(คุยกับตนเอง ตอนที่ 20) ออกแบบการเรียนรู้ KM UC to LO


จดหมายถึงผู้บริหาร สปสช.เขต4 เพื่อนำไปสู่การสื่อสารในการขับเคลื่อน LO โดยการนำเครื่องมือ KM มาใช้ และเครื่องมืออื่น อาทิเช่น R2R , การพัฒนานวัตกรรม หรือ CQI  หรือ  อาจนอกเหนือจากนี้  พิจารณาว่าเนื้อความในจดหมายที่ส่งถึงผู้บริหาร ไม่มีประเด็นอะไรที่เป็นความลับหากแต่เหมาะต่อการเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน จึงนำมาเผยแพร่ด้วย

เรียน ท่าน ผอ.และท่านรอง ผอ.

เบื้องต้นเพื่อให้กระบวนการการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม
ดำเนินไปสู่เป้าหมายและเกิดการพัฒนาอย่างสูงสุดต่อคนในองค์กร สปสช เขต4
ในฐานะวิทยากรกระบวนการได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้คร่าวๆ ซึ่งเมื่ออยู่ในสถานการณ์จริง
อาจจะปรับไปตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เข้าร่วมประชุม

ภาพความคิดการออกแบบส่งมาสองภาพนะคะ เป็นภาพรวมกระบวนการทั้งหมดที่เสนอให้ท่าน ผอ.
และสองสามท่านผ่านไลน์กลุ่มที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจค่ะ ส่วนภาพที่สองเป็นภาพโฟกัสมาที่กระบวนการของวันที่ 15 สิงหาคมค่ะ วางเป้าหมายหลวมไว้เพื่อนำไปสู่การเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration ) และการสะท้อนคิด (Critical Reflection)

ในสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างในปัจจุบัน มีความเชื่อส่วนตัวว่า 
การแสดงออกถึงพลังของบุคลากรใน สปสช เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องให้สังคมได้มองเห็นว่า
คนใน สปสช ทำอะไร ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความหมาย และเครื่องมือที่ดีที่สะท้อนออกมาได้ในยุคปัจจุบัน
จะเป็น R2R, Innovation หรือ Knowledge Asset ที่พลังของคน สปสช น่าจะทำได้มากกว่าการที่สังคมรับรู้อยู่ในปัจจุบัน

เป็นโอกาสที่ดีมากๆ ที่ทาง สปสช. เขต 4 เปิดพื้นที่การเรียนรู้นี้ก่อนที่อื่น
เป็นความท้าทายและน่าสนใจมาก และความตั้งใจที่ท่านรอง ผอ.เคยเชิญชวนมาหลายครั้งมากๆ
เป็นห้วงเวลาที่เหมาะสมและได้โอกาสที่จะได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสร้างปรากฏการณ์ในความหมายใหม่ของการพัฒนาคน พัฒนางาน
ของ สปสช.

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมยินดีมากๆ เลยนะคะ


KMUC to LO
จากภาพสายธารแห่งการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
▪️Knowledge Vision
▪️Knowledge Sharing
▪️Knowledge Asset

Knowledge vision : น่าจะประมาณสองครั้งหรือสองวัน ซึ่งครั้งแรกกำหนดวันที่ 15 สิงหาคม ให้ได้มาซึ่งเป้าหมายของการเรียนรู้ว่าตลอดกระบวนการทั้งหมดในฐานของ KM to LO น่าจะเกิดอะไรขึ้น (เกิดคลังความรู้ ; knowledge Asset) และเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ของกระบวนการวันที่ 15 สิงหาคม คือ ต้องการให้เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ในการทำงานและเกิดความรู้สึกอยากสร้างสรรค์พัฒนางาน พร้อมกันนั้นทำการสะท้อนคิด (Reflection) จากการทำงานใน 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การเปิดประเด็นของการวางแผนการพัฒนางานของตนเองต่อไป

Knowledge sharing ออกแบบกระบวนการได้เลยค่ะว่า จะกี่ครั้ง ในภาพเขียนคร่าวๆ 1-3 ครั้ง(ไม่จำเป็นต้องตามนี้) เป็นกระบวนการที่น่าจะต้องประกอบไปด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทางองค์กรจะทำเองก็ได้ ควรจะมีทั้ง Share&Learning ร่วมกับการทำ Reflection เป็นระยะ เพื่อให้การพัฒนาที่ออกแบบสามารถเคลื่อนไปได้และสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

Knowledge Asset อย่างน้อยต้องมีความรู้ใหม่เกิดขึ้นจากการทำงาน routine ซึ่งอาจจะเป็น R2R , Innovation หรือ CQI หรืออาจแตกต่างจากนี้ และที่สำคัญต้องถอดปรากฏการณ์การเกิด Transformation จากคนทำงานด้วย 

ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของวันที่ 15 สิงหาคม
(1) เริ่มต้นด้วยการทำ BAR (Before Action Review) การใคร่ครวญถึงความคาดหวังและเป้าหมายในการเรียนรู้และอยากพัฒนาตนเอง พัฒนางาน

(2) การสร้าง Inspiration และการทำ Reflection โดยเรียนรู้จาก VTR เพื่อเตรียมความพร้อมทางกระบวนการปัญญา หัวใจสำคัญของการฝึกทำ Reflection คือ การได้กระตุ้นด้วยคำถามเพื่อการสะท้อนคิดระดับความลึกซึ้งแตกต่างกันไปตามความพร้อมของผู้เข้าร่วมประชุม

(3) Share & Learning เพื่อนำไปสู่การทำ Reflection ในงานประจำของตนเอง ซึ่งเป็นการร่วมกันทำคละหน่วยงานเพื่อให้เกิดการมองในภาพที่กว้างและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 2 ประเด็นคร่าวๆ คือ
▪️Success Story : ใน 1 ปี งานที่ทำ อะไรคือผลงานที่รู้สึกภาคภูมิใจและมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ทำงานนี้ได้สำเร็จจนเกิดเป็นความภาคภูมิใจ
▪️คุณค่าที่เกิดขึ้นในงานคืออะไร ซึ่งเป็นคุณค่าที่ส่งต่อตนเอง องค์กร และระบบ UC


คำสำคัญ (Tags): #KMUC#km#lo#r2r#NHSO4#สปสช.4
หมายเลขบันทึก: 632741เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2017 04:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2017 04:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท