โครงงานสิ่งเสพติด


ความหมายของยาเสพติด

 ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก็ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้

 1. ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ 

2. ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น

 3. มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)

 4. สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสพติด

โทษของยาเสพติด 
1. โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามัว น้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด เป็นต้น 
2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย 
3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา 
4. โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ 

วิธีการป้องกันอันตรายจากสารเสพติด 
1. การป้องกันตนเอง ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสมสิ่งเสพติด 
2. การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษของสิ่งเสพติด 
3. การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้ซึ่งสิ่งเสพติด จัดนิทรรศการและการรณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ไปศึกษาดูงาน ณ สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด 
4. การป้องกันในชุมชน ควรจัดสถานที่ออกกำลังกาย และจัดกลุ่มแม่บ้านให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติด ประเภทของสารเสพติด องค์การอนามัยโลก จึงได้มีการจำแนกสารเสพติดตามกลุ่มของสารเสพติดที่มีฤทธิ์และอนุพันธ์ที่คลายคลึงกัน ออกเป็น 9 ชนิด ได้แก่

3.1 ประเภทฝิ่น หรือมอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทินดีน เป็นต้น 
3.2 ประเภทบาร์บิทูเรตรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ในทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิทาล อะโมบาร์บิทาล พาราดีไฮด์ ไดอะซีแพม เมโปรบาเมต คลอไดอะซิป๊อกไซด์ เป็นต้น 
3.3 ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ เป็นต้น 
3.4 ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เด็กซ์แอมเฟตามีน เป็นต้น 
3.5 ประเภทโคเคน เช่น ใบโคคา เป็นต้น 
3.6 ประเภทกัญชา เช่น ยอดช่อดอกกัญชาตัวเมีย เป็นต้น 
3.7 ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม เป็นต้น 
3.8 ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลดี ดีเอ็มที ลำโพง สารระเหย เห็ดเมา 
3.9 ประเภทอื่น ๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน นำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่ เป็นต้น (พริ้มเพรา ผลเจริญสุข.2545)เนื่องจากไอซ์มีชื่อเรียกที่เป็นทางการคือ เมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ (crystalline methamphetamine hydro chloride) เป็นสารเสพติดสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน (Amphetamine) จึงจัดอยู่ในประเภททแอมเฟตามีนตามการ

จำแนกขององค์การอนามัยโลกสำหรับองค์การสหประชาชาติ 
ได้จำแนกสารเสพติดเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 
1) ประเภทยาเสพติดให้โทษ 
2) ประเภทวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และ 
3) ประเภทยาควบคุม

หลังการเสพเข้าไปแล้ว ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1) กลุ่มออกฤทธิ์กดประสาท (Depressants) ยาหรือสารเสพติดกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทสมอง ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (Secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ใช้ว่า "ปีศาจแดง" หรือ "เหล้าแห้ง" ไดอะซีแพม ทินเนอร์ กาว ฯลฯ 
2) กลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Stimulants) จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง กระตุ้นการเต้นของหัวใจ และอารมณ์ด้วย เช่น แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน อีเฟดรีน โคเคน ฯลฯ 
3) กลุ่มออกฤทธิ์หลอนประสาท (Hallucinogen) จะออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้มีการรับรู้ความรู้สึก (Perception)ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี (Lysergicacid dietyhlamide) แกสโซลีน (Gasoline)เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และ แฟนไซคลิดีน (Phencylidine) ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ฯลฯ 
4) กลุ่มออกฤทธิ์ที่ออกฤทธิ์ผสมผสาน คือเมื่อเสพเข้าไปแล้วจะออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม เมื่อใช้น้อยๆ จะกระตุ้นประสาท หากใช้มากขึ้นจะกดประสาท และถ้าใช้มากขึ้นอีกก็จะเกิดประสาทหลอนได้ เป็นต้น 
ดังนั้น เมทแอมเฟตามีน จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 กลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ตามการออกฤทธิ์ที่ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลาง 


คำสำคัญ (Tags): #สิ่งเสพติด
หมายเลขบันทึก: 633778เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2017 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท