(9) European Convention on Nationality


อนุสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยสัญชาติ ปี 1997 นี้ ก็เป็นพัฒนาการหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างการพัฒนาทางความคิดทางกฎหมายไป เพื่อรองรับพัฒนาการของสังคมโลก เพื่อรองรับและขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน

European Convention on Nationality

(E.T.S. No. 166, signed in Strasbourg, 6 November 1997)

ประวัติความเป็นมา

                 สภายุโรป (The council of Europe) ได้พบกับกรณีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสัญชาติ (Nationality) มาเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่ง The Convention on the Reduction of Cases of Multiple Nationality and Military Obligations in Cases of Multiple Nationality (ETS No.43, “อนุสัญญา ปี 1963”) ได้เปิดให้ลงนาม ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ มีการตระหนักถึงปัญหาหลายๆประการเกี่ยวกับสัญชาติ โดยเฉพาะอย่างยึ่งการมีหลายสัญชาติ (Multiple Nationality) ซึ่งยังไม่ได้มีการกำหนดไว้อย่างพอเพียงในอนุสัญญาปี 1963 แต่ต่อมาก็ได้มีการกล่าวถึงไว้ในพีธีสารเพิ่มเติมที่ได้เปิดให้ลงนามในปี 1977 และในปี 1993 พิธีสารฉบับที่ 2 (ETS No.149) แก้ไขอนุสัญญาปี 1963 ก็ได้มีการเปิดให้ลงนาม

                 ในปี 1977 คณะมนตรีใด้ลงมติรับมติที่ประชุม 2 มติ มติแรก เกี่ยวกับสัญชาติของคู่สมรสที่มีสัญชาติต่างกัน และ มติที่สอง เกี่ยวกับสัญชาติของเด็กที่เกิดขึ้นจากการสมรส ตามลำดับ (Resolution (77) 12 และ 13) โดยมติแรกเสนอให้ รัฐบาลของสมาชิกมีนบายเพื่อให้คู่สมรสของคนชาติตน สามารถได้รับสัญชาติของรัฐตนได้ภายใต้เงื่อนไขที่ดีกว่าการได้สัญชาติในกรณีทั่วไปและ เพื่อกำจัดความแตกต่างระหว่างสามีต่างสัญชาติ และ ภรรยาต่างสัญชาติในเรื่องการขอสัญชาติด้วย ส่วนมติที่สอง เสนอให้รัฐบาลให้สัญชาติแก่บุตรที่เกิดจากการสมรสเมื่อหนึ่งในบิดาหรือมารดาเป็นคนชาติ

                 สมัชชาก็ได้ ลงมติรับมติที่ประชุม เกี่ยวกับสัญชาติหลายมติด้วยกัน เช่นเสนอให้รัฐทำให้การของสัญชาติของผู้ลี้ภัยในรัฐตนมีความสะดวกมากยิ่งขึ้นเป็นต้น ในปี 1988 ได้มีการผ่านคำแนะนำ (Recommendation 1081) เกี่ยวกับปัญหาสัญชาติของคู่สมรสต่างสัญชาติ โดยสมัชชาได้เสนอว่าสมควรให้คู่สมรสสามารถได้สัญชาติของคู่สมรสอีกฝ่ายโดยที่ไม่ต้องสูญเสียสัญชาติของตนไป นอกจากนี้บุตรที่เกิดจากการสมรสของคู่สมรสต่างสัญชาติกันนั้น ก็ควรมีสิทธิจะได้รับและมีสัญชาติของทั้งบิดาและมารดา

                 ใน ธันวาคม ปี 1992 คณะผู้เชี่ยวชาญ หรือ the Committee of Experts on Multiple Nationality (CJ-PL) ที่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น the Committee of Experts on Nationality (CJ-NL) ได้เสนอการจัดทำอนุสัญญาที่จะรวบรวมวิธีการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับสัญชาติที่เหมาสมกับรัฐสมาชิกทุกรัฐ และในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1995 ร่างอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาติ จึงได้มีการตีพิมพ์เพื่อแจ้งให้แก่รัฐต่างๆทราบและแสดงความเห็นต่อร่างดังกล่าว

                 ร่างอนุสัญญาได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 1996 และมีมติรับโดยคณะมตรี เมื่อ 14 พฤษภาคม 1997และอนุสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยสัญชาติ (European Convention on Nationality) ก็ได้ก็ได้มีการเปิดให้ลงนามในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1997 

พัฒนาการของยุโรปหลังจากมีอนุสัญญาปี 1963

                บทที่ 1 ของอนุสัญญาปี 1963 นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันในขณะนั้นว่า การมีหลายสัญชาติเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาและควรหลีกเลี่ยง ดังนั้น Article 1 ของอนุสัญญาปี 1963 จึงกล่าวไว้ว่าการที่คนชาติตนไปของสัญชาติอื่นโดยความเต็มใจนั้นย่อมจะเสียสัญชาติเดิมของตน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถขอคืนได้ อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาปี 1963 ก็ยังยอมรับว่าการมีหลายสัญชาติสามารถเกิดขึ้นได้ในบางกรณี เช่น การได้รับสัญชาติที่สองโดยอัตโนมัติจากรัฐเจ้าของสญชาตินั้น หรือกรณีที่รัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ บทที่ 1 ของอนุสัญญาปี 1963 อนุญาตให้มีหลายสัญชาติได้ในกรณีอื่น ดังนั้นในบทที่ 2 ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกได้แม้ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก บทที่ 1 ก็ตามจึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับภาระทางทหารในกรณีที่มีหลายสัญชาติเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่มีหลายสัญชาติต้องเข้ารับภาระหน้าที่ทางทหารเกินกว่า 1 ประเทศที่ตนมีสัญชาติ

                 เนื่องจากพัฒนาการที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปภายหลังปี 1963 เช่น แรงงานอพยพระหว่างประเทศในยุโรปด้วยกันส่งผลกระทบถึงจำนวนผู้อพยพหรือคนย้ายถ่นที่มากขึ้น ความต้องการมีถิ่นที่อยู่ถาวร จำนวนของการสมรสของผู้ที่มีสัญชาติต่างกันเพิ่มมากขึ้น และการเคลื่อนที่ของประชากรระหว่างประเทศยุโรปด้วยกัน เป็นต้น นอกจากนี้ หลักที่ความเสมอภาคระหว่างเพศส่งผลให้รวมถึงการที่คู่สมรสที่มีสัญชาติต่างกันสามารถที่จะขอสัญชาติของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันและคู่สมรสย่อมควรมีสิทธิในการถ่ายทอดสัญชาตินั้นไปยังบุตรของตนอย่างเท่าเทียมกันด้วย ดังนั้นสภายุโรป (The council of Europe) จึงตัดสินใจที่จะพิจารณาหลักในเรื่องการหลีกเลี่ยงการมีหลายสัญชาติอีกครั้งหนึ่ง และพิธีสารฉบับที่ 2 แก้ไขอนุสัญญาปี 1963 จึงได้มีการยอมรับการมีหลายสัญชาติใน 3 สถานการณ์ด้วยกัน คือ กรณีของผู้อพยพ รุ่นที่สอง คู่สมรสที่มีสัญชาติต่างกัน และ บุตรของคู่สมรสที่มีสัญชาติต่างกัน

                 ในส่วนของการอนุญาตให้คนชาติซึ่งสมัครใจไปขอสัญชาติอื่นสามารถคงไว้ซึ่งสัญชาติเดิมได้นั้นยังคงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละรัฐนั้น ในบางรัฐโดยเฉพาะเมื่อมีประชากรต้องการของสัญชาติรัฐตนเป็นจำนวนมาก รัฐนั้นอาจเห็นว่าการให้คงอยู่ของอีกสัญชาติหนึ่งอาจส่งผลกระทบถึงการได้รับสัญชาติของคนๆนั้นก็ได้ ดังนั้นแต่ละรัฐจึงสามารถตัดสินใจได้เองตามสถานการณ์ภายในของรัฐตนว่าจะอนุญาตการมีหลายสัญชาติอย่างไร หรือไม่ ตามที่ปรากฎในอารัมภบทของอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาตินี้ 

ความต้องการให้มีอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาติ

                 ตั้งแต่มี The Hague Convention on Certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Laws เมื่อปี 1930 ก็มีตราสารระหว่างประเทศเกี่ยวกับบทบัญญัติเรื่องสัญชาติเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จนเกิดความคิดที่ต้องการให้มีการรวมหลักกฎหมายทั้งที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของกฎหมายภายในประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศรวมกันขึ้นเป็นเอกสารฉบับเดียวกัน โดย Article 14 ของอนุสัญญาฉบับปัจจุบันนี้อนุญาตให้บุคคลมีหลายสัญชาติได้จากการการสมรสของคู่สมรสที่ต่างสัญชาติ และบุตรของคู่สมรสที่ต่างสัญชาติกันด้วย นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติบางบทของอนุสัญญานี้ที่มุ่งหมายที่จะส่งเสริมพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นบทบัญญัติ Chapter VI ในเรื่องของการสืบช่วงของรัฐ (State succession) และสัญชาติ เป็นต้น ในขณะที่ อนุสัญญาปี 1963 กล่าวถึงแต่เรื่องการมีหลายสัญชาติ อนุสัญญาฉบับนี้ กล่าวถึงทุกเรื่องหลักๆที่เกี่ยวกับสัญชาติ เช่น หลักการ การได้มาซึ่งสัญชาติ การคงไว้ซึ่งสัญชาติ การสูญเสียสัญชาติ การได้สัญชาติ กลับคืน กระบวนการ การมีหลายสัญชาติ สัญชาติในเรื่องของการสืบช่วงรัฐ ภาระหน้าที่ทางทหาร และความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก เป็นต้น ซึ่งชื่อของอนุสัญญาได้สะท้อนถึงกฎเกณฑ์เหล่านี้ และอนุสัญญานี้ไม่ได้เป็นการแก้ไขอนุสัญญาปี 1963 แต่อย่างใด ดังนั้น อนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้จึงมีอยู่คู่กันไปได้ และได้มีการยืนยันการมีอยู่คู่กันของทั้งสองอนุสัญญาไว้ใน Article 26 ของอนุสัญญาฉบับปัจจุบัน ปัญญาสำคัญประการหนึ่งซึ่งยังไม่ได้กล่าวถึงไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาตินี้คือเรื่องของกฎหมายขัดกัน ที่เกี่ยวข้องกับการมีหลายสัญชาติ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน นานาประเทศได้มีการใช้ถิ่นที่อยู่ (Residence) เป็นจุดเกาะเกี่ยวเพิ่มขึ้นกันอย่างแพร่หลาย (มติของคณะมตรี, Committee of Ministry Resolution (72) 1, ว่าด้วยการมาตรฐานของแนวคิดทางกฎหมายของการใช้ ภูมิลำเนา และ ถิ่นที่อยู่) มากขึ้นกว่าการใช้สัญชาติเป็นจุดเกาะเกี่ยวของกรณีของกฎหมายขัดกัน ซึ่งช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีของการมีหลายสัญชาติไปได้อย่างมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศในแถบยุโรปกลางและตะวันออก ตั้งแต่ปี 1989 ได้ส่งผลกระทบให้เกิดความต้องการอนุสัญญาฉบับใหม่ว่าด้วยสัญชาติ โดยอย่างยิ่งเมื่อประเทศต่างๆเหล่านี้มักมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และคนต่างด้าวของตนเองใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่รัฐ dissolved ดังนั้นประเด็นปัญหาสำคัญอย่างเช่นการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีคนไร้สัญชาติ หรือ สิทธิของบุคคลในการดำรงอยู่ในดินแดนของรัฐ จึงได้มีการกล่าวถึงไว้ในอนุสัญญานี้ อนุสัญญานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติในArticle 4 ถึง 6 10 ถึง 13 และ 18 ถึง 20 เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัญชาติ เกี่ยวกับผู้ที่ไม่ใช่คนชาตินั้น จะเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องและส่งเสริม ร่างอนุสัญญา the 1995 Council of Europe Framework Convention for the Protection of National Minorities ซึ่งร่างดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการกำหนดหลักกฎหมายที่รัฐมีเพื่อการปกป้องและคุ้มครองชนกลุ่มน้อยภายในรัฐ เช่นArticle 4 ย่อหน้าที่ 1 ของร่างอนุสัญญาห้ามการแบ่งแยกใดๆบนพื้นฐานของการเป็นคนของชนกลุ่มน้อย โดยหลักการนี้ก็ได้มีการกล่าวไว้ในArticle 5 ที่กำหนดให้ไม่มีการแบ่งแยก (Discrimination) ใดๆปรากฎในกฎหมายภายในของประเทศ ที่เป็นการแบ่งแยกตาม เพศ ศาสนา เชื้อชาติ สีผิว สัญชาติ หรือ เผาพันธุ์ พร้อมทั้งยังกำหนดให้รัฐไม่ทำการแบ่งแยกคนชาติของตนเองบนพื้นฐานของการได้มาซึ่งสัญชาติตนว่าใด้มาภายหลังหรือตั้งแต่เกิดและ Article 20 ย่อหน้าที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาตินี้  นอกจากนี้ก็ยังเป็นไปตามหลักการของความตกลงขององค์การสหประชาชาติ หลายๆความตกลงอีกด้วย เช่น Convention on the Reduction of Statelessness 1961 และ Article 7 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989 ก็ได้มีการย้ำหลักการไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาตินี้ ใน Article 4, 7 และ 18 เป็นต้น 

สรุป 

                ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่าทางปฎิบัติระหว่างประเทศในอดีต เช่นการให้ผู้หญิงมีสัญชาติตามสามีโดยอัตโนมัติและเสียสัญชาติของตัวเองไป การเสีญสัญชาติของตนเองไปเมื่อได้สมัครใจของสัญชาติอื่น หรือการไม่ต้องการให้บุคคลมีหลายสัญชาติ

                  ซึ่งสามารถปัญหาหลายๆประการเช่น การสญเสียสัญชาติดั้งเดิมของคู่สมรส คุ่สมรสอาจสูญเสียความช่วยเหลือทางกงสุล เนื่องจากสถานกงสุลไม่สามารถให้ความช่วยเหลือคนชาติของตนที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของอีกประเทศหนึ่งซึ่งคนชาติของตนก็เป็นคนชาติของประเทศนี้เช่นกันได้ ปัญหาการเกณฑ์ทหาร หรือเข้าปฏิบัติหน้าที่ทางทหารเป็นต้น ดังนั้นเมื่อเล็งเห็นปัญหาเหล่านี้ และเพื่อที่จะขจัดปัญหาเหล่านี้ จึงได้มีความร่วมมือในการจัดทำอนุสัญญานี้ขึ้นเพื่อบังคับใช้ในระหว่างรัฐสมาชิกด้วยกัน

              จะเห็นได้ว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป สังคมโลกได้มีพัฒนาการขึ้ง ส่งผลให้เกิดปัญหาใหม่ๆที่กฎหมายเดิมที่มีอยู่อาจจะไม่ได้มีบัญญัติรองรับไว้ ซึ่งอนุสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยสัญชาติ ปี 1997 นี้ ก็เป็นพัฒนาการหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างการพัฒนาทางความคิดทางกฎหมายไป เพื่อรองรับพัฒนาการของสังคมโลก เพื่อรองรับและขจัดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน


สามารถอ่านอนุสัญญาฉบับเต็มภาษอังกฤษได้ที link นี้ค่ะ เพื่อศึกษาโดยละเอียดต่อไป

http://conventions.coe.int/Treaty/en/Treaties/Html/166.htm



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท