โครงการฝึกอบรมผู้บริหารและฝ่ายจัดการสหกรณ์ หลักสูตร เทคนิคการเจรจาต่อรองและติดตามหนี้ค้างชำระ( 4 )


หลักการบริหารสินเชื่อ

โดย นายศรัทธา อินพรหม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักพิธีการสินเชื่อและหลักประกัน,ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

31 พฤษภาคม 2560

09.00 น. - 11.00 น.

แนวทางการอบรม

หลักการบริหารสินเชื่อ

การประเมินราคาหลักทรัพย์

หลักการบริหารสินเชื่อ ประกอบไปด้วย

  1. บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ
  2. แนวคิดการให้สินเชื่อ
  3. องค์ประกอบการให้สินเชื่อ
  4. ขั้นตอนการอำนวยสินเชื่อ
  5. การบริหารพอร์ตสินเชื่อ

บทบาทของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ

  • แสวงหาและติดต่อสัมพันธ์กับผู้ขอกู้ ต้องทำการสำรวจผู้ที่จะกู้เช่น บ้านที่อยู่อาศัย สินทรัพย์ต่างๆ การมีวินัย ทัศนคติเกี่ยวกับสหกรณ์ ฯลฯ ให้มองทุกด้าน โดยให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อถือเป็นข้อสำคัญหรือที่เรียกว่า “กฎเหล็ก”
  • รวบรวมข้อมูลคำขอกู้เงิน ให้ความสำคัญกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาโดยเคร่งครัด
  • ตรวจสอบวิเคราะห์ เสนอเงื่อนไขขออนุมัติ โดยการวิเคราะห์งบการเงิน กระแสเงินสด (Cash flow) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงการให้ความสำคัญต่อต้นทุน ค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อสหกรณ์โดยภาพรวม
  • ติดตาม เร่งรัดและเป็นที่ปรึกษาลูกหนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องทำการติดตามหนี้ พร้อมกับที่จะต้องทำการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการ และแนวทางการชำระหนี้สมาชิกลูกหนี้

บริการพอร์ตสินเชื่อของสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะต้องเป็นผู้จัดทำพอร์ตของสินเชื่อเช่นการแบ่งอายุหนี้ กลุ่มเป้าหมาย หรือประเภทลูกหนี้ต่าง ๆ เพื่อบริหารจัดการหนี้ ทั้งยังจัดทำเพื่อเสนอเป็นแผนในการบริหารจัดการหนี้ค้างชำระต่อคณะกรรมการ ผู้บริหารได้กำหนดเป็นแนวทางและนโยบายต่อไป

ทั้งนี้ กระบวนการอำนวยสินเชื่อนั้นจะต้องมีระบบ Check & Balance *4 เพื่อเป็นการถ่วงดุลและตรวจสอบกระบวนการให้สินเชื่อให้มีความถูกต้องตลอดกระบวนการเสมอ เช่น

  • สินเชื่อต้องส่งเอกสารกู้ให้ทางการเงินเพื่อจ่ายเงินกู้และตรวจสอบ
  • คณะกรรมการต้องมีการออกตรวจหรือทบทวนหลักประกันโดยเฉพาะที่ดินที่มีการจำนองเป็นประกันกับสหกรณ์ โดยกระบวนการตรวจสอบจะต้องมีเจ้าของที่ดินข้างเคียง ผู้นำในชุมชน ส.อบต. ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันเซ็นรับรองหรือเซ็นพยานเสมอ
    • ธรรมาภิบาล Good Governance ในการให้สินเชื่อ
      • การขัดแย้งในผลประโยชน์ (Conflict of interest)
      • การขาดความอิสระ (Independence)
      • ความรับผิดชอบ (Responsibility)
      • ความระมัดระวังรอบครอบ (Professional Due Care)
      • ความเปิดเผยโปร่งใส (Transparency)
    • กฎบัตรของพนักงานสินเชื่อ (Code of conduct) คือคุณสมบัติเจ้าหน้าที่สินเชื่อ ระดับความรู้ ความสามารถ ความเชียวชาญเฉพาะ และกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อจำเป็นต้องมี (หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งลักษณะคล้ายใบประกอบวิชาชีพนั่นเอง)
  • การอนุมัติเงินกู้มากกว่าที่กำหนดต้องให้เฉพาะกรรมการเท่านั้นที่อนุมัติได้ เช่นกำหนดเป็นวงเงิน เกินล้านบาท จะอนุมัติได้เฉพาะกรรมการ หากน้อยกว่าก็ให้กรรมการหรือผู้จัดการอนุมัติก็ได้เป็นต้น
  • นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่สินเชื่อจะต้องมีวัฒนธรรมการให้สินเชื่อที่ดี (Credit Culture) และคุณภาพของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ คือ (ศรัทธา อินพรหม,2560)

แนวคิดการให้สินเชื่อ

มาตรฐานการให้สินเชื่อที่ดี (ธนาคารแห่งประเทศไทย,ศรัทธา อินพรหม,2560)

  • นโยบายการให้สินเชื่อ
  • โครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม
  • มีมาตรฐานการวิเคราะห์สินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
  • เครื่องมือในการพิจารณา วิเคราะห์ ที่เหมาะสม
  • กระบวนการควบคุมติดตามการให้สินเชื่อที่ดี
  • วัฒนธรรมการให้สินเชื่อที่ดี

องค์ประกอบการให้สินเชื่อ

  • ตัวผู้กู้
  • โครงการที่ขอกู้
  • หลักประกัน
  • นโยบายสินเชื่อ
  • ความตั้งใจในการชำระหนี้ของผู้กู้
  • และ ความสามารถในการชำระหนี้

การประเมินราคาหลักทรัพย์

หลักประกันถือเป็นเรื่องสำคัญในการให้สินเชื่อเพราะช่วยลดความเสี่ยง เมื่อมีเหตุผิดปกติ และถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่คุ้มค่า มีความมั่นคง ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. จำนอง
  2. เงินฝาก
  3. บุคคลค้ำ และรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
  4. พันธบัตร
  5. จำนำ
    1. จำนำสิทธิ์ในพันธบัตรรัฐบาล
    2. จำนำผลผลิตทางการเกษตร

6.หลักประกันทางธุรกิจ

หลักเกณฑ์การประเมินราคา จะใช้จากราคามูลค่าของหลักทรัพย์ ในราคาต้นทุน ณ ปัจจุบัน ราคาตลาด หรือราคาในการสร้างรายได้ (หรือ ณ เวลาที่ต้องการคำนวณราคา) เช่นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การเสื่อมสลายหรือการมีค่าคงอยู่ต่างกัน ก็จะประเมินราคาที่แตกต่างกัน โดยจะใช้มาตรฐานการประเมินโดยหลักของสมาคมวิศวกรรมฯ เป็นหลัก ส่วนราคาตลาดก็จะประเมินตามราคาขายหรือราคาที่เปรียบเทียบในตอนนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของเศรษฐกิจด้วยเช่นเดียวกัน

ข้อมูลประกอบการประเมินราคา

  • ราคาประเมินที่ดินของทางราชการตามบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์
  • รายละเอียดเกี่ยวกับการเวนคืน หรือภาระติดพันในที่ดิน และ/หรือ สิ่งปลูกสร้างในที่ดิน
  • ราคาซื้อขายที่ดิน และ/ หรือ สิ่งปลูกสร้างใกล้เคียง และราคาซื้อขายตามราคาตลาด
  • ราคาประเมินค่าก่อสร้างอาคาร ซึ่งกำหนดโดยสมาคมผู้ประเมินทรัพย์สินแห่งประเทศไทยตามบัญชี “ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างต่อตารางเมตร”
  • ข้อมูลประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นสภาพความเจริญ ทำเลที่ตั้งสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ

---------------------------------------------------

*4 หลักการของการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจ (Check and Balance)

หมายเลขบันทึก: 630082เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2017 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2017 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท