บุคลิกภาพคืออุปสรรค


26. บุคลิกภาพคืออุปสรรค


ถาม  ตามความเห็นของผม โลกคือโรงเรียนของโยคะ และชีวิตคือการฝึกโยคะ

ทุกคนมุ่งมั่นต่อความสมบูรณ์แบบ และโยคะก็คือความมุ่งมั่น

ไม่มีอะไรน่ารังเกียวเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า คน “ธรรมดา” และชีวิต “ธรรมดา” ของพวกเขา

พวกเขาดำเนินชีวิตอย่างยากลำบากและทนทุกข์มากเท่าๆกับโยคี เพียงแต่พวกเขาไม่มีความรู้ตัวเกี่ยวกับเป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขา

ตอบ  คนธรรมดาในความหมายของคุณเป็นโยคีในลักษณะไหนหรือ?

 

ถาม  เป้าหมายสูงสุดของพวกเขาเหมือนกับของโยคี

สิ่งที่โยคีเข้าถึงโดยการสละ (tyaga) คนธรรมดาเข้าถึงโดยผ่านทางประสบการณ์ (bhoga

วิถีทางของ โภคะ (Bhoga) เป็นไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นมันจึงต้องทำซ้ำๆและใช้ระยะเวลานาน ในขณะที่วิถีของโยคะเป็นไปโยเจตนาและเข้มข้น จึงใช้เวลาน้อยกว่า

ตอบ  เป็นไปได้ไหมว่าช่วงเวลาของ โยคะ และ โภคะ เกิดขึ้นสลับกันไป

ตอนแรกเป็น โภคี (Bhogi) ต่อมาเป็น โยคี (Yogi) แล้วกลับมาเป็นโภคีแล้วต่อมาเป็นโยคีอีก

 

ถาม  มันเป็นอย่างนั้นเพื่ออะไรเล่า?

ตอบ  ความต้องการที่ไม่เข้มข้นจะถูกกำจัดได้โดยวิปัสสนาและสมาธิ แต่ความต้องการที่แข็งแรงและหยั่งรากลึกจะต้องสำเร็จและได้ลิ้มรสผลของมันไม่ว่าจะหวานหรือขม

 

ถาม  ถ้าอย่างนั้นทำไมเรายกย่องโยคี แต่ไม่ยกย่องโภคี?

ทุกคนล้วนจัดว่าเป็นโยคี เหมือนๆกัน

ตอบ  สำหรับคนทั่วไป ความพยายามด้วยเจตนามีคุณค่าน่ายกย่องมากกว่า

ในความเป็นจริง ทั้งโยคีและโภคีดำเนินชีวิตไปตามธรรมชาติของตน ตามสถานการณ์และโอกาส

ชีวิตของโยคีถูกควบคุมโดยความต้องการหนึ่งเดียว – เพื่อค้นหาความจริงแท้ ส่วนโภคีนั้นจะรับใช้เจ้านายหลายคน

แต่โภคีจะกลายเป็นโยคี และโยคีอาจจบลงในวังวนแห่งโภคะ

ผลสุดท้ายจะเหมือนกัน

 

ถาม  พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสิ่งสำคัญอย่างที่สุดที่เราควรจะเคยได้ยินว่าการตรัสรู้ หรือการย้อนกลับและการเปลี่ยนรูปโดยสมบูรณ์ของความรู้ตัวนั้นมีอยู่

ข่าวดีนี้เทียบได้กับประกายไฟในฝ้ายที่บรรทุกเต็มลำเรือ มันจะขยายตัวไปอย่างช้าๆและไม่ลดละจนกว่าฝ้ายทั้งหมดจะกลายเป็นเถ้าถ่าน

ในทำนองเดียวกัน ข่าวดีของการตรัสรู้จะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเร็วหรือช้าเพียงใด

ตอบ  ถูกต้องแล้ว ตอนแรกจะเป็นการได้ฟัง (shravana) จากนั้นเป็นการจำ (smarana) การขบคิด (manana) และอื่นๆ

เรามีอยู่บนพื้นฐานที่คุ้นเคย

ผู้ที่ได้รับฟังข่าวจะกลายเป็นโยคี ในขณะที่ส่วนที่เหลือดำเนินชีวิตต่อไปในแบบของโภคะ

 

ถาม  แต่ท่านเห็นด้วยว่าการมีชีวิต – แค่มีชีวิตซ้ำซากแบบโลกๆ เกิดแล้วตายและตายเพื่อเกิด – ทำให้คนก้าวหน้าไปด้วยปริมาตรมหาศาลของมัน เหมือนกับแม่น้ำที่ค้นพบเส้นทางสู่มหาสมุทรโดยปริมาตรมหาศาลของน้ำที่มันรวบรวมไว้

ตอบ  ก่อนมีโลก ความรู้ตัวมีอยู่

ในความรู้ตัว โลกก่อตัวขึ้น มันดำรงอยู่ภายในความรู้ตัว และมันจะละลายลงไปในความบริสุทธิ์ของความรู้ตัว

รากฐานของสรรพสิ่ง คือความรู้สึก “ฉันเป็น”

สภาวะของใจที่ว่า “โลกมีอยู่” นั้นเป็นรอง เพราะในการมีอยู่เป็นอยู่ ฉันไม่ต้องการโลก แต่โลกต้องการฉัน

 

ถาม  ความต้องการมีชีวิตเป็นสิ่งใหญ่หลวงมาก

ตอบ  แต่ที่ใหญ่หลวงมากกว่านั้นคืออิสรภาพจากความต้องการมีชีวิต

 

ถาม  อิสรภาพของก้อนหินหรือ?

ตอบ  ใช่ อิสรภาพของก้อนหิน และอื่นๆมากมายนอกจากนั้น

อิสรภาพไร้ขีดจำกัดและรู้ตัว

 

ถาม  บุคลิกภาพไม่ใช่สิ่งจำเป็นต้องมีเพื่อรวบรวมประสบการณ์หรอกหรือ?

ตอบ  ในสภาวะที่เธอเป็นอยู่ขณะนี้ บุคลิกภาพเป็นเพียงแค่อุปสรรค

การระบุว่าร่างกายเป็นตัวตนนั้นอาจดีสำหรับเด็กทารก แต่การเติบโตที่แท้จริงขึ้นอยู่กับการกำจัดร่างกายออกไปให้พ้นทาง

โดยปกติ บุคคลควรออกจากความต้องการทางกายได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

แม้กระทั่ง โภคี ซึ่งไม่ปฏิเสธความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่จำเป็นต้องโหยหาในสิ่งที่เขาได้ลิ้มรสแล้ว

อุปนิสัย ความต้องการซ้ำซาก ทำให้เกิดความเครียดทั้งในโยคีและในโภคี

 

ถาม  ทำไมท่านจึงมักกล่าวว่าความเป็นบุคคล (vyakti) นั้นไร้ความสำคัญ

บุคลิกภาพเป็นข้อเท็จจริงขั้นแรกของการดำรงอยู่ของเรา

มันครอบคลุมเวทีทั้งหมด

ตอบ  ตราบใดที่เธอยังไม่เห็นว่ามันเป็นแค่อุปนิสัย เกิดขึ้นจากความทรงจำ ถูกกระตุ้นโดยความต้องการ เธอก็จะคิดว่าเธอคือบุคคล – มีชีวิต มีความรู้สึก มีความคิด เป็นผู้กระทำ เป็นผู้ถูกกระทำ มีความสุขหรือมีความทุกข์

ถามตัวเธอดูสิ ถามตัวเธอดู

“มันเป็นอย่างนั้นหรือ?” “ฉันคือใคร?” “อะไรที่อยู่เบื้องหลังและอยู่เหนือสิ่งเหล่านี้?”

และไม่นานเธอจะเห็นความผิดพลาดของเธอ

และเมื่อเธอได้เห็น การเป็นโน่นเป็นนี่ก็จะหยุดลงโดยธรรมชาติของความผิดพลาดเอง

 

ถาม  โยคะแห่งการมีชีวิต หรือโยคะแห่งชีวิต เราอาจเรียกว่า โยคะธรรมชาติ (nisarga yoga)

มันเตือนให้ผมคิดถึง โยคะปฐม (adhi yoga) ที่พูดไว้ใน Rig-Veda ซึ่งมีผู้อธิบายไว้ว่าเป็นการเชื่อมโยงชีวิตและใจไว้ด้วยกัน

ตอบ  ชีวิตที่เป็นไปโดยมีสติเต็มพร้อม เป็นโยคะแบบ Nisarga อยู่แล้ว

 

ถาม  การเชื่อมโยงระหว่างชีวิตและใจหมายถึงอะไรครับ?

ตอบ  การดำรงชีวิตโดยมีความตระหนักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ความรู้ตัวของการมีชีวิตโดยไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ มีความสนใจในชีวิตของตนอย่างเต็มที่ – ทั้งหมดนี้หมายรวมอยู่ในนั้น

 

ถาม  ชาราดาเทวี ภรรยาของท่านศรีรามากฤษณะ พารามหังสา เคยดุด่าลูกศิษย์ของท่าน เพราะใช้ความพยายามมากเกินไป

เธอเปรัยบเทียบพวกเขาเหมือนมะม่วงบนต้นซึ่งถูกเก็บก่อนแก่เต็มที่

เธอมักพูดว่า “รีบร้อนไปทำไม?” “รอจนเธอแก่จัด กลมกล่อม และหวานเสียก่อนสิ”

ตอบ  เธอพูดถูกอย่างยิ่ง

มีคนมากมายที่คิดว่ารุ่งอรุณเป็นเที่ยงวัน คิดว่าประสบการณ์ชั่วขณะเป็นการรู้แจ้งเต็มที่ และทำลายสิ่งที่เขาได้รับเพียงเล็กน้อยด้วยความภาคภูมิใจและอคติ

ความนอบน้อมและความเงียบเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสาธกะ (sadhaka), ไม่ว่าเขาจะอยู่ในระดับสูงเพียงใด

มีเพียง jnani ที่สุกงอมเต็มที่เท่านั้น ที่จะสามารถยอมให้ตนมีความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ

 

ถาม  ดูเหมือนจะมีสำนักโยคะที่ศิษย์ของสำนัก หลังจากสว่างแจ้ง จะต้องปิดปากเงียบเป็นเวลานานถึง 7 หรือ 12 หรือ 15 หรือ 25 ปี

แม้แต่ท่านภควัน ศรีรามานา มหารชี ยังปิดปากเงียบอยู่นานถึง 20 ปี กว่าท่านจะเริ่มสอน

ตอบ  ใช่ ผลไม้ภายในต้องสุกเต็มที่

จนกว่าจะถึงเวลานั้น ลูกศิษย์ซึ่งเป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยความตระหนัก ต้องฝึกต่อไป

อย่างช้าๆ การปฏิบัติจะมีความละเอียดมากขึ้นๆ จนกระทั่งมันกลายเป็นสิ่งไร้รูปโดยสิ้นเชิง

 

ถาม  ท่านกฤษณามูรติก็พูดถึงการมีชีวิตอยู่ในความตระหนัก

ตอบ  ท่านกฤษณามูรติตั้งเป้าไว้ที่ “ธรรมชาติสูงสุด” โดยตรง

ใช่ ในท้ายที่สุดแล้ว โยคะทุกสายจะจบลงใน อธิโยคะ ของเธอ ซึ่งเป็นการแต่งงานระหว่างความรู้ตัว (เจ้าสาว) กับชีวิต (เจ้าบ่าว)

ความรู้ตัวและการมีอยู่เป็นอยู่ (sad-chit) พบกันในจุดที่มีความสุข (ananda)  

การจะเกิดความสุขขึ้นได้ ต้องมีการพบกัน มีการสัมผัส มีการยืนยันถึงธรรมหนึ่งในธรรมคู่

 

ถาม  พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เช่นกันว่า ในการที่จะบรรลุถึงนิพพาน จิตวิญญาณต้องมากำเนิดเพื่อมีชีวิต

ความรู้ตัวต้องการชีวิตเพื่อเติบโต

ตอบ  โลกเองนั่นแหละคือการสัมผัส – การสัมผัสทั้งหมดเป็นจริงได้ภายในความรู้ตัว

จิตวิญญาณสัมผัสกับสสาร และเกิดความรู้ตัวเป็นผล

ความรู้ตัวเช่นนั้น เมื่อถูกทำให้ด่างพร้อยด้วยความทรงจำและความคาดหว้ง มันจะกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่น

ประสบการณ์ที่บริสุทธิ์จะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างความต้องการและความกลัวจะไม่บริสุทธิ์และทำให้เกิดกรรม

 

ถาม  ความสุขจะเกิดขึ้นได้ไหมในธรรมหนึ่ง?

ความสุขทั้งหมดไม่ได้บ่งบอกว่าจำเป็นต้องมีการสัมผัสเกิดขึ้นก่อนดอกหรือ ดังนั้นธรรมคู่ก็จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกัน

ตอบ  ธรรมคู่ไม่ใช่สิ่งผิดอันใด ตราบใดที่มันไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ความมากมายและความหลากหลายโดยไม่ต้องมีการขัดแย้ง นั่นคือความปิติยินดี

ในความรู้ตัวที่บริสุทธิ์จะมีแสงสว่าง

การเกิดขึ้นของความอบอุ่นจำเป็นต้องมีการสัมผัส

เหนือความเป็นหนุ่งของสรรพสิ่งคือการรวมของความรัก

ความรักคือความหมายและวัตถุประสงค์ของธรรมคู่

 

ถาม  ผมเป็นลูกบุญธรรม ผมไม่รู้ว่าพ่อแท้ๆของผมเป็นใคร

แม่แท้ๆของผมตายตอนที่ผมเกิด

พ่อบุญธรรมของผมรับผมเป็นลูก – โดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อตามใจแม่บุญธรรมของผมซึ่งไม่สามารถมีลูกได้

พ่อบุญธรรมเป็นคนขับรถบรรทุกที่ตนเป็นเจ้าของ

แม่บุญธรรมเป็นแม่บ้าน

ตอนนี้ผมอายุ 24 ปี ตลอดเวลาสองปีครึ่งที่ผ่านมา ผมเดินทางไปทั่ว วิ่งพล่าน แสวงหา

ผมอยากมีชีวิตที่ดี มีชีวิตที่ศักดิ์สิทธิ์

ผมควรทำอย่างไรดี?

ตอบ  กลับบ้าน สืบทอดธุรกิจของพ่อบุญธรรม ดูแลพ่อแม่บุญธรรมเมื่อท่านแก่เฒ่า 

แต่งงานกับหญิงสาวที่รอคอยเธออยู่ จงซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน

จงซ่อนคุณธรรมของเธอ มีชีวิตอย่างเงียบๆ

ประสาทสัมผัสทั้งห้าและคุณภาพทั้งสาม (gunas) คือขั้นตอนทั้งแปดในโยคะของเธอ

และ “ฉันเป็น” คือการเตือนความจำที่ยิ่งใหญ่ของเธอ (mahamantra)

เธอสามารถเรียนรู้จากมันได้ทุกอย่างที่เธอจำเป็นต้องรู้

จงเอาใจใส่ สืบค้นอย่างไม่หยุดยั้ง

เท่านี้แหละ

 

ถาม  ถ้าเพียงแค่การมีชิวิตอยู่ก็สามารถปลดปล่อยให้เราเป็นอิสระ ทำไมทุกคนจึงไม่ถูกปลดปล่อย?

ตอบ  ทกคนกำลังถูกปลดปล่อย

มันไม่ใช่ว่าเธอมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร แต่เธอใช้ชีวิตอย่างไรนั้นต่างหากที่สำคัญ

แนวคิดของการบรรลุธรรมคือสิ่งสำคัญที่สุด

เพียงแค่รู้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้ที่จะบรรลุธรรม ก็จะทำให้ภายนอกของบุคคลเปลี่ยนแปลงได้

มันทำงานเหมือนจุดไม่ขีดไฟลงในกองขี้เลื่อยขนาดใหญ่

ครูผู้ยิ่งใหญ่ทุกคนทำเพียงแค่นี้

ประกายไฟแห่งความจริงแท้สามารถเผาภูเขาแห่งความหลอกลวงจนมอดไหม้

ในทางตรงกันข้ามก็เป็นความจริงเช่นกัน ดวงอาทิตย์แห่งความจริงแท้ถูกซ่อนไว้เบื้องหลังเมฆหมอกของการยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา

 

ถาม  การแพร่ขยายไปของข่าวดีแห่งการบรรลุธรรมดูจะมีความสำคัญมาก

ตอบ  เพียงแค่ได้ยิน ก็เป็นคำมั่นสัญญาแห่งการบรรลุธรรมแล้ว

การได้พบครูบาอาจารย์ก็เป็นการประกันถึงการปลดปล่อยเช่นกัน

ความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งให้ชีวิตและมีความสร้างสรรค์

 

ถาม  บุคคลผู้บรรลุธรรมเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า “ฉันบรรลุธรรมแล้วหรือ?”

เขาประหลาดใจบ้างหรือเปล่าในวิธีที่คนอื่นๆเคารพนบนอบแก่เขา

เขาไม่ได้คิดว่าตนเป็นแค่คนธรรมดาคนหนึ่งหรอกหรือ?

ตอบ  สำหรับเขา ไม่มีทั้งคำว่าคนธรรมดาหรือคนไม่ธรรมดา

เขาเพียงแค่ตระหนักและเป็นที่รัก – อย่างมาก

เขามองดูตัวเอง โดยไม่ปล่อยตัวลุ่มหลงในการให้คำจำกัดความตัวเอง และการยึดมั่นถือมั่น

เขาไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไรนอกเหนือไปจากการเป็นหนึ่งเดียวกับโลก

เขาคือโลก

เขาได้กำจัดอัตตาตัวตนไปโดยสิ้นเชิง เหมือนคนที่ร่ำรวยมาก แต่แจกจ่ายความร่ำรวยของตนออกไปไม่หยุดยั้ง

เขาไม่ร่ำรวย เพราะเขาไม่มีอะไรเลย

เขาไม่ยากจน เพราะเขาให้อย่างมากมาย

เขาไม่เป็นเจ้าของสิ่งใดเลย

ในทำนองเดียวกัน ผู้บรรลุธรรมจะไม่มีอัตตาตัวตน เขาได้สูญเสียความสามารถในการระบุว่าตนเป็นอะไร

เขาไม่มีสถานที่ ไม่มีที่อยู่ อยู่เหนือที่ว่างและเวลา อยู่เหนือโลก

เขาอยู่เหรือคำพูดและความคิด

 

ถาม  นั่นฟังดูลึกลับมากสำหรับผม ผมเป็นแค่คนธรรมดาที่เรียบง่าย

ตอบ  เธอนั่นแหละคือผู้ซับซ้อนอย่างยิ่ง ลึกลับอย่างยิ่ง ยากต่อการเข้าใจอย่างยิ่ง

ฉันคือความเรียบง่าย เมื่อเทียบกับเธอ ฉันคือสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ – ไม่มีความแตกต่างใดๆในภายในและภายนอก ของฉันและของเธอ ดีและเลว

โลกเป็นอะไร ฉันก็เป็นสิ่งนั้น

ฉันเป็นอะไร โลกก็เป็นสิ่งนั้น

 

ถาม  มันเป็นไปได้อย่างไรว่าแต่ละคนสร้างโลกของตัวเอง?

ตอบ  เมื่อคนส่วนมากหลับไหล แต่ละคนมีความฝันของตน

เมื่อตื่นขึ้น จึงเกิดคำถามเกี่ยวกับความฝันมากมายที่ต่างกัน และคำถามนั้นก็จบลงเมื่อพวกเขาเห็นว่ามันเป็นแค่ความฝัน เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากจินตนาการ

 

ถาม  แม้ความฝันก็ต้องมีพื้นฐาน

ตอบ  พื้นฐานของมันอยู่ในความทรงจำ

แม้เช่นนั้น สิ่งที่อยู่ในความทรงจำ ก็เป็นแค่ความฝันอีกอันหนึ่งเท่านั้น

ความทรงจำของสิ่งไม่จริงก็ต้องทำให้เกิดสิ่งไม่จริงขึ้นมา ไม่สามารถเป็นอย่างอื่นได้

ความทรงจำที่เป็นอย่างนั้นไม่มีอะไรผิด

สิ่งไม่จริงคือเนื้อหาของมัน

จงจดจำข้อเท็จจริง ลืมความคิดเห็นต่างๆเสีย

 

ถาม  ข้อเท็จจริงคืออะไร?

ตอบ  คือสิ่งที่ถูกรับรู้ในการตระหนักที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกกระทบกระเทือนโดยความต้องการ

 

ศรี นิสาร์กะทัตตะ มหาราช

“I AM THAT”

หมายเลขบันทึก: 634373เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท