อภินิหาร


              อภินิหาร อาจหมายถึง อำนาจแก่งบารมี อำนาจแห่งบุญที่ได้สร้างสมไว้ อำนาจเหนือปกติธรรมดา 

             Supernatural adj. - Ghosts and evil spirits are supernatural., things that cannot be explained by the supernatural.

             อภินิหาร ๗ อย่างเมื่อพระพุทธเจ้าประสูตร พระมารดาทรงสุบิน๑ ขณะอยุ่ในพระครรภ์ปราศจากมลทิน ๑ มีเทวดาคอยรับ ๑, มีน้ำอุ่นลงมาสนาน ๑, มีน้ำเย็นลงมาสนาน ๑, เสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว ๑, เปล่งอาสภิวาจา๑

              วิพากษ์เรื่ออภินิหาร 

              การแต่งวรรณกรรมแรวจารีตแบบลังกา เช่น ปฐมสมโพธิกถา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตน-ปัญญาเถระ เป้นการนำเสนอพุทธประวัติเพื่อสื่อสารกับคนในสังคมยุคเก่าที่มีดลกทัศน์แบบหนึ่ง โครงสร้างเนื้อหาจึงเต็มไปด้วยเรื่องอภินหาร โดยได้ย้อนเล่าเรื่องบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ถึง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์ แต่ในวรรณกรรมเรื่อง พุทธประวัติเล่ม ๑ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเนื้อหาของเรื่องใหม่อย่างชัดเจน โดยได้ตัดทอนเนื้อหารสวนที่ว่ด้วยกาบำเพ็ญบารมีในอีตชาติของพระโพธิสัตว์ออกไปทั้งหมด แล้วแทนด้วยเนื้อหารข้อมูลที่เป็นเรื่องของโลกนี้ล้วนๆ นั่นคือข้อมุลเกี่ยวกับประวัติสาสตร์และโบราณคดีของสังคมอินเดียสมัยที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จอุบัติขึ้น ดังนั้น พระพุทธเจ้าในวรรณกรรมชิ้นนี้จึงมีฐานะเป็นเพียงบุคลทางประวัติศสตร์คนหนึ่ง ที่สามารถพิสูจน์และประจักษ์ได้ด้วยข้อมูลและหลักฐาน หาใช่บุคคลศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มไปด้วยเรื่อง อภินิหารไม่ อาจกล่าวได้ว่านี้คือ ความพยายามที่จะทำให้ประวัติของบุคคลผู้ศักดิ์ให้หลายเป็นประวัติของมนุษย์ธรรมดา คนหนึ่ง...

               วิพากษ์เรื่องอภินิหาร เมื่อแนวคิดของสมเด็จฯ ตั้งอยุ่บนฐานของแนวคิดแบบเหตุผลนิยม จึงเป็นไปไม่ได้ที่เรื่องลึกลับเหนือเหตุผลจะเข้ามาแทรกอยู่ในงานของพระองค์ พระองค์ได้วิจารณืเนื้อหาพุทธประวัติแนวจารีตที่เกี่ยวกับเรื่องอภินิหารว่า มีทั้งที่เป็นแก่นและสวนที่เป็นเปลือกกรพี้ที่คคนรุ่นหลังแทรปนเข้าม ดังนั้น (ุ้ศึกษาจะต้องอ่านอย่างใคร่ครวญและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ ให้เลือกเอาเฉพาะส่วนที่เป็นแก่นแท้เท่านั้น เหมือนคนบริโภคผลไม้มีเปลือก เช่น มังคุดและเงาะเป็น จะต้องปอกเปลือกท้ิงแล้วบริโภคเฉพาะเนื้อในจึคงจะชื่อว่าเป้นคนฉลาด ดังข้อควาที่ว่า "เป้ฯธรรมดาของเรื่องที่มีผุ้สนใจและนำสืบกันมานาน ย่อมมีเปลือกกระพี้เข้าแทรกปน..เรื่องพุทธประวัติก็ย่อมเป็นเช่นกัน..พึคงเลือกถือเอาแต่ใจความ เมือนจะบริโภคผลไม้มีเปลือกหนา ควรปอกเปลือกปล้อนเอาแต่เนื้อใน ก็จะบริโภคกลือนลงคอ"

              คำถามที่ว่า อภินิหารในพทูประวัติมีม่ได้ยอ่างไร พระองค์ทรงวินิจแัยว่ "เหตุมีอภินิหารเลห่านี้ก็น่าจะมีหลายทาง และค่อยมีมาโดยลำดับ ทางหนึ่งคือเรื่องกาพย์ จินตกวีผุ้ประพันธ์แต่งขยายเรื่องจริงในเขื่อง เพื่อต้กงอการความไพเราะในเชิงกาพย์" หมายความว่าอภินิหารเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าไม่ใช่สิ้วที่มีอยุ่ในเชิงข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ (เพราะพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ไม่ได้) หากแต่เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังซึ่งเป็นนักจินตกกวีแทรกปนเข้ามาภายหังเพื่อให้เกิดความไพเราะในเชิงกาพย์กลอนเท่านั้น ทรงสันนิษฐานต่อไปอีกว่า "เรื่องเช่นนี้น่าจะได้มาจากหนังสือกาพย์ของจินตกวี" ท่านผุ้ประพันธ์เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนแต่งขยายเรื่องจริงให้เขื่อง" ถามต่อไปว่าทำไมเรื่องอภินิหารจึงถูกแทรกเข้ามาพระองค์ทรงวินิจฉัยว่า "เป้ฯธรรมดาของท่านผุ้เป็นมหาบุรุษ ได้เกิดมาทำอุปการอันยิ่งใหญ่แก่โลก จะมีผุ้กล่าวสรรเสริญอภินิหารของท่านด้วยประการต่างๆ ใในปางหลังแต่ยุคของท่าน" เหตุผลของการมีอภินิหารในพุทธประวัติ จึงไม่ใช่เรื่องที่มีอยุ่จริงๆ หากแต่อากสํยความเป็มหาบุรุษและการทำอุปการะแก่โลกไว้มาก จึงทำให้คนรุ่นหลังยกย่องพระองค์อย่างเลอเลิศจนถึงกับสอดแทรกอภินิหารเข้ามาเพื่อให้ยิ่งใหย่สมพระเกียรติ

             การตีความเรื่องอภินิหาร อย่งไรก็ตา แม้ว่าสมเด็จฯ จะทรงปฏิเสธอภินหารในเชิงข้อเท็จจริง แต่มีเนื้อหารบางส่วนที่ทรงยอมไใ้มีเรื่องอภินิหารได้เหมือนกัน แต่เป็นอภินิหารที่ถูกตีความในเชิงบุคลาธิษฐาน ดังข้อความที่ว่า "หวนปรารภถึงอภินิหารเมืองคราวประสูติ ข้าพเพจ้าเชื่ออยุ่ว่า คงมีมูลมาแต่ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งเรายังไม่หยั่งทราบ เป็นต้นว่าได้จากหนังสือกาพย์ประพัฯธ์ ข้อที่ขบขันเป็นอย่างมาก ที่ชวนห้นึกไม่วายว่าได้แก่อะไรหนอ ก็คือพอประสูติแล้ว ทรงพระดำเนินได้ ตรัสดได้" อภินิหารที่ทรงเอ่ยถึงในที่นี้ ก็คือตอนประสูติแล้วดำเนิดได้ ๗ ก้าว และการเปล่วอาสภิวาจาตอนที่กำลังดำเนินอยู่นั่นเอง  ทรงเล่าทรงว่าได้ขบคิเเพนือหาตรงนี้เป้นอย่างมากว่ามันหมายวามว่าอย่างไร ในที่สุดก็ทรงคิดออกว่า "แต่เมือพิจารณาไป เกิดปฏิภาณขึ้นเองว่ เที่ยบกัยได้กับเวลาบำเพ็นพุทธกิจนั่นเอง" หมายความว่า อภิหารตอนดำเนินได้ ๗ ก้าวก็ดี การเปล่งอาสภิวาจาก็ดี ไม่ใช้้อเท็จจริงที่จะต้องถือเอาความตามตัวอักษร หากแต่ต้องตีความแบบลบุคลาธิษฐาน โดยเที่ยบกับเหตุการณ์ตอนที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญพุทธกิจ นั่นคอ การดำเนินได้ ๗ ก้าวแล้วหยุดยืนนั้น "น่าจะไ้แก่ทรงแผ่พระศาสนาได้แพร่หลายน ๗ ชนบท หรือเพียงได้เสด็จด้วยพระองค์เอง" หมายความว่าพระองค์น่า่จะสามารถเสด็จไปเผยแผ่ศาสนาได้ด้วยพระองค์เองเพียง ๗ ชนบทหรือแคว้นเท่านั้น เพราะถ้าลองนับดูก็จะเห้นจติงตามนั้น โดย "นับชนบทที่อยุ่นอาณาจักรเดียวกันเป็แต่ ๑ คือ กาสีกับโกสละ๑ มคธะกับอังคะ๑ สักกะ๑ วัชชี๑ มัละ๑ วังสะ๑ กุรุ๑ เป็น๗ นอกจากนี้มีแต่ชนบทน้ยอที่ขึ้นในชนบทใหญ่ ทรงหยุดเพียเท่านั้น ไม่ก้าวต่อไป ก็ได้สินเวลาของพระองค์เพียงเท่านั้น" ส่วนการเปล่งอาสภิวาจาในขณะที่ำดลังเสด็จดำเนินนั้น ทรงตีความว่า "ก็ได้แก่ตรัสพระะรรมเทศนาที่คนได้ฟังอาจหยั่งเห็นพระคุณว่าพระองค์เป็นยอดปราชญ์เพียรไร"

           อภินิหารตอนประสูตแล้วมีเทวดามารับ มีท่อน้ำร้อนและน้ำเย็ตกจากอากาศให้ทรงสนานพระกานั้น ทรงตีความว่า "ได้แก่อาฬารดาบสและอุทกดาบส หรือนักบวชอื่นรับไว้ในสำนัก ทุกกรกิริยาที่เปรียบด้วยท่อน้ำร้อน วิริยะทางจิตที่เปรียบเที่ยด้วยท่องน้ำเย็น ชำระพระสันดานให้สิ้นสนเท่ห์ว่าอย่างไรเป็นทาง อย่างไรไม่ใช่ทาง" จะเห้ฯว่าอภินิหารตรงนี้ ท่านตีความดดยเที่ยบกับเหตุการณ์ตอนที่พระมหาบุรุษออกผนวช คือ การประสูติแล้วมีเทวดามารัีบ หมายึถงการที่ดาบสทั้งสองรับเข้าสู่สำนักนขณะที่กำลังแสวงหาความหลุดพ้น ท่อน้ำร้อน หมายึถงการบำเพ็ยทุกกริริยา และท่อน้ำร้อน หมายถึงทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตจนชำระความสงสัยให้สิ้นไปว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางแห่งความหลุดพ้น

          อภินหการตาอนที่พระพทุะองค์น้อมพระทัยที่จะไม่แสดงะรรมแล้วมีพรหมมาอาราธนาให้แสดงธรรม ดดยห้เหตุผลว่าสัตว์ผุ้มีกิเลสเบาบางที่พอจะรู้ะรรมได้มีอยุ่ ตรงนี้ทรงตีความว่า "พรหมนั้นมีเมตตากรุณาเป็นวิหารธรรม กล่าวถึงท้ายสหมบดีพรหม ก็คือกล่าวถึงพระกรุณาในสัตว์โลกนั่นเอง กล่าวถึงพรหมกราบทูลอาราธนา ก็คือกล่าวถึงพระกรุณา ทำให้กลับทรงพระปรารถึงการแสดงธรรมอีกเล่า กล่วถึงทรงรับอาราธนาของพรหม ก็คือทรงเปิดช่องแก่พระกรุณาให้เป็นปุเรจาริก คือไปข้างหน้าง" 

          จะเห็นว่า แนวทางการตีความของสมเด็จฯ ตามที่ยกมา ล้วนเป็นเรื่องของการคนหาเจตนารมณืของผุ้แต่งวรรณกรรมว่าได้ซ่อนสาระอำไรไว้เบื้องหลังเรื่องอภินิหารเหล่านั้นพระองค์มองว่า "ท่านพระองค์ได้แนวคิดในการค้นหาเจตนารมณืของผุ้แต่งวรรณกรรมมาจากไหน แน่นอนว่าจะต้องเป็นอิทะิพลของแนวคิดตะวันตกเป็นไปได้หรือไม่ว่าพระองค์ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดการตีความคัมภีร์ไบเบิลของนักเทววิทยาชาวตะวันตกคนใดคนหนึ่ง

http://www.mcu.ac.th/site/arti...

           อภินิหาร ในพระไตรปิฎก

ที่กรุงสาวัตถี พระผุ้มีพระภาคตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผุ้ได้ฌาณ ๔ จำพวกนี้บุคคลผุ้ได้ฌาน ๔ จำพวก ไหนบ้าง คือ 

          ๑. บุคคลผุ้ได้ฌานบางคนในดลกนี้ เป้นผุ้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นนสมาธิแต่ไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ

          ๒. บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในดลกนี้ เป้ฯผุ้ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ๑ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ

          ๓.บุคคลผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผุ้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและไม่ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ

          ๔. บุคคลผุ้ได้ฌานบางคนในดลกนี้ เป็ฯผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในอภินิหารในสมาธิ 

          ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลผุ้ไ้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และฉลาดในอภินิหารในสมาธิ เป็ฯผุ้เลิส ประเสริฐ เป็นประธาน สุงสุด และย่ิงใหญ่ที่สุด ภิกษุทั้งหลาย นมสดจาแม่โค ฯลฯ และยิ่งที่สุด"

- พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารรรรค [ ๑๓. ฌานสังยุต] ๗. สมาธิมูลกอภินีหารสูตร

           

คำสำคัญ (Tags): #อภินิหาร
หมายเลขบันทึก: 640430เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท