การพัฒนาองค์กร


การพัฒนาองค์กร
  การพัฒนาองค์การ

ความจำเป็นในการพัฒนาองค์การ

การบริหารงานตามกระบวนการ มักมุ่งเน้นงานไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีและความต้องการของสมาชิกในหน่วยงาน การบริหารงานระบบนี้จึงไม่ค่อยยอมรับคุณค่าและวิธีการทำงานของคนในระบบนี้จึงพบช่วยสายงานการบังคับบัญชาการกำหนดแน่นอนตายตัวว่าจากใครถึงใครเป็นขั้นตอนสุดท้าย บิรามิค มีระเบียบ วิธีการแน่นอนการแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบแบ่งตามความชำนาญเฉพาะอย่าง การบรรจุเลื่อนตำแหน่งขึ้นอยู่กับความสามารถทางวิชาการ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นมีจำกัด แต่ละคนในหน่วยงานจึงใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของตนเองเพื่องานของตนมากกว่า เพื่องานส่วนรวมควรรับผิดชอบต่องานต่อตนเองมากกว่าคำนึงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น การประสานงานทำเฉพาะสายการบังคับเท่านั้น เช่น การควบคุม การกำกับดูแล ดำเนินไปตามความสัมพันธ์ของสายงานที่กำหนดในสมาชิกในองค์การเสมือนว่ามีความจงรักภักดีเคารพเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาตามลำดับมากกว่าผูกพันต่อกัน และมีค่านิยมต่อกันส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อแก้ ปัญหาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
Worren G Bennis ชี้ให้เห็นว่าคนมีการศึกษาสูง ระบบการสื่อสารเจริญก้าวหน้าเทคโนโลยีการผลิตและการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองบ่อย ประชาชนได้มีส่วนร่วมการเป็นประชาธิปไตยมากมาย ขนาคของค์การและความต้องการของผู้บริหารหรือสมาชิกในองค์การเพิ่มจำนวนมากขึ้นระบบการบริหารแบบเดิมเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานั้น ไม่สามารถให้ทุกหน่วยเติบโตขององค์การได้ เช่นมีขั้นตอนยุ่งยาก สลับซับซ้อนเสียเวลาจนไม่อาจให้บริการได้ทันท่วงทีและทั่วถึง ความสลับซับซ้อนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เช่นกัน จำเป็นต้องฝึกฝนให้มีความรู้ความสามารถในการประสารกิจกรรมภายในองค์การมากขึ้น ในแง่ของค่านิยมของคนเราจะพบว่าคนมีอิทธิพลต่อระบบการทำงานองค์การและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การบริหารงานของผู้บังคับบัญชามากมาย เช่น คนในปัจจุบันมีแนวความคิดใหม่ ๆ กับสภาพแวดล้อมเป็นการจูงใจทำให้มีความหมายคาดหวังว่าจะได้รับการตอบสนองทางจิตใจเพิ่มมากขึ้นแนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจซึ่งควรอยู่บนรากฐานของเหตุผล โดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจมากกว่า การกดขี่ ข่มเหง ทำให้เกิดความไม่กล้า และเกรงใจแนวความคิดเกี่ยวกับค่านิยมจะเปลี่ยนการมองคนเป็นเครื่องจักรและจำทำอย่างไรให้คนให้กลับมาทำงานร่วมกันได้

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานนั้นมีวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งลักษณะปัญหาตลอดจนแนวทางการวางยุทธศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตามเป้าหมายขององค์กรไม่เหมือนกันกับประสบการณ์และทักษะของผู้บริหาร การเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์การนั้นมุ่งเน้นในหัวข้อต่อไปนี้
  1. การสร้างระบบ หรือปรับระบบในสายการทำงานให้ยืดหยุ่นได้ตามลักษณะงาน
  2. การแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะการทำงานทุกอย่างย่อมมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ ฉะนั้นการแก้ปัญหาในหน่วยงานนั้นทางที่ดีที่สุดคือการให้สมาชิกในหน่วยงานร่วมกันหากแนวทางด้วยวิธีการสร้างบรรยากาศที่ เปิดเผยทั่วทั้งองค์การ
  3. การยอมรับในความรู้ความสามารถ ทักษะเฉพาะตัวของสมาชิกว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอำนาจตามตำแหน่งและบทบาทหน้าที่
  4. เพื่อความไว้วางใจ คือ ความให้ความไว้เนื้อเชื่อใจให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุนและกลุ่มบุคคลทัดเทียมอย่างเสมอภาค แม้ระดับจะต่างกันก็ตาม
  5. ขจัดความขัดแย้ง หรือการแข่งขันให้อยู่ในกรอบ เป้าหมายของงาน
  6. ระบบการให้รางวัลหรือความดีความชอบคือเน้นความก้าวหน้าของคน และประสิทธิภาพความก้าวหน้าของงานเป็นหลัก
  7. มุ่งเน้นสมาธืเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกว่าเป็นเจ้าขององค์การร่วมกัน มิใช่คนใดคนหนึ่ง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
  8. ความสอดคล้องในการบริหารคนกับบริหารเป้าหมายขององค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  9. การควบคุมตัวเองได้ คือ สมาชิกองค์การรู้ทิศทางกระบวนการพัฒนาตนเอง เพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพและการดำเนินงานมากขึ้น
  10. สมาชิกพร้อมที่เผชิญปัญหาสามารถแก้ปัญหา โดยทีมงามและการแก้ปัญหาเพื่อกลุ่มมากกว่าพยายมเลี่ยง ปัด บ่ายเบี่ยงฃ ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาในองค์การ
  11. ส่งเสริมระบบการติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ คือ แนวนอนและแนวตั้งอย่างเปิดเผยไม่ซ่อนเร้น
  12. การตอบปัญหา เน้นการตอบปัญหาแบบเสริมสร้างมากกว่าขัดแย้ง
  13. เพื่อพัฒนาบุคคลและพฤติกรรมของกลุ่มงาน ได้แก่ การสื่อสารและการประสานงานภาวะผู้นำการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับหน่วยงานในองค์การเทคนิคการประชุมที่เหมาะสม ฯลฯ เกี่ยวกับวิชาพฤติกรรมศาสตร์
  14. เพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยมีการวางแผนและปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด

หลักเบื้องต้นในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาองค์การนั้นมิได้หมายถึงองค์การที่มีปัญหาเท่านั้นที่ควรพัฒนา ส่วนองค์การใดที่ควมเจริญอยู่แล้ว ก็ควรพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่คิดว่าองค์การของตนพัฒนาดีแล้วหยุดนิ่ง ก็เท่ากับว่ากำลังเดินถอยหลักตลอดเวลา ฉะนั้นผู้บริหารที่สนใจพัฒนาองค์การของตนควรอาศัยหลักการดังนี้
  1. กาำกำหนดเป้าหมาย (Goal Seting ) ในองค์การควรชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับการเผชิญหน้าและอภิปรายร่วมกันของผู้บริหารและสมาชิกในองค์การอย่างตรงไปตรงมา
  2. ความเข้าใจในสถานการณ์ (Understand Relaations)โดยอาศัยความเข้าใจร่วมกันว่าความต้องการของบุคคลจะเป็นตัวอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการทำงาน
  3. การปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ (Improving Relations)สัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกันในองค์การจะเป็นผลพลอยได้อยู่ตลอดเวลาของการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี โอ ดี ( O D) คือ ทั้งปัญหาและความรู้สึกที่ดีต่อกันของคนในองค์การควรได้เปิดเผยซึ่งกันและกัน ทุกคนเริ่มพอใจจะทำงานรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าของการทำงานร่วมกัน
  4. การทำงานร่วมกันกับหน่วยงานในสถานการณ์ หมายถึง ให้กลุ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การให้ความสนับสนุนและความร่วมมือ ทั้งนี้ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของมนุษย์ขึ้นอยู่กับดุลภาพของงาน (Balance of force ) ภายในระบบนั้นเอง
  5. การเชื่อมโยง (Linking) แนวยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ คือ ความสามารถในการเชื่อโยงคนในหน่วยงานเข้าด้วยกันให้มากที่สุด
    จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์การที่อ่อนแอกับองค์การทีแข็งแรงหรือองค์การที่ที่มีสุขภาพดีนั้น สังเกตได้จากค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การ ซึ่งค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานของคนและบรรยากาศของการทำงานร่วมกันนี้ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยากสำหรับคนในองค์การนั้น แต่บุคคลภายนอกหรือที่เรียกว่า ที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ (AD) จะได้เห็นดีกว่าเพราะมีทัศนะเป็นกลาง กล้าเสนอปัญหาในส่วนที่องค์การไม่กล้าพูด สามารถสอดแทรกวิธีการ OD ได้ชัดเจนและเหมาะสมข้อสำคัญคือ คนในองค์การยอมรับบุคคลภายนอกมากกว่าที่ปรึกษา OD ภายในองค์การเอง เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยม และวัฒนธรรมในองค์การเป็นกิจกรรมที่ไม่เหมือนกิจกรรมฝึกอบรมและพัฒนาธรรมดา คือ จะต้องทำอย่างระมัดระวังรอบคอบตามขั้นตอนและพัฒนาการเปลียนแปลงในระบบองค์การทุกระบบไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งประกอบด้วยอนุระบบ 4 ระบบ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญดังนี้
    • งาน (Tasks)
    • โครงสร้าง (Structure)
    • คน (People).
    • วิธีการ (Technology)

    ปัจจัยส่งผลเมื่อมีการพัฒนาองค์การ

    การเปลี่ยนแปลงระบบใด ๆ ในองค์การ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบอื่นในองค์การเสมอมีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพของงานจะมุ่งตรงไปสู่ถนนที่ตัดผ่านการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการมักมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดในสิ่งต่อไปนี้
    • เกิดบทบาทและเป้าหมายใหม่ขึ้นในองค์การ
    • การประเมินค่าของคนในองค์การสูงขึ้น
    • การวินิจฉัยสถานการณ์จะได้มาจากการสังเกตจากคนหลายกลุ่ม
    • เกิดจาการแสวงหาการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    • เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
    • คนทุกคนในองค์การระบายความทุกข์ร้อนใจได้
    • เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้น
    • มีการประกาศเป้าหมายใหม่
    • เริ่มการวางแผนเป็นระยะ
    • สมาชิกเริ่มรู้ตัวเองว่า อะไรบ้างที่ตนไม่รู้
    • ตัดสินใจร่วมกันและสำนึกดีว่า ต้องทำงานร่วมกับคน ไม่ใช่ทำงานบนคน
    • พบเป้าหมายที่เป็นจริงแต่ละคนมีการเสี่ยงมากขึ้น
    • สามารถลบล้างระบบเก่า (Unfreezing) กลายเป็นขอบฟ้าใหม่
    • สมาชิกงานทุกงานเริ่มต้นภาพโลกใหม่ เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นเรื่องจาก : ขอบพระคุณ www.kunkroo.com ครับ

บุญรักษาครับ

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร
หมายเลขบันทึก: 63383เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท