​(164) เรียนรู้เรื่องการทำ Policy Brief ร่วมกับเขต 4


(164)

วันอังคารที่ 13 มิถุนายน

ภารกิจและกิจกรรมที่ทำในวันนี้;

เช้าวันนี้อยู่ที่จังหวัดนครนายก ที่พักและจัดประชุมอยู่ที่รีสอร์ทห่างออกจากจังหวัดไม่ไกล แต่ไกลจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ วิทยาเขตองครักษ์ เราเพิ่งทราบว่ามีแขกพักเพียงแค่สองคน อากาศยามเช้าสงบ หลังทานข้าวเสร็จหลายๆ คนเริ่มทยอยมาที่ห้องประชุม

สิ่งแวดล้อมที่นี่ดูผ่อนคลาย วันนี้เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำ Policy Brief ของเขต 4 อ.หมอสุธีร์และคุณแจ็ค สปสช. ดูแลโครงการนี้

ดูจากสถานการณ์แล้วการเติมเต็มโดยใช้ KM ร่วมกับ Reflection น่าจะเวิร์คงานจะสามารถออกได้ การประชุมดำเนินไปแบบได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นระยะ

ช่วงเย็นพี่แอ๊ปมาสมทบและพี่กุ้งพานั่งรถเที่ยวและหาน้ำเย็นๆ ดื่ม ผู้จัดมีอาหารเลี้ยงตอนเย็นส่วนตัวเองนั่งทำงานอยู่ที่บ้านพัก

ข้อปฏิบัติในชีวิต;

- สวดมนต์ทำวัตรเช้า

- เตรียมอาหารถวายพระ

- นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกลม

- เขียนถอดบทเรียนใคร่ครวญในตนเอง

- ศึกษาธรรมะจากการฟังเทศน์

- ทำวัตรเย็น

ไม่ได้ทำเป็นกิจลักษณะ เพราะถูกกระทบด้วยวิถีการทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้และคุณค่าที่เกิดขึ้นในชีวิต;

การภาวนาผ่านการทำงานแม้จะได้มาซึ่งสติ แต่ก็จำเป็นต้องมีเวลาสำหรับการพักภาวนาด้วย

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขต4 นำมาสู่การทำ Policy Brief แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 Issue

1. Stroke LTC

2. Urban and Health data

3. CKD and DM

4. Aging

5. Specific Issue

กระบวนการเรียนรู้เริ่มจากท่านผู้อำนวยการ สปสช.เขต 4 นพ.ชลอ ศานติวรางคณา กล่าวเปิดและให้แนวคิดในการนำไปสู่การจัดทำ Policy Brief จากนั้น อ.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล เริ่มนำเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับ ผศ.ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการทำงานเชื่อมกันระหว่าง ผู้ปฏิบัติและภาคการศึกษานำองค์ความรู้ที่ได้จากทั้งการปฏิบัติและมุมมองของนักวิชาการมาบูรณาการเชื่อมโยง เกิดเป็นองค์ความรู้และสะท้อนมุมมองไปถึงข้อเสนอแนะเชิงบริหาร เป็นความรู้ที่จับต้องได้นำไปสู่ข้อเสนอแนะผลักดันในเชิงนโยบาย

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในครั้งนี้จากมุมมองคนทำงานที่มองว่า Policy เป็นเรื่องที่ถูกกำหนดจากผู้บริหารมาสู่ผู้ปฏิบัติ (Top Down) แต่การเข้าร่วมในครั้งนี้ทำให้ได้มองเห็นวิธีการทำ Policy Brief ที่มีฐานข้อมูลมาจากการจัดการความรู้ (KM) หรือจากผลการทำวิจัย (R2R) แล้วนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายได้

เป็นอีกหนึ่งเวทีที่เกิด Inspiration อย่างมาก

บทธรรมที่ได้ศึกษา;

“...ฉะนั้นการทำบุญให้ทานจึงเป็นกิจสำคัญมากเหนือสิ่งอื่นใด สำหรับผู้หวังพึ่งตัวเองทั้งปัจจุบันและอนาคตที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เพราะสัตว์ที่มีกรรมทั่วไตรโลกธาตุต้องเป็นผู้รับผิดชอบตัวเองด้วยกัน ไม่มีใครจะคอยรับผิดชอบใคร ทั้งการเกิดในกำเนิดดีชั่วต่าง ๆ ตลอดการเสวยคือสุขหรือทุกข์หนักเบามากน้อย ต้องเป็นผู้เสวยกรรมของตัวทำไว้ทั้งสิ้น ไม่มีใครทำไว้เพื่อใคร ต่างทำไว้เพื่อตัว แม้ไม่มีเจตนาว่าทำไว้เพื่อตัวเองก็ตาม แต่ความจริงก็เป็นกฎตายตัวมาดั้งเดิมอย่างนั้น...”

พระครูวินัยธร (มั่น ภูริทตฺโต)

วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

(พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)

จากหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

13-06-2560



คำสำคัญ (Tags): #mind#spiritual#self reflection
หมายเลขบันทึก: 629940เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2017 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2017 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท