แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจจีนในปี2560



จีน ช่วงชิงตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก โดยเบียดผลัดกันขึ้นครองอันดับ “หนึ่ง” กับสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ “ขาลง” เศรษฐกิจในสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัวลง จนรัฐบาลต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือมาตรการ QE : Quantitative Easing ขณะที่เศรษฐกิจจีนซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP : gross domestic product) มูลค่าสูงเป็น “อันดับ 1” ของโลก จากการบริโภคของประชากรจำนวนกว่า 1,400 ล้านคน เริ่มส่อเค้า “ชะลอตัว” อย่างชัดเจนตั้งแต่กลางปี 2558 ที่ผ่านมา จนรัฐบาลจีนต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ประกอบไปด้วย การลงทุนสร้างเส้นทางรถไฟ โดยจะเพิ่มจำนวนเส้นทางที่จะก่อสร้างในปี 2588 ขึ้น 18% จากที่ดำเนินการในปีก่อนหน้า พร้อมๆ กับประกาศแผนการระดมเงินทุนสำหรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟโดยการออกพันธบัตรมูลค่า 1.5 แสนล้านหยวน นอกจากนี้ ยังจะจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะระดมเงินอีกปีละประมาณ 2-3 แสนล้านหยวน

ด้านนโยบายการเงิน จีนพยายามพุ่งเป้าไป “เฉพาะจุด” เช่น 1.การลดภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของรถยนต์ขนาดเล็กมาที่ 5% 2.การลดวงเงินดาวน์อสังหาริมทรัพย์ลงมาที่ 25% สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรกในรอบ 5 ปี เป็นผลบวกต่อหุ้นจีน และหุ้นทั่วโลกให้ปรับขึ้นมาจากระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีได้ แม้ว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นจะเบาบาง แต่มาตรการที่เพิ่มเติมกว่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้ารัฐบาลจีนต้องการที่จะฟื้นความเชื่อมั่นของตลาดให้กลับมาอีกครั้ง

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่มีวงเงินมากกว่านี้เป็นสิ่งจำเป็น แม้ว่าตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะลดดอกเบี้ยนโยบายลง 5 ครั้ง และลดอัตราเงินสดสำรองส่วนเกิน (RRR) รวมถึงประกาศปรับลดค่าเงินหยวนลงราว 5% สร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดทั่วโลกอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ขณะนี้ภาวะตลาดการเงินจีนยังคงอยู่ในระดับที่ตึงตัว และกำไรอุตสาหกรรมจีนยังคงหดตัว

สำหรับเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนกว่าปีก่อน โดยต้องจับตาสหรัฐฯ อาจขึ้นดอกเบี้ยไม่ต่อเนื่อง และสงครามค่าเงินรุนแรงขึ้น มีโอกาสที่เงินบาทอ่อนไปถึง 40 บาท




อ้างอิง

http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx...

หมายเลขบันทึก: 627951เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2017 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2017 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท