ภาวะตะกั่วเป็นพิษ


พิษตะกั่วเข้าถึงเราง่ายมาก การกิน เป็นช่องทางที่สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายเรามากที่สุดถึงร้อยละ 70-85 ผ่านการปนเปื้อนของอาหาร น้ําา เครื่องดื่ม และภาชนะเครื่องใช้ เช่น กระทะ กระทะปิ้งย่างตามร้านหมูกระทะ  หม้ออะลูมิเนียม สังกะสีที่มีความบางและร้อนเร็ว เป็นต้น

อะไรบ้างรอบตัวเราที่มีสารตะกั่ว

สีทาบ้าน (โดยเฉพาะสีแดง), สีผสมอาหาร (หากใช้เกินกําาหนดเสี่ยงอันตราย), สีย้อมผ้า, กระดาษหนังสือพิมพ์, แป้งทาตัวเด็กที่มีสี, หม้อก๋วยเตี๋ยวหรือตู้น้ําาดื่มสแตนเลสที่มีการเชื่อมด้วยตะกั่ว, จานเซรามิกที่ใช้สีไม่ได้มาตรฐาน, สีเคลือบจานชามเมลามีนหรือภาชนะพลาสติกต่างๆ เป็นต้น

สถานที่ทํางานก็เป็นแหล่งสําคัญที่ก่อเกิดพิษตะกั่ว เช่น การทํางานในโรงงานทําแบตเตอรี่ โรงงานทําเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยสารพิษสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนี้

1. ทางการหายใจ เช่น การสูดฝุ่น ควัน ไอระเหยของตะกั่ว และขาดการป้องกันควบคุมอย่างถูกต้อง จึงทําให้ควันเหล่านั้นแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมของการทํางาน ฯลฯ

2. ทางปาก เช่น การสูบบุหรี่ การทานอาหารในโรงอาหารของโรงงาน ซึ่งมีตะกั่วอยู่ในบรรยากาศ ฯลฯ

3. ทางผิวหนัง มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ทํางานกับน้ํามันเบนซิน เช่น ช่างฟิต เป็นต้น

ลักษณะอาการของพิษตะกั่วอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หรือปวดท้องบริเวณรอบสะดือ บ้างอาจมีอาการท้องผูก โลหิตจาง มึนชาอวัยวะแขนขา ไม่มีสมาธิ ความจําถดถอย ถ้าในรายที่มีระดับตะกั่วสูงมากอาจมีอาการชัก ซึม หมดสติ และเสียชีวิตได้

ป้องกันได้อย่างไร

ป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดร่างกาย ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพในกลุ่มเสี่ยงควรเพิ่มการใส่หน้ากากป้องกันการหายใจ และควรหมั่นตรวจร่างกาย และตรวจวัดระดับตะกั่วเป็นประจําา

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 636864เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2017 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2017 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท