มนุษย์เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต


หัวใจของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

"มนุษย์เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต" : เปิดห้องเรียนคุณครูสาธิต ฯ มธ.วันนี้ด้วยประเด็นการเรียนรู้เรื่อง "หัวใจของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้" โดยครูเบิร์ด วิทยากรกระบวนการ นักเล่านิทาน นักแสดง นักร้อง นักดนตรี อาจารย์พิเศษด้านละครสำหรับเด็กและเยาวชนตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ นักมานุษยวิทยาการดนตรี ครูสอนโยคะและการภาวนา ผู้ก่อตั้งกลุ่มละครคิดแจ่ม ฯลฯ รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยกระบวนการเรียนรู้ให้ทีมครูตลอดทั้งวัน เปิดโอกาสให้คุณครูได้ใช้สัญชาติญาณแบบลุกขึ้นทำทันทีไม่รีรอ ผ่านกระบวนการที่ใช้ร่างกายสื่อสารแทนภาษาพูด โดยให้แต่ละคนต่อตัวกันเป็นรูปต่างๆรวมไปถึงสถานที่ ร้อยกันเป็นเรื่องราวที่มีจุดเริ่มต้น เหตุการณ์ไม่คาดฝัน และตอนจบ เป็นกิจกรรมที่ขอให้ชื่อว่า ร่างกายสร้างสรรค์-ภาพนิ่งเล่าเรื่อง ต่อยอดด้วยการเล่านิทานแบบเล่าไปเล่นไป คือ เมื่อวิทยากรเล่าเรื่องฮาโลกับดินสอสีม่วง คุณครูต้องออกมาใช้ร่างกายสร้างสรรค์ไปตามเรื่องราวที่เล่า จนจบเรื่อง จากนั้นเป็นการใช้เครื่องมือที่ถนัดของครูเบิร์ด นั้นคือ การเล่านิทาน "หมวกใบเล็กของเจ้าปลายักษ์" เป็นนิทานที่ครูเบิร์ดเลือกมาในครั้งนี้ เรื่องมีอยู่ว่า ปลายักษ์มีหมวกใบเล็ก แต่ถูกปลาตัวเล็กขโมยไปด้วยปลาตัวเล็กคิดว่าหมวกเหมาะกับตนมากกว่า ปลาตัวเล็กคิดว่าเจ้าปลายังกษ์ไม่รู้ หลบไปแอบในดงไม้น้ำ ปลายักษ์ตามหาหมวกเข้าไปในดงไม้น้ำของปลาตัวเล็ก และปรากฏภาพจบเพียงแค่ปลายักษ์ว่ายออกมาจากดงไม้น้ำพร้อมหมวกใบเดิม คำถามจากวิทยากรคือ "ปลาตัวเล็กไปไหน เกิดอะไรขึ้นในดงไม้น้ำ ? ? " คำถามนี้นำไปสู่การเปิดพื้นที่คุยกันในมุมที่ลึกซึ้ง แตกต่าง จากนิทานฉากนี้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น เห็นเพียงแต่ภาพสื่อความหมายเท่านั้น คำถามจากวิทยากรโยนให้ทีมครูกลับไปคิดและวาดเป็นภาพ จากนั้นนำภาพเข้าสู่วงสนทนา ทำให้เห็นความเป็นตัวเป็นตนตนของคุณครูทุกท่านผ่านภาพที่เลือกให้เรื่องส่วนนั้นเป็นอย่างไร เช่น ปลาตัวเล็กถูกปลายักษ์กิน ปลาตัวเล็กคืนหมวกให้ปลายักษ์ ปลาตัวเล็กทิ้งหมวกไว้ ปลายักษ์มาเจอเอง ปลาเล็กมีหมวกที่เก็บมาหลายใบ และเอาใบใหม่ที่เหมาะสมกว่าให้ปลายักษ์ เป็นต้น

...... เรื่องเล่าที่เป็นนิทานตั้งต้น พาทีมคุณครูให้ได้คลี่ตัวเอง เปิดมุมมองสำรวจความคิด ความรู้สึกต่อสถานการณ์ การตัดสิน การเผชิญกับสถานการณ์ที่หมิ่นต่อศีลธรรมในเรื่อง ไม่มีคำตอบหรือข้อคิดเห็นที่ตายตัว ไม่มีถูกผิด แต่เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ระหว่างกัน บรรยากาศนี้นำไปสู่การเปิดประตูบานต่อไป นั้นคือ "หัวใจของการออกแบบกระบวนการเรียนรู้" เป็นคำถามให้ทีมคุณครูได้ค้นหากันต่อในช่วงบ่าย ... โปรดติดตามตอนต่อไป #คคสธ #ครอบครัวสาธิต #TSS #TeacherTraining

หมายเลขบันทึก: 627277เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2017 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2017 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท