วิกฤติการณ์การเงินโลกและวิกฤติการณ์ด้านพลังงาน


<p “=””>วิกฤติการณ์การเงินโลกและวิกฤติการณ์ด้านพลังงาน
</p> <p “=””>
</p>

วิกฤติการณ์การเงินโลกและวิกฤติการณ์ด้านพลังงาน

วิกฤตการณ์การเงินโลกในอนาคตมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

_____จากวิกฤติการณ์ต่างๆที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่เป็นที่จดจำและมีผลกระทบอย่างมากในด้านเศรษฐกิจ โดยอาจจะดูจาก วิกฤติการณ์ในยุคบุกเบิกอย่าง

___วิกฤติการณ์การเงินสหรัฐ มีอีกชื่อว่า Great Depression ในปี1929คงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล วิกฤติทางการเงินในครั้งนี้เกิดจากความตื่นตัวเกินเหตุของบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท เลยพากันไปกู้เงินและนำมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวด้วยหวังรวยทางลัด ทำให้เกิดภาวะเก็งกำไรขึ้นและส่งผลให้ราคาหุ้นของหลายบริษัททะยานขึ้นสูงเกินความเป็นจริงหลายเท่าตัว

___วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง หายนะที่คนไทยหวังให้เป็นเพียงแค่ฝันร้าย ประเทศในอาเซียนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศจนอาจเรียกได้ว่าฮอตติดลมบน บวกกับนโยบายทางการเงินของไทยช่วงนั้นซึ่งส่งเสริมให้มีการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกด้วย เมื่อมีปัจจัยบวกจากภายในและภายนอกเช่นนี้จึงเกิดการปั่นราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน และหุ้นจนสูงมากกว่าเงินที่มีอยู่ในระบบหลายสิบเท่าตัว เศรษฐกิจประเทศไทยจึงเข้าสู่ระบบการเก็งกำไร “โดยกู้มาลงทุน” ด้วยหวังกำไรส่วนต่าง

___วิกฤติซับไพร์ม เรียกอีกอย่างว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามสื่อบ้านเรา เป็นหายนะทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งเกิดจากสถาบันการเงินของอเมริกันพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยเงินกู้จำนวนมหาศาลให้บริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติพอจะชำระเงินแม้แต่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักเข้าไปยังระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะชาวอเมริกันอีกมากยังต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย

___หายนะที่ตามมาคือบรรดาลูกหนี้ทั้งบริษัทเอกชนและประชาชนเริ่มขาดการชำระเงินคือแก่ทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายแห่งล้มไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นว่าการปล่อยสินเชื่อโดยขาดความรอบคอบอาจนำมาสู่หายนะอันโหดร้ายได้

_____จะเห็นได้ว่าวิกฤติการณ์ต่างๆจะมีสาเหตุ และระยะเวลาบ่มเพาะ ที่เกิดจากพฤติกรรมทางเศรษฐกิจเดิมๆของมนุษย์เองเป็นตัวเร่งและจุดชนวน โดยหลักๆแล้วมาจากการ "เก็งกำไร" ในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ต่างๆแบบไม่ลืมหูลืมตา โดยปัจจุบันนี้ก็เริ่มวนกลับมาเข้าไซเคิลเดิมเหมือนก่อนเกิดวิกฤตการณ์ครั้งก่อนๆอย่างเห็นได้ชัด เช่น การเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ ที่เห็นกันอย่างชัดเจน

_____โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่า <p “=”“>วิกฤติการณ์การเงินโลกในอนาคต จะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นอย่างแน่นอน </p> <p “=”“>จากพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เอง หรือจากปัจจัยอื่นๆ เช่น การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจ รวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยี หรืออาจจะคาบเกี่ยวไปถึงภาวะสงคราม และการเมืองที่สามารถส่งผลกระทบมากมายในหลายๆด้าน และยังมีปัจจัยอีกมากมายที่สามารถจะส่งผลกระทบต่อความรุนแรงของวิกฤติการณ์การเงินโลกได้อีกด้วย </p> <p “=””> </p>
<p “=”“>อีกวิกฤติการณ์ที่อาจส่งผลกระทบไม่แพ้กัน คือ วิกฤติการณ์ด้านพลังงาน </p> <p “=””>พลังงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในการดำรงอยู่ของโลกไปแล้วอย่างปฏิเสธไม่ได้ เพราะโลกใช้พลังงานเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนชีวิตประจำวันของโลกให้ดำเนินต่อไป โดยที่โลกยังต้องใช้พลังงานดำเนินต่อไปในทุกๆวัน แต่พลังงานนั้นมีอยู่แบบจำกัด ดังนั้นมนุษย์ในนามของโลกที่เป็นผู้ใช้จึงจำเป็นคิดค้นหาวิธีทำหรือวิธีการ เพื่อผลิต สร้างให้มีแหล่งพลังงานมากขึ้น หรือชะลอแหล่งพลังงานหมดช้าลงนั่นเอง </p>

เพื่อไม่ให้พลังงานหมดไป ควรมีวิธีการเตรียมตัวรับมือกับวิกฤติการณ์ด้านพลังงาน ที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้

1.ในระดับครัวเรือน

-ควรมีส่วนในการช่วยลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น เช่น น้ำ ไฟฟ้า รวมถึงถุงพลาสติก หรือใช้แล้ว ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้อีก

-พยายามใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อว่า ประหยัดไฟ เบอร์5 ที่เชื่อถือได้

-ปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตให้มีความกระชับ และสามารถประหยัดพลังงานได้ เช่น ทางเดียวกันไปด้วยกัน

2.ในระดับองค์กร

-สร้างเสริมคุณลักษณะนิสัยเบื้องต้นให้หันมาช่วยกันประหยัดพลังงาน

-ปิด งด ลด ทุกอย่างเมื่อเกินความจำเป็น

-จัดการ หรือปรับเปลี่ยนระบบการทำงานรัดกุม เพื่อที่จะสามารถประหยัดพลังงานและต้นทุน

3.ในระดับประเทศ

-หาแหล่งพลังงานทดแทน ที่สามารถใช้งานได้ดีและมีผลเสียน้อยที่สุด เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม

-จัดให้มีวันประหยัดพลังงาน เช่น สัปดาห์หรือเดือนละครั้ง ในการงดใช้พลังงาน อาจจะครั้งละ30นาที ก็สามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างมหาศาลแล้ว

-คิดค้นนวัตกรรมในการผลิตพลังงานเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับ สบู่ดำกลั่นทำน้ำมันไบโอดีเซล หรือผลิตจากเศษขยะ

สุดท้ายนี้จะเห็นวิกฤติการณ์การเงินและวิกฤติการณ์ด้านพลังงาน ล้วนแต่มีความสำคัญกับโลกไม่แพ้ หากแต่ทุกคนช่วยกันป้องกันหรือเฝ้าระวัง เราก็จะสามารถรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างลงตัว เพราะทุกวิกฤติล้วนมีสาเหตุ มีแนวทางรับมือ ป้องกัน และแก้ไขในตัวมัน

บทความที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงข้อคิดเห็นส่วนตัว ประกอบกับความรู้ดีๆที่หามาได้จากแกล่งต่างๆผนวกเข้ากัน ดังนั้นหากปรากฏข้อผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องประการใด ต้องขออภัยและน้อมรับไว้เพียงผู้เดียวครับ

บรรณานุกรม :
Incquity. 10วิกฤติธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก #1 [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

http://incquity.com/articles/grow-your-biz/10-worl...

Incquity. 10วิกฤติธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก #2 [ออนไลน์] แหล่งที่มา :

http://incquity.com/articles/grow-your-biz/10-worl...



บรรณานุกรมรูปภาพ :
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%...

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%...

หมายเลขบันทึก: 628213เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017 02:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2017 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท