ชีวิตที่พอเพียง : 3034. เรียนรู้จาก PMAC Retreat : 4. เป้าหมายและวิธีทำงาน



ช่วงเช้าวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐  เริ่มด้วยการทบทวนวิวัฒนาการของ PMAC   และผลการประเมินโดยทีมประเมินที่มี Prof. Kenji Shibuya ที่ช่วยให้ผมจับประเด็นลักษณะจำเพาะคือ (๑)  agenda-free conference   กับ (๒) การทำงาน social movement ของ PMAC ซึ่งก็เป็นดาบสองคม   คือมีทั้งด้านบวก และด้านลบ ต่อต่างกลุ่มผลประโยชน์


การอภิปรายทำให้ผมได้เรียนรู้ว่า ประเด็นเชิงนโยบายนั้น  มีทั้งระดับกว้างๆ หรือผิวเผิน  และการที่มีกระบวนการ deepening ประเด็นเชิงนโยบายนั้น ซึ่งต้องมีการทำงานต่อเนื่อง   ไม่ใช่ปีต่อปี    และผมคิดต่อว่า หากมีการนำประเด็นนโยบายสำคัญไปดำเนินการในหลายๆ ประเทศ    พร้อมกับมีคำถามหลักๆ สัก ๑๐ คำถาม    สำหรับนำไปเก็บข้อมูลประเด็นของการประยุกต์นโยบาย (policy implementation)    แล้วนำข้อมูลมาประชุมกันในประเด็น policy implementation    ก็จะได้การประชุม PMAC โฉมใหม่    ซึ่งก็หมายความว่า วิธีจัดการประชุมต้องเปลี่ยนใหม่หมด    และประเด็นสำคัญที่สุดคือเราทำไหวไหม  


ประเด็นการมีผลงานที่มีผลต่อนโยบายสุขภาพโลก   นำไปสู่การผูกหรือเชื่อม PMAC เข้ากับกิจกรรมขององค์การระดับโลก เช่น UN / WHO   ซึ่งก็เป็นดาบสองคม เช่นเดียวกัน 

 

วาระการประชุมกำหนดให้เราเรียนรู้วิธีจัดการประชุมของ international forum อื่น ๒ แห่งในอังกฤษ  ได้แก่


Chatham House () ชื่อจริงๆ ของเขาคือ The Royal Institute of International Affairs   ทำงานกว้างขวาง  และเป็นสถาบันใหญ่ แต่ไม่เป็นราชการ    เขาเป็นผู้ตีพิมพ์วารสารวิชาการถึง ๓ ฉบับ    มีงานวิจัยมากมาย    


สิ่งที่นักประชุมรู้จักกันดีคือ Chatham House’s Rule () ซึ่งช่วยให้คนพูดสารสนเทศที่อ่อนไหวหรือ ค่อนข้างเป็นความลับได้    เพื่อช่วยให้การประชุมอยู่บนฐานข้อมูล    และมีคุณภาพสูง    โดยที่ผู้พูดก็ ไม่ได้รับอันตราย      


เนื่องจากเขาทำงานร่วมกับทุก sector    เขาจึงต้องระมัดระวังภาพลักษณ์ ว่าผลงานไม่ได้ถูกกดดัน จากผู้ให้ทุน   เช่นบริษัทบุหรี่    ประเด็นด้านสุขภาพของเขาคือ global health security   


Wilton Park Forum () เป็นเวทีเสวนาเรื่องใหญ่ๆ ของโลก เช่น ความขัดแย้ง  ความมั่นคง  เศรษฐกิจโลก  สิทธิมนุษยชน  การพัฒนาที่ยั่งยืนและสภาพแวดล้อม เป็นต้น    ปีละประมาณ ๖๐ การประชุม    น่าเสียดายที่เขามานำเสนอไม่ได้   


หลังจากนั้นเป็นการประชุมกลุ่มหา เป้าหมายใน ๑๐ ปีข้างหน้า    โดยทีมประสานงานตั้งคำถาม สำหรับใช้คุยกัน ๘ คำถาม

  • จุดแข็ง (niche) ของ PMAC คืออะไร
  • ใน ๑๐ ปีข้างหน้า PMAC หวังบรรลุอะไร
  • เป้าหมายใน ๑๐ ปีข้างหน้าคืออะไร (?ซ้ำกับข้อ ๒)
  • จะเป็นการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ   หรือปรับปรุงใหญ่
  • PMAC ต้องการยกระดับความสำเร็จขึ้นไปอีกระดับหนึ่งหรือไม่
  • มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล  พอใจกับสมดุลระหว่างพิธีพระราชทานรางวัลที่เป็นทางการ  กับ สาระวิชาการนโยบายสุขภาพของ PMAC หรือไม่
  • ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ PMAC ดำรงการใช้ “พลังอ่อน” เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาวะของโลก


มีการอภิปรายกว้างขวางมาก   


ตอนบ่ายเป็นการประชุมกลุ่ม เพื่อเสนอแนะวิธีทำงาน  ที่ นพ. สุวิทย์ เสนอกรอบจากการอภิปรายช่วงเช้า ว่าใน ๑๐ ปีข้างหน้า PMAC จะดำเนินการตาม modality 3   โดยมีลักษณะ ๖ ข้อคือ

  • จับประเด็นสำคัญที่ผุดขึ้น  และอ่อนไหวต่อเศรษฐศาสตร์การเมือง    คือเคลื่อนจากเน้นเฉพาะประเด็นเชิงเทคนิค ไปสู่เน้นประเด็นเชิงเศรษฐกิจและการเมืองด้วย
  • สมดุลระหว่างกระบวนการ และผลลัพธ์ของการประชุม
  • ทำให้ PMAC เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น
  • ขยายการมีส่วนร่วม
  • บทบาทด้านการขับเคลื่อน ทั้งระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ
  • ทีมคณะเลขานุการกิจ ทำหน้าที่ประสานงาน ที่เข้มแข็งขึ้น


คำถามต่อการประชุมกลุ่มคือ “ทำอย่างไร” (how)


จากรายงานการประชุมกลุ่ม สรุปได้ว่า  การปรับปรุง PMAC ครั้งนี้ไม่ใช่เปลี่ยนใหญ่ (transformation)    แต่เป็นการปรับให้เกิด policy impact มากขึ้น



วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๖๐

ห้อง 116, Davenport House, Greenwich, London 



1 ในห้องประชุม


2

หมายเลขบันทึก: 639736เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2017 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท