชนในอยู่ในศีลธรรมจริยธรรม

           เนื้อเรื่องกล่าวถึง ภพภูมิทั้ง ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ ๑๖ และอรูปภูมิ ๔ และสุขคติภูมิ ๗ (อบายภูมิหรือทุคติภูมิ ก็ตรงกันข้ามกับสุขคติภูมิ)

           ภูมิที่ ๑ กามภูมิ (กามวจรภมิ) แยกย่อออกเป็น ๑๑ มิ อบายภูมิหรือทุคติภมิ๔ และสุขคติภูมิ ๗ (อบายภูมิหรือทุคติภูมิ ก็ตรงกันข้ามกับสุขคติภูมิ)   

            อบายภูมิหรือทุคติภูมิ ๔ ก็คือภูมิที่ไม่มีความเจริญ มีแต่ความเสื่อม แบ่งออกเป็นนรกภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปตวิสยภูมิ และอสุรกายภูมิ ทั้งหมดนี้คือส่วนที่ไม่มีความเจริญได้มีการอธิบายไว้ว่าบาปที่ทำให้ต้องไปเกิดในนรก เพื่อเตือนใจมนุษย์ว่าถ้าอยากไปเกิดดี ๆ ก็ต้องทำความดี

           “บาปอันทำให้ต้องไปเกิดในนรกมี ๑๒ ประการ คือ ใจอันเหนึ่งมิรู้ว่าบาปแล กระทำบาปเองด้วยใจอันกล้าแลยินดี, ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลยินดีกระทำบาปเมื่อมีผู้ชวน, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลกระทำเองด้วยใจอันกล้าแลยินดี, ใจอันกนึ่งรุ้ว่าปาบแลยินดีกระทำบาปเพื่อมีผุ้ชวน, ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลกระทำเองด้วยใจอันประกลาย, ใจอันหนึ่งรู้ว่าบาปแลมีผุ้ชวนแลกระทำด้วยใจอันประกลาย, ใจอันหนึ่งประกอบด้วยโกรธขึ้นเครียดกระทำบาปด้วยใจอันกล้าเองแลร้าย, ใจอันหนึ่งประกอบด้วยโกรธขึ้งเครียด กระทำบาปเพื่อเหตุมีผู้ชวน ใจอันหนึ่งบ่มิเชื่อบุญ แลกระทำบาปด้วยใจอันประกลาย และใจอันหนึ่งย่อมขึ้นไปพุ้งดังกองเท่าอันคนเอาก้อนเส้าทอดลง ย่อมจมลงทุกเมื่อและกระทบาปด้วยใจอันประกลาย”...หล่าวซึ่งๆ ผู้ประกอบอสรุกรรมทั้งหมดทีกล่าวมาต้อง...

             ใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาป แลกระทำบาปเองด้วยใจอันกล้าเลวดี หมายความว่า ทำบาปด้วยตัวเอง จิตของคนเราทำบาปเองเลยด้วยความเต็มใจ จิตเป็นอกุศล ทำไปโดยไม่ต้องมีคนอื่นมากระตุ้นให้ทำก็ทำ คือรู้ว่าเป็นบาปแล้วก็ทำเองด้วย และใจอันหนึ่งมิรู้ว่าบาปแลยินดีกระทำบาปด้วยมีผู้ชวน คือกระทำบาปเพราะมีผู้ชักชวนให้ทำ

             อสุรกรรมดังกล่วแบ่ออกเป็น ๑๐ ประการ คือ การฆ่าสัตว์, การลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม วาจา, มุสาวาท(โกหก), การกล่าวคำส่อเสียด, การกล่าวคำติฉินนินทาผู้อื่น (เป็นบาปที่เกิดจากคำพูด), การกล่าวคำหยาบช้า, การกล่าวคำเพ้อเจ้อ สรุปแล้วเป็นเรื่องวาจาทั้งหมด (วาจา ๔) ใจ, ความเห็นผิดจากครองธรรม, การอยากได้ของผู้อื่น

             ทั้งหมดนี้คืออกุศลกรรม ๑๐ ประการเป็นบาป ส่วนที่ว่านรกที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ นั้นส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่านรกมีทั้งหมด ๘ ขุม ซึ่งอยุ่ใต้ดลกมนุษย์ลงไปแล้วก็มีชื่อเรยกต่างๆ กัน ได้แก่

              ๑.สัญชีพนรก, ๒.กาฬสุตตนรก, ๓. สังฆาฎนรก, ๔. มหาโรรุวนรก, ๕.ตาปนรก, ๖.มหาตาปนรก, ๗.มหาอวีจีนรก (เป็นนรกต่ำสุด)

               นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเวลาของนรกแต่ละขุม เที่ยวกับเวลาของคนในโลกมนุษย์ กล่าวคือ “วันและคืนหนึ่งนเมืองนรกจะเท่ากับเก้าล้านปีเมืองมนุษย์ ดังนั้น ห้าร้อยปีในสัญชีพนรกจะเท่ากับ เก้าล้านหาแสนล้านสองหมื่นปีในเองมนุษย์”

                สุขคติภูมิ หรือกามสุขคติภูมิ ๗ เป็นฝ่ายดี เพราะมีควาว่าสขุคตคิ ซึ่งแปลว่าดี แต่ทุกข็แปลว่าไม่ดี แบ่งเป็น

  • มนุสสภูมิ ว่าด้วยการปฏิสนธิของมนุษย์จากครรภ์มารดา
  • จาตุมหาราชิกภูมิ เป็นด่านที่จะขึ้นสวรรค์ดาวดึงค์ คือยู่เขายุคนธร อยู่เหนือ (สูงจาก) โลกมนุษย์ ๔๖,๐๐๐ โยชน์ (เป็นด่านก่อนที่จะถึงดาวดึงค์) ๑ โยชน์เท่ากัน ๑๖ กิโลเมตร ล้อมด้วยกำแพงทอง
  • ตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงค์) เป็นที่ประทับของท้าวสักกะ หรือ พระอินทร์ ประดับประดา ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ เพชรดี มณีแดง เหลืองแสดแสงมรกต เขียวใสแสงมรกตเหลืองใสสดบุษราคัม .. สวยงามยิ่งนัก
  • ยามาภูมิ ยามภูมิเป็นสวรรค์ที่อยุ่เหนือตาวติงสามิ สว่างไสวเพราะรัศมีแก้ว และรัศมีจากกายเทวดา
  • ตุสิตาภูมิ คือชั้นดุสิต อยู่เหนือยามาสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์
  • นิมมานรติภูมิ มีทุกอย่างเช่นเดียวกับตุสิตา แต่งงามกว่า ถ้าประสงค์สิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น
  • ปรมินมิตวสวัตติภูมิ เทพยดามีความสุขยิ่งกว่าชั้นอื่นใด เพราะประสงค์สิ่งใดจะมีเทวดาอื่นเนรมิตให้ (ตัวเองไม่ต้องดลบันดาล แต่จะมีเทวดาองค์อื่นๆ มาเนรมิต, ดลบันดาลให้)

            ภูมิที่ ๒ รูปภูมิ ๑๖ (รูปาวจรภูมิ)

             รูปภูมิ ๑๖ ชั้น กล่าวถึงการบำเพ็ญ ตนได้ฌานสมาบัติแล้วไปเกิดเป็นพรหมแบ่งเป็น ๑) ปฐมฌานภูมิ๓, ๒) ทุติยฌานภูมิ ๓, ๓) ตติยฌานภูมิ ๓, ๔) จตุตถฌาน ๗

              รูปภูมิทั้งหมดนี้รวมเป้นหนึ่งกัฒฑ์ เรียกว่ สัตตมกัฒฑ์ ผู้ที่เกิดในพรหมโลก (ต้องเป็นผุ้บำเพ็ญกุศล) เจริญฌณสมาบัติชั้นพรหม “พรหมทั้งสิบหกชั้นนี้ รวมเรียกว่า โสฬสพรหม บุคคลผู้ใดไปยังเกิดในพรหมโลกก็เพราะอนาจรูปวจรกุศล คือ จำเริญสมาบัติ ในชั้นพรหมจะมีแต่บุรุษเท่านั้นพรหมทั้งหลายจะมีรูปร่างงดงาม รัศมีรุ่งเรื่องยิ่งกว่าเทวดาในฉกามาพจรสวรรค์ และจะมัศมีรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปทุกๆ ชั้น แต่ละองค์จะประทับนิ่งอยู่ในปราสาททองหรือปราสาทแก้ว การหายใจเข้าออก การกินอาหาร อวัยวะเพศ อุจารระปัสสาวะ จะไม่บังเกิดแก่พรหมเหล่านี้

          ภูมิที่ ๓ อรูปภูมิ ๔ (อรูปาวจรภูมิ)

          อรูปภูม ๔ ซึ่งหมายถึงนิพพาน ชั้นนี้คือพรหมที่ไม่มีรูป แบ่งออกเป็น

          อากาสานัญจายตนภูมิ, วิญญาณัญจายตนภุมิ, อากิญจัญญายตนภูมิ, เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิฆ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิด เจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยุ่นั้นจะมีแต่ดทษ อาจจะทไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึงเป้นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภุมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัป จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีได้ อายุขชองพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น, หกหมื่น และแปดหมื่อนสีพันกัปป์ ตามลำดับ...

        - บางส่วนจาก “ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๖

คำสำคัญ (Tags): #ไตรภูมิพระร่วง
หมายเลขบันทึก: 641002เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2017 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2017 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท