ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ครั้งที่10 )


วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากเป็นการลงพื้นที่ครบจำนวน 10 ครั้งตามที่ได้กำหนดไว้ ผู้วิจัยได้ช่วยกันทำความสะอาดห้องประชุม และจัดห้องประชุม ไว้ให้สำหรับทางคณะเกษตรที่จะเข้ามาประชุมกัน นอกจากนี้ทางผู้วิจัยได้ซื้อสก๊อตเพียวเร่ จำนวน 1 กระเช้า เพื่อเป็นการขอบคุณ ป้าสุนีย์ นิโกรธา และครอบครัว ที่ได้เป็นผู้ให้ความรู้และให้การต้อนรับพวกเราได้เข้าไปทำข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ ทำให้ผู้วิจัยได้ความรู้ใหม่ๆ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในสิ่งที่ไม่เคยได้ปฏิบัติค่ะ

ผู้วิจัยกำลังกวาดพื้นห้องประชุม : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

ผู้วิจัยได้มีการแบ่งหน้าที่กันทำความสะอาดห้องประชุม โดยแบ่งกันกวาดพื้น ถูพื้น กวาดหยากไหย้ 2 คน ทำความสะอาดเก้าอี้ 4 คน และหลังจากที่ผู้วิจัยได้ช่วยกันกวาดพื้นเสร็จแล้ว ก็ได้ช่วยกันถูพื้นทั้งหมดภายในห้อง


ผู้วิจัยกำลังถูพื้นห้องประชุม : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

ผู้วิจัยกำลังบิดผ้าไม้ถูพื้น : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ

ผู้วิจัยช่วยกันถูพื้นห้องประชุม : ภาพโดย ปราโมทย์ บัวน้อย

ผู้วิจัยจัดซ้อนเก้าอี้ที่ทำความสะอาดแล้ว : ภาพโดย ฐาปนีย์ สุวรรณเจริญ

ผู้วิจัยช่วยกันทำความสะอาดเก้าอี้ : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ

ในวันที่ผู้วิจัยไปลงพื้นที่ครั้งสุดท้าย ก็มีกลุ่มที่ทำเกษตรในระแวกใกล้เคียงมาช่วยการทำต้นหอมที่บ้านของป้าสุนีย์ เพื่อส่งออกต่างประเทศ ทุกคนที่นี่เป็นกันเองมากค่ะ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี


กลุ่มเกษตรช่วยกันทำหอมเพื่อส่งออกต่างประเทศ : ภาพโดย ภาสกร วิเวกวรรณ

นับว่าเป็นความโชคดีค่ะที่เดือนนี้เป็นช่วงที่ดอกทานตะวันกำลังออกดอกสวยงาม ทางคณะผู้วิจัยก็ได้เดินไปชมไร่ดอกทานตะวันและได้ทำการถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกกัน และไร่แห่งนี้มีชื่อว่า "ไร่ในฝัน" ซึ่งเจ้าของไร่คือลูกสาวของป้าสุนีย์ ชื่อพี่ปุ้มค่ะ (ฟาร์มคุณปุ้ม)


ทุ่งทานตะวัน : ภาพโดย ฐาปนีย์ สุวรรณเจริญ

ผู้วิจัยถ่ายรูปกับทุ่งทานตะวัน : ภาพโดย รภัทภร อดิเรกลาภ


หลังจากที่ผู้วิจัยได้ทำความสะอาดห้องประชุมและเก็บอุปกรณ์ต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้เชิญป้าสุนีย์ มาถ่ายรูปและมอบกระเช้าให้เพื่อเป็นการขอบคุณ


ผู้วิจัยได้ทำการมอบกระเช้าเพื่อเป็นการขอบคุณ : ภาพโดย หลานชายป้าสุนีย์

สุดท้ายนี้ทางคณะผู้วิจัยต้องขอขอบคุณ ป้าสุนีย์ นิโกรธา และครอบครัวเป็นอย่างสูง ที่ได้เปิดโอกาสให้พวกเราได้เข้าไปศึกษาข้อมูลในการทำวิจัย และได้เข้าไปเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของเรา ทำให้ผู้วิจัยได้รับความรู้ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการทำเกษตรอินทรีย์ ด้านการเลี้ยงสัตว์อินทรีย์ และอื่นๆอีกมากมาย ได้รับรู้ถึงความสุขที่แท้จริง ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ และที่สำคัญคือ การได้ฝึกความอดทน ความสามัคคีกันของกลุ่มในการทำงานร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 628519เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท