ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ครั้งที่21


วันศุกร์ที่25 สิงหาคม 2560  

เป็นการทำประชาคมหมู่บ้านของหมู่บ้านหนองขุย หมู่ 4 ตำบลหนองสาหร่าย

เวลา 08.00 น. เริ่มลงทะเบียนหน้าศาลาทำการของหมู่บ้าน ชาวบ้านหมู่ที่ 4 หมู่บ้านหนองขุย ตำบลหนองสาหร่าย 

เวลา 09.30 น. ประธานจุดธูปเทียนบูชา และกล่าวเปิดงาน โดย ท่าน ชนะ  สุขพรหม  นายกเทศมนตรีตำบลหนองสาหร่าย และ คุนแรม เชียงกา

ประธานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองทราย ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ตำบลหนองสาหร่าย โดยมี อาจารย์ ศิวโรฒน์ จิตนิยม  ผู้ก่อตั้งสถาบันการเงินของตำบลหนองสาหร่ายเป็นผู้ดำเนินการประชาคม


                                 เริ่มเเรกได้ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ลงทะเบียนเข้าประชุม



                        จากนั้นพวกเราได้นำ้ำมาบริการให้เข้าชาวบ้านที่มาประชุมได้ดื่ม


เมื่อชาวบ้านมาประชุมกันครบจำนวนแล้ว ก็ได้เริ่มเปิดการประชุม ว่าด้วยการพัฒนาเกษตรใน ต.หนองสาหร่ายทั้ง 9 หมู่บ้าน ให้มีรายได้ไม่เป็นหนี้ มีอาชีพที่มั่นคง โดยมีพ่อเเรม เชียงกาและอาจารย์ ศิวโรฒน์  เป็นผู้บรรยาย

เนื้อหาที่จะพูดในการทำประชาคมมีด้วยกัน 5 ประเด็น 

ประเด็นที่ 1 อาจารย์ ศิวโรฒน์ พูดถึง สวัสดิการที่จะได้รับในการเป็นสมาชิกของสถาบันเราจะมีเงินให้ผู้ที่แต่งงานกันภายในหมู่บ้านหนองขุยจะได้รับครัวเรื่อนละ 2,000 บาท เมื่อคลอดลูกจะได้ค่านอนโรงพยาบาลคืนละ 300 บาท เพื่อเป็นสวัสดิการของผู้ที่เป็นสมาชิกของสถาบันการเงินและมีสิทธ์กู้เงินในสถาบันการเงินเพื่อมาใช้จ่ายภายในครอบครัวกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย
 ประเด็นที่ 2 เป็นการพูดถึงเรื่องการเข้าร่วมการเป็นสมาชิก เกษตรกรชุมชน การลงชื่อและรายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนประกันราคาข้าวไว้และรอการตอบอนุมัติจากการลงรายชื่อเพื่อขอประกันราคาข้าว
ประเด็นที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของการใช้รถเกี่ยวของคนในชุมชนอยากให้ลูกหลานในตำบลหนองสาหร่ายหันมาช่วยและพัฒนาให้การการใช้นวัตกรรมในการทำนาก้าวไกลโดยเป็นผลงานของลุกหลานของคนในตำบลหนองสาหร่ายให้ลูกหลานของเรามาช่วยพัฒนาความเจริญของตำบลหนองสาหร่าย
ประเด็นที่4 การติดตั้งไฟภายในหมู่บ้านเพื่อเพิ่มความสว่างภายในหมู่บ้านและลดการเสี่ยงการเกิดความอันตรายภายในชุมชน การเกิดอุบัติเหตุ การเกิดจลกรรมเพื่อลักขโมย จุดไหนที่ไม่มีไฟเข้าหมู่บ้านและจุดไหนที่ไฟเสียไฟไม่สามารถใช้งานได้
และประเด็นที่ 5 เป็นการนำเสนอโครงการ และ SWOT ของชุมชน โดยนักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชนครปฐมจำนวน 9 คน มีการ SWOT 
โดยการ แบ่งจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ซึ่งเราได้อธิบายให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน หนองขุย ได้ฟังถึงจุดแข็ง คือจุดแข็งของหมูบ้านหนองขุยคือ มีผู้นำชุมชนที่ดี ชาวบ้านที่มีความสามัคคีกัน  มีปราชญ์ชาวบ้านที่หลากหลายสาขา  มีการรวมกลุ่มอาชีพต่างของคนในหมู่บ้าน  มีความผูกพันธ์ในระดับเครือญาติ  จุดอ่อน คือ ชาวบ้านขาดความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะ ชาวบ้านการการออกแบบผลิตภัณฑ์ของชุมชน  มีปัญหายาเสพติด  ชาวบ้านยังไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร เด็กและเยาวชนการความสนใจในการเรียนรู้เรื่องของวัมนธรรมของชุมชน  โอกาส คือ มีสถานที่ รับ - ซื้อขยะของชุมชน
เปฺิดโอกาสในคนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็น  มีสวัสดิการจากสถาบันการเงินของชุมชน  อุปสรรค คือ ชาวบ้านไม่ค่อยมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม
ราคาพืชผลตกต่ำ  การเลือกตั้งสร้างปัญหาความแตกแยกของคนในหมุ่บ้าน  ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชผลเสียหาย
 และสุดท้ายคือการ เสนอโครงการเพื่อให้ช้าวน้านได้ดูได้ฟังและเห็นด้วยที่จะทำโครงการนี้ไหม จากนักศึกษาฝึกงาน 9 คน 
มีการนำเสนอทั้งหมด 4โครงการ โครงการที่ 1 คือการจัดการขยะ โครงการที่ 2 ออกแบบผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพร โครงการที่ 3 คู่มือทำยาสมุนไพร 
โครงการที่ 4 อนุรักษ์ประเพณีรำเหย่ย 

เมื่อประชุมเสร็จ พวกเราก็ได้ทำประชาคมกันต่อ เริ่มเเรกพวกเราก้แนะนำตัวเองกับชาวบ้าน



เสนอ SWOT จากการที่เราได้ลงพื้นที่ของ ม.4  เพื่อให้ชาวบ้านได้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน

โอกาศและอุปสรรคของหมู่ที่4

  เสนอโครงการให้กับชาวบ้านว่าชาวบ้านจะเห็นด้วยหรือไม่โดยกลุ่มแรกเสนอโครงการการจักการขยะ

กลุ่มที่2 เสนอโครงการออกแบบผลิตภัณฑ์น้ำสมุนไพร

กลุ่มที่3เสนอโครงการการจัดการความรู้ด้านสมุนไพร

และกลุ่มที่4 เสนอโครงการอนุรักษ์รำเหย่ย


จากการนำเสนอโครงการชาวบ้านห็นชอบกับโครงการของพวกเราทั้ง 4 กลุ่ม


เวลาประมาณ 12.00 จบการประชาคม ประธานในพิธีกล่าวปิดงาน เมื่อจบการประชาคม ก็ได้ให้ชาวบ้านร่วมรับประทานอาหารกลางวันก่อน ซึ่ง มีขนนจีน และไอติมข้าวไรซ์เบอรี่

จากนั้นเมื่อการประชุมเลิก เราก็ได้กลับไปทำงานภายในศูนย์กันต่อ


จบการทำงานของวันนี้


หมายเลขบันทึก: 634982เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2017 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2017 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท