ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า


              สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผุ้มีพระภาคได้รับสังเรียกภิษุทั้งหมายมาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย" ภิษุเ้หล่านั้นทุลรับสนองพระดำรัสแล้วพระุ้ผุ้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

              "ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมผ้าจะพึงนำผ้าที่สกปรก เปรอะเปื้อน ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้นจะพึงเป้ฯผ้าที่ย้อมได้ไม่ดี มีสีไม่สดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติ๑ ก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ช่างย้อมผ้าจะพึงนำผ้าที่อาดหมดจด ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนน้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ดี มีสีสดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติ๑ ก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน อุปกิเลสแห่งจิต๑๖ ชนิด

                 ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผุ้อื่น เป็นอุปกิเลสแห่งจิต

                  ๒. พยาบาท ความคิดปองร้อยผู้อื่น เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 

                  ๓. โกธะ ความโรธ

                  ๔ อุปนาหะ ความผูกโกรธ

                  ๕ มัขะ ความลบหลู่คุณท่าน

                  ๖ ปฬาสะ ความตีเสมอ

                   ๗ อิสสา ความริษยา

                   ๘.มัจแริยะ ความตระหนี่

                    ๙. มายา มารยา 

                    ๑๐. สาเถยยะ ความโอ้อวด

                    ๑๑. ถัมภพ ความหัวดื้อ

                    ๑๒. สารัภะ ความแข่งดี

                    ๑๓. มานะ ความถือตัว

                    ๑๔. อติมานะ ความดูหมิ่น

                    ๑๕. มทะ ความมัวเมา

                    ๑๖. ปมาทะ ความประมาท

                    ภิกษุรุ้ชัดดังนี้ว่า ว่า..เป็นอุปกิเลสแห่งจิต แล้วจึงละอุปกิเลสแห่งจิตได้ ในกาลนั้น ภิกษุนั้นจะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ว่า ... จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม ว่า... จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ ว่า...

                   เพระาเหตุนี้ภิกษะนั้นสละ คาย ปล่อย ลา สลัดท้องเส่วนแห่งกิเลสได้แล้วเธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า "เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า" เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปิตอย่อมตั้งมั่น.." เรามีความเลื่อมใสแน่วแนในพระธรรม" เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า "เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์" เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบเธอมีกายสวบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอรู้ว่า "เพราะเราสละ คาย ปล่อย ละ สลัดท้ิงส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว" จึงได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

                  ภิกษุนั้นมีศีลอย่งนี้ มีธรรมอย่างน้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉันอาหารบิณฑบาตข้าวสาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่างการฉันบิณฑบตของภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย ผ้าที่สกปรกเปรอะเปื้อน จะเป็นผ้าที่สะอาด หมดจดได้ เพราะอาศัยน้ำใสสะอาด หรือทองคำจะเป็นทองคำบริสุทธิ์ผุดผ่อง ได้เพระาอาศัยเบ้าหลอม แม้ฉันใด ภิกษะก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉันอาหรบิณฑบาตข้าวสาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอยา่ง การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย.... ( ทีมา : โปรแกรมพระไตรปฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า ๖๒-๖๖)

หมายเลขบันทึก: 640362เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2017 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท