ภัยร้ายจาก สเตียรอยด์


สเตียรอยด์เป็นชื่อคุ้นหูอยู่ว่าเป็นยารักษาโรคในทางการแพทย์ ซึ่งสรรพคุณเหมือนเป็นยาวิเศษ รักษาโรคหรือภาวะต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย แต่ที่น่ากลัวก็คือ มีการนำสเตียรอยด์มาปลอมปนในผลิตภัณฑ์ยาหรือเครื่องสำอางเพื่ออวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งการมีสเตียรอยด์อยู่ในร่างกายนานวันเข้ามีแต่ส่งผลร้าย เราจึงควรรู้เท่าทันดักจับสเตียรอยด์ให้อยู่หมัดก่อนจะเข้าถึงตัวเรา

ภัยร้ายที่เกิดจากการ ‘ติด’   สเตียรอยด์ระยะแรกไม่สามารถสังเกตเห็นอาการผิดปกติ แต่เมื่อทานไปนานๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ

1.  ภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นแผลที่ผิวหนังตามร่างกาย แขน    ขา   นิ้วมือและแผลหายช้า บางรายลุกลามไปทั่วร่างกายจนเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้เสียชีวิต

2.   เยื่อบุกระเพาะอาหารบาง จนอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุหรือเลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยไม่มีอาการปวดท้องมาก่อน

3.   ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติได้ โดยระดับน้ำตาลจะสูงขึ้น

4.   ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในช่วงปกติได้ โดยความดันโลหิตจะสูงขึ้นแต่ไม่มีอาการเตือน นับเป็นภัยเงียบ

5.   กระดูกพรุนและแตกหักง่าย ซึ่งเสี่ยงต่อผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไขกระดูก ผู้ที่อยู่ในวัยทอง    ไม่ควรใช้สเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

6.   อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อแขนขาไร้เรี่ยวแรงหัวใจเต้นผิดจังหวะ

7.  ต้อหิน หากใช้ยาหยอดตาที่ผสมสเตียรอยด์ หรือเป็นต้อกระจก จะทำให้ติดเชื้อที่ตาได้ง่ายอาจถึงขั้นตาบอด

8.   ผิวหนังบาง หากใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกติดต่อกันนานๆ  โดยผิวหนังจะมีลักษณะเป็นมัน อักเสบมีผื่นแดง เกิดรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา บางรายอาจเป็นสิวเห่อขึ้นทั้งตัว

9.   คุชชิ่งซินโดรม (Cushing Syndrome) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการใช้สเตียรอยด์ในปริมาณที่มาก อาการที่สังเกตได้คือใบหน้ากลมคล้ายพระจันทร์ ไขมันพอกต้นคอ ด้านหลังเป็นหนอก ผิวหนังบาง มีรอยแตกสีม่วงแดงตามผิวหนังที่หน้าท้องและต้นขา

10. ร่างกายหยุดใช้สารสเตียรอยด์ธรรมชาติที่เคยสร้างเอง เมื่อได้รับสารสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ดังนั้นถ้าผู้ใช้หยุดยานี้อย่างกะทันหันจะทำให้ร่างกายขาดสเตียรอยด์ฉับพลัน อาจเกิดภาวะช็อกหมดสติ และเสียชีวิตได้  

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 636870เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2017 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2017 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท