โครงงานยาเสพติดมลพิษต่อชาติ


ประวัติยาเสพติด

    กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการนำเอาโบรไมด์ (Bromide) มาใช้เป็นยาระงับประสาทและรักษาโรคลมชัก ซึ่งได้รับความนิยมมากพอ ๆ กับยาวาเลียม (Valium) และยาริเบรียม (Librium) ในปัจจุบัน แต่โบรไมด์สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดอาการวิกลจริต และทำลายสมองอย่างถาวรด้วย ในระยะใกล้เคียงกันก็มีผู้ผลิตยาบาร์บิทุเรท (Barbiturate) และยาสงบประสาทตัวอื่น ๆ และได้รับความนิยมใช้อย่างแพร่หลายเช่นกัน โดยผู้ใช้ไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการเสพติดของยาเหล่านี้ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีผู้พบโคเคนและกัญชาซึ่งมีฤทธิ์ทำให้จิตใจสบายโคเคนพบว่ามีประโยชน์ทางการรักษาโรคด้วยโดยใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ดังนั้นโคเคนจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นผลให้มีการเสพติดโคเคน

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอมเฟตามีนถูกนำมาใช้ในกองทหารญี่ปุ่น เยอรมัน อเมริกัน และอังกฤษ เพื่อให้ร่างกายมีกำลังกระฉับกระเฉงอยู่ตลอดเวลา พอหลังสงครามยาซึ่งกองทัพญี่ปุ่นกักตุนไว้มาก็ทะลักสู่ตลาด ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นใช้ยากันมาก ในปี ค.ศ.1955 คาดว่ามีชาวญี่ปุ่นติดแอมเฟตามีนราวร้อยละ 1 ระหว่าง ค.ศ.1960-1970 ในประเทศสวีเดนมีการใช้ยา Phenmetrazine (Preludin) ซึ่งคล้ายแอมเฟตามีน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ในสหรัฐเมริกาพวกฮิปปี้ซึ่งเคยนิยมใช้ แอลเอสดี (LSD) หรือ Lysergic Acid Diethylamide ก็ค่อย ๆ หันมาใช้แอมเฟตามีนฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่นกัน

    ระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ยาหลอนประสาทเริ่มถูกนำมาใช้และใช้มากหลัง ค.ศ.1970 ผู้เสพส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันวันรุ่นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางโดยเริ่มจาก แอลเอสดี ซึ่ง Hofmanเป็นผู้ค้นพบในปี ค.ศ.1953 เนื่องจากแอลเอสดีทำให้เกิดอาการคล้าย วิกลจริต จึงมีนักจิตวิเคราะห์บางคนนำมาใช้เพื่อการรักษาผู้ป่วยด้วย เพราะคิดว่ายานี้จะช่วยกำจัด "Repression" ให้หมดไป ด้วยเหตุที่ยานี้ผลิตง่ายปัจจุบันจึงเป็นปัญหามากในอเมริกา

การเข้ามาภายในประเทศไทย

    เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) โดยทรงเล็งเห็นโทษของการเสพฝิ่น และทรงลงโทษ ระหว่างเหตุการณ์สงครามกลางเมืองอเมริกา ค.ศ. 1861-1865 เริ่มมีการนำเข็มฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังมาใช้ ทำให้มีผู้นำมอร์ฟีนมาใช้ในลักษณะยาเสพติด ต่อมาเมื่อคนรู้จักการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เฮโรอีนซึ่งเป็น diethylated form ของมอร์ฟีนก็ถูกนำมาใช้แทนมอร์ฟีน

ประเภทของยาเสพติด

     จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๕ ประเภท

  • ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  • ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
  • ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
  • ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

 

บัญญัติ ๑๐ ประการ ยาเสพติด

๑. ยาเสพติดให้โทษ คือ อะไร

    ยาเสพติดให้โทษตามความหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2552 หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลงจนถึงขั้นเสียชีวิต

๒. การใช้ยาเสพติดมีอันตรายอย่างไร

    การใช้ยาเสพติดมีอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้

     ๑.ทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรม น้ำหนักลด ผิวคล้ำ ร่างกายซูบผอม

     ๒.เป็นบุคคลไร้สมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อารมณ์ไม่ปกติ เฉี่อยชาเกียจคร้าน

 ๓. เสียบุคลิกภาพ ขาดความสนใจในตัวเองมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

๔. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายเพราะการควบคุมทางกล้ามเนื้อและระบบประสาทบกพร่อง

 ๕. เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเพราะความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อง่าย

๓. จะสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติดได้อย่างไร

    ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไปจากเดิมที่อาจสังเกตพบได้คือ

    ๑. ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม

    ๒. อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติจึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกันบางคนอาจชอบแยกตัวอยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง

    ๓. ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่าผลการเรียนแย่ลงถ้าเป็นคนทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย

    ๔. ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านในหรือรอยกรีดต้นแขนด้านใน

    ๕. ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆ ใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ

    ๖. ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด

    ๗. ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด

    ๘. ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง

๔. จะสังเกตอาการคนเมายาบ้าได้อย่างไร

    ผู้ที่เสพยาบ้าเป็นประจำ จะส่งผลให้ผู้เสพมีระบบประสาทผิดปกติเมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง จนเกิดความเครียดคิดว่าจะมีคนมาฆ่า หรือทำร้าย บางรายกลัวมากต้องหาอาวุธไว้ป้องกันตัวหรือคลุ้มคลั่งจับตัวประกัน ซึ่งอาจสังเกตอาการของคนเมายาบ้า ได้ดังนี้

    ๑. อยู่ไม่สุข ลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย

    ๒. หวาดกลัว และระแวงอยู่ตลอดเวลา

    ๓. สีหน้าเลื่อนลอยเหมือนคนไม่ได้นอนหลับพักผ่อน

    ๔. เนื้อตัวสกปรก มอมแมม

๕.ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดควรทำอย่างไร

    โดยหลักการตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 แล้วผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่งมิใช่อาชญากรปกติการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง

     ถ้าบุตรหลานหรือบุคคลในครอบครัวของท่านติดยาเสพติดท่านสามารถช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้นได้ก่อนถูกจับกุมดำเนินคดีโดยขอรับคำปรึกษาจากสถานที่ให้คำปรึกษา และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้แก่โรงพยาบาลของรัฐ เช่น รพ.ธัญญารักษ์, รพ.พระมงกุฏเกล้า, รพ.ตำรวจ, รพ.จุฬาลงกรณ์,รพ.ราชวิถี, รพ.ตากสิน, รพ.ทหารผ่านศึก , รพ.นพรัตน์ราชธานี เป็นต้นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดต่างๆ ฯลฯ

๖.หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลยให้บุตรหลานเสพยาเสพติดให้โทษผู้ปกครองมีความผิดหรือไม่

    ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนดูแลเอาใจใส่เด็กในความปกครองให้ประพฤติตนให้เหมาะสมหากผู้ปกครองรายใดไม่ดูแลเอาใจใส่ เป็นเหตุให้เด็กประพฤติ ตนไม่สมควรมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำความผิด เช่น เสพยาเสพติดให้โทษ เป็นต้นผู้ปกครองอาจจะมีความผิดถึงรับโทษจำคุกไม่เกิน 3เดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.บ.ค้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 4,26,78 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดเด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด พ.ศ.2549 ลงวันที่ 8 ส.ค.49

    ผู้ปกครองจึงไม่ควรสนับสนุนหรือยินยอมให้บุตรหลานของท่านเที่ยวเตร่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเช่น สถานบริการกลางคืน สถานที่เสี่ยงภัยต่างๆ

๗.ท่านหรือบุตรหลานของท่านไม่ยินยอมให้ตรวจปัสสาวะได้หรือไม่และมีโทษหรือไม่ อย่างไร

    บุคคลใดมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่าเสพยาเสพติดเจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจหรือทดสอบหรือสั่งให้บุคคลใดรับการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะได้ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 14 ทวิประกอบประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลง 11ก.ค.43 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่

    บุคคลใดไม่ยินยอมให้ตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดจากปัสสาวะต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด พ.ศ.2519 มาตรา 16

ดังนั้นจึงควรระมัดระวังมิให้บุตรหลานของท่านเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามสถานบริการต่างๆโดยเด็ดขาด

๘ สถานประกอบการประเภทใดที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด และต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร

    มีสถานประกอบการ 6 ประเภทที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2543) ณ วันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดประเภทสถานประกอบการที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ ได้แก่

    ๑. ปั๊มน้ำมัน

    ๒. ปั๊มก๊าซ

    ๓. สถานบริการต่างๆ

    ๔. ที่พักอาศัยในเชิงพาณิชย์ประเภท หอพัก อาคารชุด หรือเกสเฮ้าส์ ที่ให้ผู้อื่นเช่า

  • โต๊ะบิลเลียตหรือสนุกเกอร์ ที่เก็บค่าบริการจากผู้เล่น

๖.โรงงาน

    เจ้าของสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท มีหน้าที่ควบคุมสอดส่อง ดูแลไม่ให้พนักงานหรือบุคคลภายนอกมามั่วสุมกันกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบการ และต้องจัดให้มีป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติดหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ทวิ ประกอบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 ณ วันที่ 16 ส.ค.43 เรื่องกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการ

    หากปล่อยปละละเลยหรือละเว้นไม่ติดป้ายหรือประกาศเตือนดังกล่าว อาจถูกปรับเป็นเงินหนึ่งหมื่นบาทหรือสามหมื่นบาท หรือห้าหมื่นบาท แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบรามยาเสพติดพ.ศ.2519 มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับ และการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาตประกอบการพ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 17

 

๙. หากพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการเจ้าของสถานประกอบการมีความรับผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือไม่ อย่างไร

    ถ้ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบการทั้ง 6 ประเภท โดยเจ้าของสถานประกอบการไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์การใช้ความระมัดระวังได้สถานประกอบการนั้นอาจถูกสั่งปิดชั่วคราวหรือพักใช้ใบอนุญาต มีกำหนด 7 วันตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519มาตรา 13 ตรีประกอบระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตักเตือนการเปรียบเทียบปรับและการปิดชั่วคราวสถานประกอบการหรือการพักใช้ใบอนุญาต ประกอบการ พ.ศ.2545 ณ วันที่ 12 ธ.ค.45 ข้อ 18

10. ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างไร

    ถ้าพบแหล่งจำหน่าย พักยา มั่วสุม หรือเสพยาเสพติดหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดท่านมีส่วนช่วยเหลือสังคมในการป้องกันและปราบปรามได้โดยแจ้งให้หน่วยราชการทราบ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 634265เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2017 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2017 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท