พรหมวิหารธรรม (อุบายบรรเทาความโกรธ) ตอน ๒


           อุบายบรรเทาความโกรธประการที่ ๕ ด้วยพิจารณาถึงกรรม

             ก็แหละ แม้โยคีบุคคลจะได้พยายามพร่ำสอนตนเองด้วยประการดังกล่าวมาแล้วก็ตาม แต่ความโกรธแค้นก็ยังไม่สดลง แต่นั้นโยคีบุคคลจงใช้วิธีพิจารณาถึงภาวะที่ตนและคนอื่นเป็นผู้มีกรรมเป้นของแห่งตนต่อไป ในการพิจารณาถึงกรรมนั้นจงพิจารณาถึงภาวะที่ตนเองเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนเป็นอันดับแรก ดังต่อไปนี้

           “ นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ! เจ้าโกรธคนอื่นเขาแล้วจักได้ประโยชน์อะไร ? กรรมอันมีความโกรธเป็นเหตุของเจ้านี้มันจักบันดาลให้เป็นเพื่อความฉิบหายแก่เจ้าเองมิใช่หรือ ? ด้วยว่า เจ้าเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนเอง มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งเจ้าได้ทำกรรมสิ่งใดไว้ เจ้าจักต้องได้รับผลของกรรมนั้น

             อนึ่งกรรมของเจ้านี้ มันไม่สารถที่จะบันดาลให้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และสาวกภูมิได้มนไม่สามารถที่จะบันดาลให้สำเร็จสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาสมบัติต่างๆ เช่น ความเป็นพระพรหม พระอินทร์พระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าประเทศราชได้เลย ตรงกันข้ามกรรมของเจ้านี้ มักจักขับไล่ไสส่งให้เจ้าออกจากพระศาสนาแล้วพันดาลให้ประสบผลอันประหลาดต่างๆ เช่น ทำให้บังเกิดเป็นคนของทาน กินเดนของคนอื่น หรือประสบทุกข์อย่างใหญ่หลวง เช่น ทำให้บังเกิดในนรกเป็นต้นอย่างแน่นอน

            อันตัวเจ้านี้นั้น เมื่อขืนทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมเชื่อว่าเผาตัวของตัวเองทั้งเป็น และทำตัวเองให้มีชื่อเสียงเน่าเหม็นเป็นคนแรกนั่นเที่ยว เหมือนบุรุษผู้จับถ่านเพลิงอันปราศจากเปลวงก็ดี จับคูถก็ดี ด้วยมือทั้งสอง หวังจะประหารคนอื่นฉะนั้น

              แม้ได้พิจารณาถึงภาวะที่ตัวเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตน อย่างนี้แล้ว จงพิจารณาถึงภาวะที่คนอื่นมีความโกรธเป็นเหตุของเขาผู้นั้น มักจะบันดาล...

               .. หรือทำให้ประสบทุกข์อย่างใหญ่หลวง เช่นทำให้บังเกิดในนรกเป็นต้นอย่างแน่นอม

               เขาผู้นั้น เมื่อขืนทำกรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าโปรยธุลีความโกรธใส่ตนเองเหมือนบุรุษผู้จะโปรยธุลีใส่คนอื่นแต่ไม่ยืนอยู่ทางใต้ลมฉะนั้น

               ข้อนี้สมด้วยพระพุทธนิพนธ์สุภาษิตขุททกนิกายว่า

                โย อปฺทุฎฮสฺส นรสฺส ทุสฺสติ      สฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส

                ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ             สุขุโม รโช ปฏวาตํว ชิตฺโต

                “ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่มีความผิด ทั้งเป็นคนบริสุทธิ์หมดจด หมดกิเลส บาปจะส่งผลให้เขาผู้นั้นซึ่งเป็นคนพาลเสียเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่คนซัดไปทวนลมย่อมจะปลิวกลับมาถูกเขาเองฉะนั้น”

                อุบายบรรเทาความโกรธประการที่ ๖ ด้วยพิจารณาถึงพระพุทธจริยาในปางก่อน

                ก็แหละ  ถ้าโยคีบุคคลได้พยายามพิจารณาถึงภาวะที่ตนและคนอื่นเป็นผู้มีกรรมเป็นของแห่งตนอย่างนี้แล้ว ความโกรธแค้นก็มิได้สงบอยู่นั่นแล แต่นั้น จงระลึกถึงพระคุณ คือ พระจริยาวัตรของพระบรมศาสดาในปางก่อน เพื่อบรรเทาความโกรธแค้นต่อไป

                 ในพูทธจริยาวัตรแต่ปางก่อนนั้น มีส่วนที่โยคีบุคคลควรจะนำมาพิจารณาเตือนตน.. ในแต่ละเรือง นั้นพึงทราบแต่โดยย่อดังนี้

                เรื่องพระเจ้าสีลวะ

                ในสีลวชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีพระนามว่า พระเจ้าสีลวะ อำมาตย์ผู้ใจบาปหยาบช้าได้ลอบล่วงประเวณีกับพระอัครมเหสีของพระองค์ แล้วไปเชื้อเชิญพระราชาผู้เป็ปฎิปักษ์มายึดเอาพระราชสมบัติ ในที่อันมีอาณาบริเวณถึงสามร้อยโยชน์ พระโพธิสัตว์สีลวราชา ก็มิได้ทรงอนุญาตให้หมู่มุขอำมาตย์ผู้จงรักภักดีลุกขึ้นจับอาวุธเข้าต่อต้าน ต่อมาพระองค์พร้อมด้วยหมู่มุขอำมาตย์พันหนึ่งได้ถูกเขาขุดหลุมฝังทั้งเป็น ลึกแค่พระศอ พระองค์ก็มิได้ทรงเสียพระราชหฤทัยแม้แต่น้อย อาศัยพวกสุนัขจิ้งจองพากันมาคุ้ยกินซากศพ ได้ขุดคุ้ยดินออก พระองค์จึงได้ทรงใช้ความเพียรของลูกผู้ชาย ด้วยกำลังแห่งพระพาหาทรงตะกายออกจากหลุม จึงทรงรอดชีวิต เทวดาดลบันดาลพระองค์เสด็จขึ้นไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงเห็นพระราชาผู้เป็นศัตรูบรรทมอยู่บนพระแท่นที่บรรทม พระองค์ก็มิได้ทรงพิโรธโกรธเคือย แต่ประการใด กลับทรงปรับความเข้าพระทัยดีต่อกันและกัน แล้วทรงตั้งพระราชาผู้เป็นศัตรูนั้นไว้ในฐานแห่งมิตร และได้ตรัสสุภาษิตว่า

                อาสึเสเถว ปุริโส               น นิพฺพินฺเทยฺย ปณฺฑิโต

                ปสฺสามิ โวหมตธตานํ        ยถา อิจฺฉึ ตถา อหํ

                “ชาติชายผู้บัณฑิต พึงทำความหวังโดยปราศจากโทษไปเถิด อย่าพึงเบื่อหน่ายท้อถอยเสียเลย เรามองเห็นทางอยุ่ว่า เราปรารถนาที่จะสถาปนาตนไว้ในรชสมบัติโดยไม่เบียดเบียนใครๆ ด้วประการใด เราก็จะปฏิบัติด้วยประการนั้น”

                 เรื่องขันติวาทีดาบส       

                  ในขันติวาทีชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส เมื่อพระเจ้าแผ่นดินผุ้ทรงครองแว่นแค้วนกาสีผู้โง่เขลา พระนามว่าพระเจ้ากลาพุ ได้ตรัสถามพระโพธิสัตว์ขันติวาทีดาบสว่า “สมณะ ! พระผู้เป็นเจ้านับถือวาทะอะไร ? “ พระโพธิสัตว์ทูลตอบว่า “อาตมาภาพนับถือขันติวาทะ คือนับถือความอดทน” ทีนั้นพระเจ้ากลาพุ ได้ทรงรับสั่งให้เฆี่ยนพระโพธิสัตว์ด้วยแส้มีหนามเหล็กเป็นการพิสูจน์ จนในที่สุดถูกตัดมือและเท้า แต่แล้วพระโพธิสัตว์ก็มิได้ทำความโกรธเคืองเลยแม้แต่น้อย

                     เรื่องธรรมปาลกุมาร

                      พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นธรรมปาลกุมารทรงเป็นทารกยังนอนหงายอยู่เทียว ถูกพระเจ้ามหาปตาปะผุ้พระบิดา มีพระราชบัญชาให้ตัดพระหัตถ์และพระบาททั้ง ๔ ดุจว่าให้ตัดหน่อไม้ในขณะที่พระมารดาทรงพิไรคร่ำครวญอยู่

                      แม้กระนั้นแล้ว พระเจ้าหมาปตาปะก็ยังมิได้ถึงความสาสมพระราชหฤทัย ได้ทรงมีพระราชโอการไปอีกว่า “จงตัสศีรษะมันเสีย” ฝ่ายพระโพธิสัตว์ธรรมปาลกุมารก็มิได้รงแสดออกแม้เพียงพระอาการเสียพระทัย ทรงอธิษฐาสมาทานอย่างแม่นมั่นแล้วทรงโอวาทพระองค์เองว่า

                     “ ขณะนี้เป็นเวลาที่เจ้าจะต้องประคองรักษาจิตของเจ้าไว้ให้ดีแล้วนะ พ่อธรรมปาละผู้เจริญ ! บัดนี้เจ้าจักทำจิตให้เสมอในบุคคลทั้ง###/span#< คือ พระบิดผู้ทรงบัญชาให้ตัดศีรษะ ๑ พวกราชบุรุษที่จะตัดศีรษะ ๑ พระมารดาที่กำลังทรงพิไรรำพัน ๑ ตนของเจ้าเอง ๑””

                      เรื่องพญาช้างฉัททันต์

                       พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาช้าง ชื่อฉัททันต์ แม้พระองค์จะถูกนายพรานยิงด้วยลูกศรอันกำซาบด้วยาพิษ ณ ที่ตรงสะดือ ก็มิได้ขุ่นเคืองในในนายพรานผู้ซึ่งทำความพินาศให้แก่ตนอยุ่เช่นนั้น ข้อนี้สมด้วยความพระบาลีในคัมภีร์ชาดกว่า

                      “พญาช้างทันต์ แม้จะถูกทิ่งแทงด้วยลูกศรเป็นอันมากแล้ว ก็มิได้มีจิตคิดประทุษร้ายในนายพราน กลับพูดกับเขาอย่างอ่อนหวานว่า “พ่อสหาย นี่ต้องการอำไรหรือ ? ท่านยิงเราเพราะหตุแห่งสิ่งใดหรือ ? การที่ท่านมา ณ ที่นี้แล้วทำแก่เราอย่างนี้ มิใช่เป็นด้วยอำนาจของท่านเอง ดังนั้นการพยายามทำเช่นี้ ท่านทำเพื่อธุระพระราชาองค์ใด ? หรือเพื่อมหาอำมาตย์องค์ใดหรือ” ?

                     ก็แหละ ครั้งพระโพธิสัตว์พญาช้างฉัททันต์ถามอย่างนี้แล้ว นายพรานก็ได้ตอบออกมาตามความสัตย์จริงว่า “ท่านผู้เจริญ พระราชเทวีของพระเจ้ากาสีได้ทรงสงข้าเจ้ามาเพื่อต้องการงาของท่าน” ทันที่นั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะทำพระราชประสงค์ของพระราชเทวีนั้นให้สำเร็จบริบูรณ์ จึงได้ให้ตัดงาทั้งสองของตนอันมีความงามดุจทองคำธรรมชาติสุกปลั่งด้วยแสงอันเปล่งออกแห่งรัศมีอันประกอบด้วยสี ๖ ประการ แล้วก็มอบให้นายพรานนั้นไปถวาย

                   เรื่องพญานาคชื่อจัมเปยยะ

                     ครั้งพระโพธิสัตว์ เสวย พระชาติเป็นพญานาคราช ชื่อจัมเปยยะแม้พระโพธิสัตว์พญานาคจัมเปยยะนั้นจะได้ถูกหมองูทรมานเบียดเบียนอยู่ด้วยประการต่างๆ ก็มิได้แสดงอาการแม้เพียงนึกขัดเคืองในใจ ข้อนี้ สมด้วยความบาลีในคัมภีร์จริยาปิฎกว่า

                   “แม้ในชาติเป็นจัมเปยยะ นาคราชนั้นก็ได้ประพฤติธรรมจำอุโบสถศีล หมองูได้จับเอาไปเล่นกลอยู่ในประตูพระราชวัง เขาประสงค์จะให้เราแสดงเป็นสีอะไรคือจะเป็นสีเขียว สีเหลือง สีขาว หรือสีแสดแก่ เราก็คล้อยให้เป็นไปตาใจประสงค์ของเขา เรามีความตั้งใจอยู่ว่า “ขอให้หมองูนี่จงได้ลาภมากๆ เถิด” และด้วยอานุภาพของเราเราสามารถที่จะบันดาลที่ดอนกลายเป็นน้ำได้ แม้บันดาลน้ำให้กลายเป็นดอนก็ได้ ถ้าเราจะพึงโกรธเคือง เจ้าหมองูนั้น แต่ถ้าเราจักตกอยู่ใต้อำนาจอกุศลจิตนั้นเราก็จักเสื่อมจากศีล เมื่อเสื่อมจากศีลแล้ว ความปรารถนาขั้นสุดยอด คือ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของเราก็จะไม่สำเร็จสมประสงค์”

                    อุบายบรรเทาความโกรธประการที่ ๗ ด้วยพิจารณาความสัมพัน์กันมาในสังสรวัฎ

                   ก็แหละโยคีบุคคลผุ้ซึ่งได้เข้าถึงความเป็นทาสของกเลสมานานหลายร้อยหลายพันชาติ แม้จะได้พยายามพิจารณาถึงพระคุณคือพระจริยาวัตรของพระบรมศาสดาในปางก่อนโดยวิธีดังแสดงมาสังเท่าไรก็ตาม ความโกรธแค้นนั้นก็ยังไม่สงบอยู่นั่นแลคราวนี้ดยคีบุคคลนั้นจงพิจารณาถึงความสัมพันธ์กันมาในสังสารวัฉอันยาวนานซึ่งสาวหาเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ โดยอุบายวิธีดังต่อไปนี้

                   แหละเรื่องนี้พระผุ้มีพระภาคได้ตรัสสอนไว้ ซึ่งมีปรากฏในคัมภีร์สังยุตตนิกายนิทานวรรคว่า

                   “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดมในโลกนี้นั้น ที่จะไม่เคยเป็นมารดากัน ไม่เคยเป็นบิดากัน ไม่เคยเป็นพี่น้องชายกัน ไม่เคยเป็นพี่น้องหญิงกัน ไม่เคยเป็นบุตรกัน และไม่เคยเป็นธิดากัน เป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่ายเลย”

         

  • “คัมภีริวิสุทธิมรรค” พระพุทธโฆสเถระ รจนา, สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร)แปลและเรียบเรียง, ปริเฉทที่  ๙ พรหมวิหารนิเทศ หน้า ๔๙๗ – ๕๐๗ 
คำสำคัญ (Tags): #พรหมวิหารธรรม
หมายเลขบันทึก: 640767เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2017 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท