วิดีโอออนดีมานด์ (VDO on Demand


เรื่องระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand)
เรียบเรียงโดย นางสาวรุ่งทิวา บุตรศรี

Video on Demand
Video on Demand คือระบบวิดิโอดิจิตอลที่ผู้ใช้สามารถเปิดวีดิทัศน์ที่มีอยู่ในรายการได้ทันที โดยไม่คำนึงว่ากำลังให้บริการรายการใดให้กับใครอยู่ในขณะนั้น พร้อมทั้งความสามารถในการควบคุมการเล่นได้ด้วยตนเอง โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการ วีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา
วิดีโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

ส่วนประกอบของระบบ Video on Demand

ส่วนประกอบของระบบVideo on Demand ประกอบด้วยส่วนสำคัญหลัก 3 ส่วนดังต่อไปนี้
1. เครื่องแม่ข่ายวีดิทัศน์ (Video Server)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ขนาดใหญ่พร้อมโปรแกรมบริหารสายธาร (Streaming Managemet) เพื่อรับประกันการส่งภาพอย่างต่อเนื่องให้กับเครื่องลูกข่าย (Client) หากปราศจากโปรแกรมบริหารสายธาร คอมพิวเตอร์แม่ข่ายนี้ก็เป็นเพียงเครื่องแม่ข่ายเก็บข้อมูล (Database Server) ธรรมดา

2. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
เป็นเส้นทางที่เครื่องแม่ข่ายจะส่งสายธารวีดิทัศน์ให้กับผู้ร้องขอ ประกอบด้วยแผ่นวงจรเครือข่าย (Network Interface Card) ติดตั้งไว้ในเครื่องแม่ข่ายและลูกข่าย สายเชื่อมต่อสัญญาณ (Network Cable) และอุปกรณ์สลับเส้นทาง (Network Switch) ระบบเครือข่ายอาจจะเป็นระบบอีเทอร์เนต (Ethernet) หรือเอทีเอ็ม (ATM) โดยใช้สายคู่ตีเกลียว (UTP) หรือสายใยแก้ว (Optical Fiber) ตามความเหมาะสม

3. เครื่องลูกข่าย (Client)
คือเครื่องรับสัญญาณวีดิทัศน์จากเครื่องแม่ข่าย อาจจะอยู่ในรูปของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องสำเร็จ (Set Top Box) ภายในจะมีตัวถอดรหัส (Decoder) สัญญาณดิจิตอลวีดิทัศน์ที่ส่งมาจากเครื่องแม่ข่ายให้อยู่ในรูปที่มองเห็นได้บนคอมพิวเตอร์หรือจอภาพโทรทัศน์ เครื่องลูกข่ายจะต้องมีอุปกรณ์สั่งการเพื่อให้เลือกรายการได้เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพสัมผัส หรือเครื่องควบคุมระยะไกล (Remote Control) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด

ประเภทของ Video on Demand
วิดีโอเซิร์ฟเวอร์ (Video Server) หรือแปลเป็นภาษาไทยที่เรียกว่า เครื่องแม่ข่ายวิดีโอคือหัวใจของระบบ Video on Demand ตัวเซิร์ฟเวอร์มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันกับไฟล์เซิฟเวอร์ทั่วๆ ไปที่เรารู้จักกันดีในฐานะของตัวเก็บโปรแกรมและข้อมูลในระบบเครือข่าย ความแตกต่างของวิดีโอเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ตัวของมันเป็นตัวเก็บข้อมูลที่ใหญ่โต และซับซ้อนต่อการเข้าถึง (Access) ข้อมูลยากกว่าเนื่องจากมันต้องป้อนวิดีโออย่างต่อเนื่องไปยังผู้ชมพร้อมๆ กันโดยไม่ให้ติดขัด ดังนั้นการเข้าใจถึงรายละเอียดทางเทคนิค วิธีการเก็บและจัดการข้อมูล การตอบสนองเครื่องลูกข่าย และวิธีการส่งวิดีโอออกมาจากเซิร์ฟเวอร์เป็นสิ่งจำเป็นในการเลือกใช้ Video on Demand กับงานต่างๆอย่างเหมาะสม

การเข้าถึง Video on Demand สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทโดยในแต่ละประเภทจะต้องการส่วนประกอบทางเทคนิคที่แตกต่างกันไปดังนี้

1. Near Video on Demand
เป็นระบบ Video on Demand ที่ไม่ตอบสนองการร้องขอทันที เมื่อมีการร้องขอจะมีการจัดข้อมูลและรอรวบรวมผู้ใช้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่นทุกๆภายใน 10 วินาที จึงจะจ่ายวิดีโอออกไป โดยผู้ใช้ที่ขอเรื่องเดียวกันจะใช้วิดีโอที่กำลังส่งมาร่วมกัน วิธีนี้จะเป้นการประหยัดแบนด์วิธของตัวเก็บข้อมูลและเครือข่ายจึงสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลความเร็วต่ำเช่น CD-ROM Juke box ได้

2. True Video on Demand
เป็นระบบที่ได้ปรับปรุงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งโดยสามารถตอบสนองการร้องขอได้ในทันทีโดยไม่ต้องมีการรอผู้ใช้รายอื่น ตามปกติวิดีโอจะถูกแยกส่งตรงไปยังผู้ขอแต่ละรายเสมอ ยกเว้นเมื่อมีการขอพร้อมกันจริงๆ จึงจะใช้วิดีโอร่วมกัน อย่างไรก็ตามวิธีนี้ผู้ใช้ยังไม่สามารถควบคุมการเล่น ได้ (Navigation) ด้วยตนเองอย่างอิสระ

  1. Interactive Video on Demand

เป็นการพัฒนาในระดับสูงสุดที่มีอยู่ภายในปัจจุบัน ผู้ใช้มีอิสระอย่างเต็มที่ในการเลือกรายการ บังคับควบคุมการเล่นเช่น การหยุดชั่วขณะ การเดินหน้าถอยหลัง แม้กระทั่งการยกเลิกและการเปลี่ยนเรื่องใหม่ ด้วยวิธีนี้วิดีโอในแต่ละรายการจะถูกแยกส่งตรงไปยังผู้ใช้แต่ละรายจริงๆ ถึงแม้วิธีขอรายเดียวกันก็ตาม

หมายเลขบันทึก: 627195เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2017 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2017 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท