ร่างกายใต้บงการ


ผมหยิบหนังสือเล่มบาง ๆที่เขียนโดย มิเชล ฟูโกต์ แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย ทองกร โภคธรรม บรรณาธิการโดย อ.นพพร ผู้ล่วงหลับ เรื่อง ร่างกายใต้บงการปฐมบทแห่งอำนาจสมัยใหม่ ซึ่งเป็นหนังสือที่ผมซื้อมากว่า 10 ปีแล้ว พูดตามจริงผมอ่านหนังสือเล่มนี้แบบผิวเผินเมื่อ10 ปีก่อน พอจะต้องเข้าอบรมพนักงานใหม่ ผมรู้สึกว่าควรมีอะไรเข้าห้องประชุมไปแก้เครียด แก้เซ็ง สำหรับคนไม่มีสมาร์ทโฟนใช้อย่างผม ผมเริ่มอ่านตั้งแต่อยู่บนรถไฟฟ้า จนถึงในห้องประชุมก่อนที่จะถูกขัดจังหวะด้วยการที่เพื่อนเข้าร่วมอบรมมาชวนคุย และทยอยอ่านเรื่อยมา จนจบเมื่อเย็นวาน บนรถไฟฟ้าสายสีม่วง

ร่างกายมนุษย์ ถุกควบคุมด้วยอำนาจ เป็นอำนาจที่แยบคาย ผ่านระเบียบวินัย และความเป็นสาขาวิชา กล่าวโดยย่อ เอาแบบที่ผมเข้าใจก็คือ การมีวินัยเป็นเรื่องเดียวกันกับการทำให้เป็นสาขาวิชาเพราะการที่คนเราจะเชี่ยวชาญในสาขาวิชาใด ๆ ย่อมต้องอาศัยการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของสาขาวิชานั้น ๆอย่างเคร่งครัด ระเบียบวินัยทำการจัดแยกปัจเจกบุคคลออกเป็นส่วน ๆ มีการปิดล้อมพื้นที่เพื่อทำให้พื้นที่นั้นเป้นพื้นที่แห่งการมีระเบียบและฝึกระเบียบวินัย รั้วหรือกำแพงจึงสำคัญมากสำหรับ เรือนจำ โรงเรียน ค่ายทหาร โรงพยาบาลสถานกักกัน และภายในพื้นที่ซึ่งถูกปิดล้อมนั้นยังมีการตีตารางเพื่อกำหนดให้ปัจเจกบุคคลอยู่เป็นที่เป้นทางตามช่องว่างในตารางของตนซึ่งถูกกำหนดขึ้น นักเรียนจึงมีโต๊ะ ที่นั่งเรียนแยกเป็นเวลลืๆ ทั้งนี้ก็ง่ายต่อการควบคุมและวัดผลงานหรือประสิทธิภาพต่างๆ เพราะเราจะรุ้ทันทีเมื่อช่องใดช่องหนึ่งหายไป การัดพื้นที่ตามหน้าที่ใช้สอย เป็นอีกเทคนิคของวินัยที่ต้องการควบคุมการเคลื่อนไหว เมื่อสถานที่ต่างๆ ถูกกำหนดหน้าที่ ก็จะมีแต่เจ้าหน้าที่ หรือผู้มีหน้าที่อยู่ในบริเวณนั้นเป็นการจัดการกับความสับสนอลหม่านที่อาจเกิดขึ้นทำให้การวัดการประเมินผลทำได้อย่างง่ายดายขึ้น แต่ทว่าแม้พื้นที่จะถุกตีตารางกำหนดไว้แน่ชัดแต่การเคลื่อนไหวไหลเวียนในพื้นที่ที่ถูกปิดล้อม นั้นก็เป็นไเกือบเหมือนเป็นธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับการควบคุมกิจกรรมที่ถุกกำหนดขึ้นตามตารางเวลาในการกำหนดกิจกรรมเช่นตารางการทำงาน ตารางเรียน ตารางสอนเป้นต้น นอกจากนี้วินัยยังเข้าไปควบคุมอากัปกิริยาที่สัมพันธ์กับเวลาอย่างเข้มงวด เช่นการเดินตามจังหวะก้าวของกองทหาร ท่วงท่าในการเขียนหนังสือหรือการนั่งเรียนใน่าทางที่เหมาะสม นำไปสู่ความเหมาะสมที่สุดของอากัปกิริยา การสอนให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ับร่างกายต่อวัตถุได้อย่างเรียบร้อยสอดประสาน พวกเราคงเคยถุกสอนให้จับหลอดทดลอง บีีกเกอร์ ปากกา วางเวียนและใช้ไม้โปรแตกเตอร์ ย่างเข้มงวดและคล่องแคล่วในระบบของระเบียบวินัย เวลาทุกนาทีมีค่า มนุายืจึงมีหน้าที่บีบคั้นเอาความสามารถของตนออกมาเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตารางเวลาจะไม่ปล่อยให้เรามีเวลาว่างการบีบคั้นและฝึกปรือซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะเปลี่ยนร่างกายมนุษญ์จากที่ต้องปฏิบัติตามวินัยเหมือนเครื่องจักรปฏิบัติตามคำสั่งแต่เมื่อฝึกปรือจนชำนาญ ร่างกายก็จะปกิบัติได้เหมือนเป็นธรรมชาติยิ่งปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติเท่าใด ก้ยิ่งแสดงให้เห้นว่าอำนาจได้เข้าไปเชิดชักร่างกายของบุคคลได้มากเท่านั้น

การมีระเบียบวินัยเป็นเป้าหมายของสังคมสมัยใหม่ที่เน้นการลิตเชิงอุตสาหกรรม การเรียนการสอนในโรงเรียนจึงเน้นการฝึกระเบียบวินัยให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในระบบอุตสาหกรรมเมื่อเติบใหญ่ การสอบแข่งขันตั้งแต่เล้กจนโตจึงเป็นเหมือนบททดสอบความมีวินัย/ความเป็นสาขาวิชา ว่านักเรียนถุกอำนาจของวิชาและวินัยเข้าไปเชิดชักได้อย่างเป็นธรรมชาติมากน้อยเพียงใด หากถุกเชิดชักได้มากก็จะแสดงออกในคะแนนสอบที่สูง แต่ถูกเชิดชักได้น้อยก็จะแสดงออกในคะแนนสอบที่ตำ่ ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยจึงอาจจะอยู่ที่ความสามารถที่จะเชิดชัก ความเป็นสาขาวิชา/วินัย ผ่านตัวเด็กได้น้อยเกินไป ดูเหมือนโรงเรียนที่ถูกขนานนามว่า "ดีๆ" จะมีความสามารถเชิดชักได้อย่างเป็นธรรมชาติ วินัยของโรงเรียน หรือวินัยใดๆ จึงควรถูกตั้งคำถามเสมอว่า เป็นวินัยของอะไร สร้างขึ้นมาโดยใครและเพื่ออะไร

 กระทั่งลูกศิษย์ประสบความสำเร็จในสาขาวิชาที่ต้องการวินัยขั้นสูงสุด ขณะที่โรงเรียนบ้านนอก ไม่อาจเข้าไปเชิดชักเด็กได้มากเท่าที่ควรนักเรียนเลยสอบเข้ามหาวิทยาลัยใน "สาขาวิชา" แบบที่มีวินัยเฉพาะด้านไม่ค่อยได้ ปรากฏการณ์การขยายตัวอย่างรุนแรงของสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์ประเภทวิชาที่ทำให้การบริหารงานของรัฐประสบความสำเร็จในห้วง ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ส่อแสดงให้เห็นว่าสาขาวิชาสังคมศาสตร์ประเภทนั้นไม่ต้องการเด็กที่มีวินัยสูง สอดคล้องกับนักเรียนบ้านนอกที่ไม่ได้ถูกสอนให้มีวินัยอะไรมากนักจากการศึกษาในระบบโรงเรียน แต่ก็ยังสมาทานความรู้และความสำเร็จทางการศึกษาแบบสมัยใหม่ การแห่กันเข้าสาขาวิชาประเภทที่ไม่ต้องมีวินัยมากเลยเติบโตขยายตัวจนเดี๋ยวนี้สาขาวิชาประเภทนี้ แยกตัวตั้งเป็นคณะวิชากันเป็นแถว 

ผมว่า....ความรู้อีกชุดหนึ่ง การศึกษาอีกแบบหนึ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน ก็ต้องการวินัย แต่เป็นวินัยในแบบฉบับของความรู้ชุดนั้น ๆ นั่นคือการเรียนรู้ที่สืบทอดกันในครอบครัวชุมชนเองก็ต้องการจัดระเบียบแบบแผนและวินัยบางอย่างให้คนที่จะเป็นในอาชีพหรือวิชาชีพเหล่านั้นต้องมีบุคลิกภาพแบบหนึ่งที่เหมาะสม อันนี้ก็เป็นอีกมุมนึงนะครับที่น่าสนใจว่าในความรู้ และการศึกษาแบบที่เกิดในสังคมยุคประเพณี ต้องการหรือมีการสร้างวินัยแบบใด มีหรือไม่มี ต่างหรือไม่ต่างจากวินัยของความรู้ประเภทเดียวกันที่ถ่ายทอดตามกรอบคิดแบบทันสมัย  สำหรับผมที่พบเจอมาผมว่า ต่างเพราะน้องที่รู้จักคนหนึ่ง มีวินัยแบบชาวนาพื้นบ้านสามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่สำคัญกว่า 120 ไร่ได้ ทั้งที่น้ำสูงกว่าพื้นที่เกือบสองเมตร ขณะที่ ดร.ที่จบสาขาการทำนาจากมหาวืทยลัยคนนึง ยังมึน ๆ งงๆ นึกอะไรไม่ออก

หรืออย่างไร ????????
 

คำสำคัญ (Tags): #ฟูโกต์
หมายเลขบันทึก: 628389เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2017 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2021 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท