ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

หลักการเทศนาพระคริสตธรรม...ตอนที่ 2 การจัดเตรียมคำเทศนา


หลักการเทศนาพระคริสตธรรม...ตอนที่ 2 การจัดเตรียมคำเทศนา

โดย....ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

                 การเตรียมคำเทศนามีความสำคัญมากต่อการเทศนา เพราะการเตรียมคำเทศนาจะทำให้เราเกิดความมั่นใจในตนเอง การเตรียมคำเทศนาจะทำให้เราสามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ วัน เวลา สถานที่ได้อย่างเหมาะสม การเตรียมคำเทศนาจะทำให้เราเทศนาได้อย่างไม่สับสนวุ่นวาย การเตรียมคำเทศนาจะทำให้เรามีเวลาที่จะศึกษาพระคัมภีร์เพิ่มเติมในส่วนของเนื้อหาที่เราจะใช้เทศนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การเตรียมคำเทศนาจะทำให้เราเกิดความคิดใหม่ๆเพิ่มเติมในการใช้ในการเทศนา

                สำหรับข้ออ้างหรือสาเหตุที่ทำให้เราไม่อยากเตรียมการเทศนาคือ เรามักจะหาข้ออ้างต่างๆ เช่น ไม่มีเวลามากพอ  ไม่มีอารมณ์ในการเตรียม  ประมาทคิดว่าพระวิญญาณจะนำพาให้เราเกิดความคิดและคำพูดในเวลาเทศนาเอง เป็นต้น

                การเตรียมคำเทศนา

1.จงอธิฐานถึงพระเจ้าให้ช่วยนำผู้ฟัง โดยเลือกพระธรรมที่เหมาะสมกับผู้ฟัง อีกทั้งต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟังในเรื่องของ เพศ วัย อาชีพ อายุ  

2.อ่านพระวจนะหรือพระคัมภีร์ในบทที่ได้รับจากพระเจ้า โดยอ่านดังๆ ซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งเพื่อทำให้เกิดความจำและช่วยให้เกิดความมั่นใจ อีกทั้งควรจินตนาการถึงพระวจนะที่จะใช้เทศนา

3.เขียนโครงสร้างของคำเทศนา โดยมีคำนำหรือคำขึ้นต้น   เนื้อหาหรือตอนกลาง  สรุปหรือตอนท้าย ส่วนมากแล้ว คำนำมักจะเป็นคำพูดที่สร้างความสนใจหรือสร้างความดึงดูดเพื่อให้ผู้ฟังสนใจ  เนื้อหาหรือตอนกลาง มักจะเป็นคำอธิบาย เป็นเรื่องความต้องการของผู้ฟัง สรุปมักจะเป็นเรื่องของการวางแผนการทำงานต่อไปและควรมีการสรุปโดยใช้ถ้อยคำที่ประทับใจ

4.ฝึกซ้อมการเทศนา โดยอาจจะฝึกซ้อมกับกระจก และต้องมีการฝึกพูดตามโครงร่างการเทศนาจริงๆ มีการใช้ท่าทางประกอบจริงๆ เสมือนว่าเรากำลังเทศนาจริงๆ เพื่อทำให้เกิดความชำนาญและความมั่นใจยิ่งขึ้น

5.การเตรียมโดยการเลือกหัวข้อที่จะเทศน์ ควรพิจารณาจากเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมดังนี้

5.1.พิจารณาจากข่าวสำคัญ เหตุการณ์ของโลก

5.2.พิจารณาวันสำคัญ เทศกาล ประเพณี เช่น วันคริสตมาส  วันอิสเตอร์  วันแม่ วันพ่อ วันเกิด เป็นต้น

5.3.พิจารณาจากการสัมภาษณ์หรือการพูดคุยกับกลุ่มคนหรือกลุ่มผู้ฟังที่เราจะไปเทศนาว่า เขามีปัญหาอะไรหรือมีความต้องการอะไร

5.4.พิจารณาถึงระยะเวลาในการเทศนา เช่น เราจะต้องเทศนา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เราจะแบ่งหัวข้ออย่างไร เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ เมื่อเทศนาไปอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหัวข้อเพื่อให้เกิดความเหมาะสม โดยอาจจะมีการเรียงลำดับหัวข้อใหม่เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในช่วงเวลานั้นๆหรืออาจจะตัวบางหัวข้อทิ้งไป

5.5.ปัจจัยอื่นๆที่ประกอบการเตรียมคำเทศนา เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอก่อนเทศนา  การทบทวน ฝึกซ้อมให้เกิดความมั่นใจ

                ดังนั้น การเตรียมคำเทศนา มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับนักเทศน์ทั้งเก่าและใหม่ โดยเฉพาะนักเทศน์หน้าใหม่หรือมือใหม่หัดขับ มีความจำเป็นจะต้องเตรียมการเทศนาให้มากๆ แต่ถ้าเรามีประสบการณ์การเทศนามากขึ้นหรือมีโครงร่างการเทศนามากๆ การเทศนาก็จะมีความง่ายขึ้น เพราะ นักเทศน์หลายท่านได้เตรียมโครงร่างการเทศนาไว้1โครงร่าง แล้วนำเอาไปเทศนาในโบสถ์ต่างๆหลายๆแห่งจนเกิดความชำนาญและเกิดความมั่นใจในโครงร่างเทศนานั้นๆ 

หมายเลขบันทึก: 633244เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2017 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2017 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท