การละเล่นพื้นบ้าน "ไม้ก้องแก้ง"


ก้องแก้ง ๆ เป็นเสียงดังจากไม้ไผ่กระทบกันของการละเล่นเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนล้านนา 

เด็ก ๆ จะตัดไม้ไผ่ซางให้มีความยาวประมาณ 1 คืบ ผ่าเป็นซีกเล็กๆ คล้ายตะเกียบของคนจีนลบคมออก นำไปตากแดดไล่ความชื้น จะทำให้ไม่เกิดเชื้อราและสามารถนำไปเล่นได้นานๆ เสียงที่ไม้กระทบกันระหว่างการเล่นจะดังก้องแก้ง ๆๆ เด็กๆ สามารถนำไม้ก้องแก้งไปเล่นตามจินตนาการฝึกกล้ามเนื้อ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพราะระหว่างการเล่นจะเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นทีมก็แล้วแต่กติกาที่กลุ่มจะตกลงกันตามความพอใจของทุกคนว่า ในครั้งนี้มีกติกาที่นอกเหนือจากเดิมหรือไม่อย่างไร บวกความยากง่ายในการแข่งขันในการเล่น โดยใช้ไม้ก้องแก้งเป็นอุปกรณ์ในการแข่งขันกันระหว่างผู้เล่นด้วยกัน ใครได้ไม้ก้องแก้งครอบครองมากที่สุดฝ่ายนั้นมีทักษะดี และได้รับชัยชนะสร้างความภูมิใจให้กับตนเอง 

กติกาการเล่นไม้ก้องแก้ง
1. ห้ามกระเทือนหรือเมื่อหยิบไม้ก้องแก้งแล้ว ห้ามไม้ก้องแก้งตัวอื่นๆ เคลื่อนไหว
2. จะหยิบได้ครั้งละ 1 ชิ้นเท่านั้น
3. ถ้าถูกกติกาก็หยิบไปจนหมดแล้วนับว่าผู้ใดได้ไม้ก้องแก้งมากที่สุด
4.ถ้าชำนานอาจจะมีการโยนก้อนหินคล้ายหมากเก็บแล้วก็หยิบไม้ก้องแก้ง วิธีนี้ต้องเป็นคนที่เล่นไม้ก้องแก้งด้วยความชำนาญแล้ว


หมายเลขบันทึก: 640838เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017 08:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท