นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา


นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆขึ้นมาใหม่ การเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ องค์กร หรือการพัฒนาต่อยอด แยกความแตกต่างชัดเจน นวัตกรรม คือ ความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที  คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อค้นหา ส่งผ่าน ดำเนินการ จัดเก็บข้อมูล และเป็นการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป้นระบบและรวดเร็ว

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา

การจัดการศึกษาในอดีตมีการจัดการศึกษาที่เน้นการให้ความสำคัญกับผู้สอน ซึ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีการใช้หนังสือเป็นสื่อการสอนเพียงอย่างเดียว จึงเห็นได้ว่าการเรียนในรูปแบบเดิมต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย

การจัดการศึกษาในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การศึกษาต้องปรับรูปแบบ เปลี่ยนมาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการกระตุ้นความรู้สกของผู้เรียนให้สนใจ โดยใช้สื่อการสอนหลายๆรูปแบบ ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะหลายๆด้านรวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และมีการส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาความรู้ รู้จักคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ ตลอดจนการศึกษาสภาพจริงตามบริบทโลก

การจัดการศึกษาในอดีตนำมาสู่การปรับการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งการจัดการศึกษาทั้ง 2 ยุค จะเป็นตัวกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาในอนาคต เพราะการมองถึงอนาคตที่ชัดเจนต้องคำนึงถึงอดีตและปัจจุบัน

สินีนาถ ชาตะกาญจน์ (2551) ที่มองว่าแนวโน้มการศึกษาในอนาคตจะเป็นไปใน 5 ลักษณะ

1) เป็นการศึกษาระบบเปิดมากขึ้นและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต

2) เน้นการศึกษาเป็นรายบุคคล

3) เน้นเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

4) เน้นคุณธรรมและจริยธรรม

5) ส่งเสริมนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ

จากแนวโน้มของการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการใช้เทคโนโลยีจะเป็นตัวผลักดันให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของการศึกษาจากในอดีตที่ไม่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรูปแบบการจัดการศึกษาจึง เป็นครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ในขณะที่เมื่อก้าวสู่ยุคปัจจุบันรูปแบบการศึกษาก็เปลี่ยนไปผู้สอนจะมีบทบาท น้อยลงเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น จึงนำมาสู่การศึกษาในอนาคตซึ่งจะเป็นลักษณะของการศึกษาแบบ ใหม่ "นั่นคือครูคนสำคัญแทนที่จะเป็นตัวบุคคลก็อาจถูกปรับเปลี่ยนเป็นครู Google ครู Wikipedia และ ครู Youtube ก็อาจเป็นไปได้" (ยืน ภู่วรวรรณ, 2551) นอกจากนี้แนวโน้มหรือรูปแบบการศึกษาแบบ ใหม่จะเป็นลักษณะ e-Education ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในการทำ Distributed Learning Processing เพื่อการศึกษาแบบอัตโนมัติมากขึ้น ทั้งนี้รูปแบบการศึกษาใหม่ในอนาคตจะผูกพันกับดิจิตอลมากขึ้น ความสำเร็จของการศึกษาขึ้นกับการประยุกต์ใช้ในงานดิจิตอล

ครูสามารถพัฒนาบทเรียน เพื่อช่วยในการจัดการเรียนการ สอนซึ่งรูปแบบการเรียนในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบเครือข่าย เทคโนโลยีไอซีที ที่นำมาประยุกต์ใช้ประกอบด้วย E-learning ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิมมาเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ดาวเทียม Computer- -based training และระบบไร้สาย

การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนหรือ ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ส่วนกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web board) เป็นกระดานในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โฮมเพจเป็นบทเรียนที่ศึกษาด้วยตนเอง และ Chat เป็นห้องสนทนาเพื่อ เสริมการเรียนรู้ ส่วนการรับส่งการบ้านและรายงานผู้เรียนผู้เรียนสามารถทำเป็นโฮมเพจของตนเองและ ส่ง URL ให้ผู้สอนซึ่งผู้สอนสามารถโต้ตอบได้ทันทีทันใด (ไพพรรณ เกียรติโชติชัย, 2545) ระบบ ต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการสื่อสาร การถ่ายทอดการสอน เนื้อหาการสอน จึงทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนทำได้อย่างรวดเร็วนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ของการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจากทางเดียว เป็นการสื่อสารแบบสองทาง และช่วยให้ผู้สอน สามารถติดตามผลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้

ปัญหาและอุปสรรค

1) ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ (Digital Divide) คือ ปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านไอซีที ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้บุคคลกลุ่มหนึ่งไม่สามารถปรับ ตัวได้ทัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากตัวบุคคลเอง หรือสภาพแวดล้อม เช่น การไม่มีคอมพิวเตอร์ ใช้ หรือการไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ เป็นต้น และผู้เรียนเนื่องจากมีจำนวนมาก และมาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน ผู้เรียนที่ไม่สามารถปรับตัวได้จะเกิดความล้มเหลว เช่นเดียวกัน

2) ผู้เรียนจะต้องสามารถเข้าถึงเนื้อหาวิชาได้จากทุกที่และทุกเวลา การที่จะทำได้แบบนั้น จำเป็น จะต้องมีคอมพิวเตอร์ติดตามตัวและอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ได้ทุกที่และทุกเวลาอย่างแท้จริง แต่ในทาง ปฏิบัติปัจจุบันจะเห็นว่ามีเฉพาะบุคคลเพียงกลุ่มน้อยเท่านั้นที่สามารถทำได้ และส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่ม ที่ทำงานแล้ว ส่วนนักเรียนนักศึกษาต่างจังหวัด ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี อยู่ค่อนข้างมาก

สรุป

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราต้องเปลี่ยนจากการเรียนรู้แบบทางเดียว คือ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง พัฒนาตนเองเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เพื่อส่งผลให้การศึกษาพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 


อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/…
https://th.wikipedia.org/wiki/…
http://flukeloveskb.blogspot.c…
https://journal.oas.psu.ac.th/...

หมายเลขบันทึก: 631393เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2017 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2017 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท