(110) บทพิสูจน์แนวคิด


(110)

วันพฤหัสที่ 20 เมษายน

เช้าวันนี้ก่อนเข้าที่ทำงานก็ยังคงนำอาหารไปถวายพระที่วัดเช่นเดิม เคยมีคำถามว่าทำไมจึงทำเช่นนี้ ถวายอาหารวัดในเมืองไม่ได้เหรอ

1. เป็นการฝึกความเพียร ความอดทน และความมุ่งมั่นในตนเอง

2. ทำให้จิตมีความคุ้นชินและเกิดเป็นนิสัย เพราะสิ่งที่จะติดตัวเราไปคืออุปนิสัยเมื่อข้ามภพชาติอุปนิสัยนี้จะติดตัวเราไป

3. ฝึกการเสียสละ ซึ่งไม่ใช่แค่การเสียสละเพียงแค่อาหารเท่านั้น เสียสละความสุขส่วนตัว จากการนอนสบาย อยู่กินสบาย ในช่วงเช้า ถามว่าไม่ทำได้ไหม คำตอบคือได้ แต่เราจะไม่ทราบว่า แท้ที่จริงเราจิตดวงนี้ของเรามีความมุ่นมั่น อดทน เสียสละเพียงใด

4. วัดที่เลือกไปสร้างกุศลในครั้งนี้ คือ วัดที่เป็นเนื้อนาบุญที่ดีที่เหมาะต่อการทำบุญและทำทาน

5. ได้เรียนรู้ที่จะฝึกฝนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

6. และที่สำคัญคือ เป็นสะพานบุญให้แม่ได้มีโอกาสถวายทานแก่พ่อแม่ครูบาอาจารย์และพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

สิ่งที่พึงระลึกกับตนเองเสมอคือ ต้องไม่เสียการงาน ถ้ากระทบเพื่อนร่วมงานก็ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ซึ่งเมื่อก่อนหลายปีจะอยู่รอรับพรและฟังเทศน์ด้วย แต่ทำให้มาถึงที่ทำงานสายเป็นการเบียดเบียนเพื่อนร่วมงาน ก็ยอมปรับเปลี่ยนตนเอง ถามตนเองว่าเราต้องการอะไร เมื่อได้คำตอบก็เสียสละโอกาสของการรับพรและฟังเทศน์ออกไป เพียงแค่นำอาหารไปถวาย เพียงเท่านี้เราก็ยังมีโอกาสได้สร้างกุศล

หลังจากกลับจากวัดถึงที่ทำงานประมาณ 7 โมงครึ่งถึง 8 โมงเป็นเวลาที่พอดีพอเหมาะกับตนเอง

ภารกิจการงานของวันนี้คือ การไปช่วยงานที่คลินิกจิตเวช หลังจากย้ายมาสังกัดกลุ่มการพยาบาลและรับมอบหมายงานวิจัย แล้วในทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดียังคงไปปฏิบัติช่วยงานที่คลินิคจิตเวช

ช่วงบ่ายของวันนี้มีนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนร่วมกับทีม R2R Fa ของ รพ.คำเขื่อนแก้วเป็นบรรยากาศที่ Inspiration มากๆ เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนรู้ของทีม และพลังของความสุข แววตาที่เปลี่ยนไป ความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่มากขึ้น ทำให้รู้สึกวางใจและสามารถที่จะปล่อยมือได้เพื่อให้พื้นที่เติบโตด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพิงอาจารย์วิทยากรจากที่อื่น

รูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้กับทีม R2R Fa คำเขื่อนแก้วคือ เสริมสร้างการเกิดแรงบันดาลใจ และสนับสนุนให้ทีมเกิดการสร้างความรู้ในการเป็นวิทยากรกระบวนการด้วยตนเอง ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัติจริงโดยการไปทำ workshop ที่พื้นที่แล้วนำบทเรียนมาถอดประสบการณ์ปรับแก้ไข จากการจัดกระบวนการเช่นนี้ มีความเชื่อว่า

1. ทุกคนมีศักยภาพในตนเองและสามารถเรียนรู้ได้

2. การเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ต้องเป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ

3. บทบาทของอาจารย์วิทยากรเปลี่ยนไป ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้เฝ้าดู และคอยให้การสนับสนุน พร้อมสะท้อนบทเรียน และร่วมกันถอดบทเรียน

4. ลดการชี้แจงและแนะนำ ให้ทีมไปค้นหาและแสวงหาวิธีการด้วยตนเอง

เมื่อลองถอดบทเรียน ;

ทีม fa ที่เดินทางมาพบ อ.ดร.กระปุ๋ม "วันนี้อ.จะพาเราทำอะไรอีกนะ...นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในใจของคุณอำนวย"

เปิดประเด็นทักทายแล้ว อ.ให้คำถามเกี่ยวกับงานวิจัยในแต่ละเรื่องที่ทีมได้ดำเนินการจัดอบรม ประเด็นมีอยู่ว่า

1. งานวิจัยนั้นนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

2.ตอบโจทย์ service planและ HA ประเด็นใด

ทีมคุณอำนวยช่วยกันวิเคราะห์ (ซึ่งจะส่งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง) แล้ว อ.ให้ลอง สะท้อนมองเห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร

สรุปประเด็น R2R เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงกระบวนการคุณภาพ HA หรือservice plan ระดับนโยบาย ปัญหาจากหน้างานแก้ด้วย R2R gap เล็กๆเพื่อปิด gap ใหญ่ขององค์กร

ฝึกให้มองเชิง ระบบ เขื่อมโยง สร้างสายธารแห่งคุณค่า

ขอบคุณที่ได้เรียนรู้กระบวนการ R2R

บทพิสูจน์แนวคิดนี้ ถือว่าได้ผลลัพธ์เกินความคาดหมาย ถือว่าเป็นการสร้างคนให้เกิดการสร้างความรู้ (Knowledge Construction)

20-04-2560


หมายเลขบันทึก: 627931เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2017 04:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2017 04:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท