ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ครั้งที่75



 วันนี้เวลา 08.00 น. เราได้เดินทางมาถึงศูนย์เพื่อมาจัดเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อย และตรวจดูงานให้เรียบร้อยเพื่อรออาจารย์มาในเวลา 09.00 น.  อาจารย์ได้เดินทางมาถึงเวลา 09.00 น. อาจารย์ที่มานิเศครั้งที่ 2 ในวันนนี้คือ อาจารย์ ดร.สุธิดา สองสีดา จากนั้นเราก็ได้จัดเตรียมน้ำและขนมเพื่อให้อาจารย์ และอาจารย์ได้เช็ดชื่อ ว่าวันนี้มีคนมาครบหรือป่าว และหลังจากที่อาจารย์เช็ดชื่อเสร็จ อาจารย์ก็ได้อธิบายถึงแผนงานที่เราจะต้องนำเสนอในวันสัมานา อาจารย์ได้บอกถึงการปัจฉิมว่าอาจจะมาการเลื่อนวันออกไป แต่อาจารย์จะบอกล่วงหน้า และได้บอกถึงการทำเล่มโครงการ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให่เราเขียนชื่อแต่ละโครงการใส่กระดาษเพื่อที่จะทำการนิเศครั้งที่ 2 เราเริ่มจากกลุ่มที่ 1 

โครงการเด็กและเยาวชนวัยใส ใส่ใจวัฒนธรรมรำเหย่ย โดยมี นายอดิศักดิ์ เทพอัม และนางสาวกฤตยา ไชยบำรุง เป็นผู้ดูแลโครงการนี้ อาจารย์ได้ยขอดู SWOT ที่เราได้นำเสนอร่างโครงการให้กับชาวบ้านดู ต่อมาก็เป็ฯแผนงาน PDCA เป็นการแสดงขั้นตอนการดำเนินงานอย่างมีระบบ ต่อมาก็เข้าสู่กระบวนการโครงการ เหตุผลที่จัดทำโครงการนี้เพราะอะไร และเราได้จัดกิจกรรมอย่างไร  และสุดท้ายของกลุ่มนี้อาจารย์ติเรื่องแบบประเมินที่ค่อนข้างจะไม่สมบูรณ์เท่าไหร่เลยให้คำแนะนำเพื่อไปแก้ไขปรับปรุงไว้ในการปัจฉิมที่ มหาวิทยาลัย 

ต่อมาเป็นกลุ่มที่ 2 โดยมี นายชิคโชค แสงพระอินทร์ และนายสถาพร อุ่นราด เป็นผู้ดูแลโครงการ เป็นโครงการเกี่ยวกับการทำสบู่ โดยอาจารยืได้ให้เล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาที่จะทำโครงการนี้และโครงการนี้ได้มาจากส่วนไหนของswot และสาเหตุที่ทำโครงการคืออยากให้ชาวบ้านนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนมาแปรรูปเพื่อให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน โดยการเริ่มโครงการคือ สมาชิกในกลุ่มได้ไปเรียนรู้การทำสบู่กับพี่ดาเราะ เพื่อที่จะได้ไปสอนคนในชุมชนได้รู้จักการทำสบู่              จากนั้นก็ได้จัดทำโครงการ โดยมีวิทยากรคือ พี่ดาเราะ มาสาธิตและอบรมในการทำสบู่ให้กับชาวบ้าน  

จากนั้นก็มาถึงโครงการการจัดการขยะ โดยมีสมาชิก 3 คน คือ 1.นางสาวณัฐกานต์   ศรีจันทร์รัต 2.นางสาวศจี     สระสีสม3.นายภานุทัต  ดอนไพรเมาโดยได้พูดเกี่ยวกับการการทำโครงการที่ผ่านมา ว่าได้จัดทำโครงการครั้งที่ 1 โดยจัดโครงการที่โรงเรียนบ้านหนองขุย อบรมให้กับเด็กนักเรียนโดยได้อธิบายของขยะและประเภท  และการจัดทำโครงการคครั้งที่ 2 เป้าหมายคือคนในชุมชน 

และมาถึงกลุ่มที่สุดท้าย คือโครงการการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน มีสามชิก 2 คน คือ 1.นายภัทรภณ    ศิริเลิศ2.นางสาวธีรรัตน์   สวนนพคุณได้พูดอธิบายให้กับอาจารย์ฟังว่าการทำโครงการเรามองจาก SWOT ที่เราได้สำรวจมาเเล้วว่า จุดแข็งชุมชนมีปราชญ์ด้านสมุนไพร คือ ลุงโกย สมคิด เราจึงได้เดินทางไปหาลุงโกย สมคิด ที่ ม. 4 บ้านหนองขุย ได้พูดคุยเกี่ยวเรื่องสมุนไพร ลุงโกยได้บอกว่าส่วนมากชาวบ้านมักจะมาให้ลุงโกยรักษาอาการต่างๆ บางครั้งลุงโกยก็ไม่ได้อยู่บ้าน แล้วอีกอย่างก็ไม่มีผู้สืบวิชาต่อจากลุง เพราะลุงทำยาเป็นยาผีบอก ซึ่งคนสมัยใหม่ไม่ค่อยเชื่อ แต่คนรุ่นเก่าๆที่จะมารักษากับลุง เราจึงได้มองเห็นว่า เราจะจัดทำโครงการการอนุรักษ์สมุนไพรพื้นบ้าน โดยเราจะทำแปลงสมุนไพรไว้ที่โรงเรียนบ้านหนองขุย ม.4 บ้านหนองขุย  

อาจารย์นิเทศเสร็จประมาณ 12.00 น จากนั้นอาจารย์ก็ได้ไปนิเทศต่อที่ ศูนย์อาเซียน ต่อ และในช่วงบ่ายมีคณะดูงานจาก การไฟฟ้เดินทางมาที่ศูนย์เราได้ช่วยกันขายของ จากนั้นเราก็ว่างและเวลา 16.30 น. เราก็ได้เินทางกลับหอ........

 

 (กำลังพูดคุยถึงตารางการดำเนินงาน

 (โครงการที่ 1 โครงการเด็กและเยาวชนวัยใส ใส่ใจเยาวชน<p></p> (ถ่ายรูปร่วมกับอาจารย์ที่มานิเทศ)<p></p>
<p></p><p>  (กำลังจำหน่ายสินค้าให้กับคณะที่มาดูงาน)</p>

เสร็จแล้วสำหรับงานในวันนี้ ต้องขอขอบคุณอาจารยืไก่มากๆน่ะค่ะที่ให้คำแนะนำดีๆกับพวกเรา พวกเราจะนำคำแนะนำไปปรับปรุงเพื่อให้งานโครงการออกมาดีขึ้นขอบคุนมาก


<p></p><p>
</p>
<p></p>

หมายเลขบันทึก: 640873เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท