ตัวอย่างบทความการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์


อุทาหรณ์โซเชียล ตำรวจแจ้งความกลับ 
ผู้โพสต์แต่งชุดนอกเครื่องแบบล็อคล้อ

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 จากกรณีที่มีชาวเน็ตรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพตำรวจแต่งชุดเสื้อยืดคอกลม กางเกงสามส่วน ออกปฏิบัติหน้าที่ บริเวณหลังวัดราชนัดดารามวรวิหาร พื้นที่ สน.สำราญราษฎร์ โดยผู้โพสต์ระบุว่า "ผมเป็นประชาชนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องถ้าผมผิด ผมรับผิดและยอมจ่ายค่าปรับ แต่วิธีของพวกคุณ ไม่ใช่ ตำรวจที่ดี อย่างที่ควรจะเป็นสภาพการแต่งตัวคำพูดคำจา มันไม่ใช่กับการที่จะยอมรับได้..คุณอ้างว่าที่คุณใส่ชุดแบบนี้เพราะคุณออกเวร.แต่ทำไม คุณถึงมีสิทธิ์มาเขียนใบสั่งพร้อมทั้งล็อคล้อ รถผม..ประเทศไทย ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย..แต่ถ้าผู้รักษากฎหมาย ทำพฤติกรรมแบบนี้..สังคมจะอยู่อย่างไร..ลูกชายผมยืนร้องให้..เค้าเสียใจที่รถเค้าถูกล็อคล้อแบบไม่สมควร..เค้าบอกว่า ตำรวจไร้เหตุผล.เด็กขวบ ยังรู้จักแยกแยะว่าอะไรผิด.อะไรถูก..พวกคุณควรสำนึกไว้ด้วย...!!!"

          ทางด้าน พ.ต.ท. สมเกษม จารักษ์ รองผกก.จร. สน.สำราญราษฎร์ ชี้แจงว่า เหตุการณ์จริงไม่ใช่แบบที่ถูกโพสต์แต่อย่างใด ข้อเท็จจริงคือผู้โพสต์ ได้จอดรถในที่บริเวณหน้าป้ายห้ามจอด บริเวณถนนหลังวัดราชนัดดารามวรวิหาร และดาบตำรวจสมเกียรติ สุทธินนท์ ได้ขับขี่จยย.ตรวจพบ จึงทำการล็อกล้อช่วงเวลาประมาณ 15.00 น.พร้อมออกใบเตือนให้มาชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจ จากนั้นด.ต.สมเกียรติได้ออกเวรไปช่วง16.00 น. และผู้โพสต์ได้มาเสียค่าปรับ 300 บาท ในข้อหาจอดรถในเขตห้ามจอด ที่สน.ในช่วงเวลา 18.00 น. เจ้าหน้าที่จึงวิทยุให้ด.ต.สมเกียรติไปไขที่ล็อกล้อ แม้จะออกเวรแล้วก็ตาม ทั้งนี้ยืนยันว่า เหตุการณ์จริงไม่ใช่อย่างที่ผู้โพสต์ระบุแต่อย่างใด ล่าสุดช่วงเช้าที่ผ่านมา ด.ต.สมเกียรติ สุทธินนท์ ตำรวจจราจร สน.สำราญราษฎร์ ได้แจ้งความผู้โพสต์แล้ว ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา14 ในข้อหาหมิ่นประมาท นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ

วิเคราะห์ข่าว

          ผู้ชายคนนั้นเขาได้จอดรถบริเวณที่ห้ามจอดหรืออาจเพราะเขาไม่รู้ว่าบริเวณนั้นมีเขตห้ามจอดดังกล่าว แล้วก็มีตำรวจนอกเครื่องแบบมาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบสั่งล็อคล้อและให้ไปเสียค่าปรับ ทำให้ชายคนนั้นเกิดความพอใจว่ามาล็อครถเขาทำไม อีกทั้งยังแต่งกายไม่สุภาพพร้อมกับทั้งที่ยังไม่ใช่เวลาปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจึงได้โพสต์และถ่ายภาพลงทาง Facebook เพื่อเป็นการประจานตำรวจรายนั้น

พฤติกรรมการกระทำผิด

ได้โพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จลง Facebook ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประชาชนมองเจ้าหน้าที่ตำรวจในด้านลบ ทั้งที่ความเป็นจริง เจ้าตัวได้กระทำผิดจริงในข้อหาจอดรถในพื้นที่บริเวณห้ามจอด 

วิธีการป้องกัน

          ควรโพสต์ข้อความที่เป็นความจริง ไม่เห็นแก่อารมณ์ชั่ววูบจนลืมนึกถึงจิตสำนึกที่ดีว่าความจริงตนเองนั้นผิดอย่างไร

บทลงโทษ

  มาตรา14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

1.      นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

2.      นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

3.      นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา

4.      นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

5.      เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1)(2) (3) หรือ (4)

                   

หมายเลขบันทึก: 635255เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2017 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2017 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท