วิเคราะห์ รูปลักษณ์ วชิราวุธ(วัชระ+อาวุธ = อาวุธสายฟ้า)ของพระอินทร์


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

หลังจากพบว่า มีข้อถกเถียงอย่างมากมายซึ่งลุกลามเป็นไฟลามทุ่งจนเกิดความแตกแยกมาหลายต่อหลายครั้ง ในเรื่องที่ว่า "วัชระ"อาวุธของพระอินทร์มีหน้าตาเป็นอย่างไร?

ทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อนำมาตั้งเป็นสมมุติฐานที่ดูเป็นกลางในทางทฤษฎี ดังนี้

"วัชระ" หมายถึง สายฟ้า

(คำว่า"เพชร"เองก็มีรากศัพท์จากคำเดียวกันนี้)

ส่วนในตำรายันตร์ของไทย(สยาม)ระบุไว้ใน"ยันต์อาวุธทั้งสี่"ว่า

"วัชระ"ซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์มีลักษณะเป็น"กงจักร(Chakra weapon)"ดังปรากฏตามภาพบนสุดทางซ้ายมือ

ทว่า วัชระ ในภาษาอังกฤษคือ Vajra กลับเป็นอาวุธที่มีรูปลักษณ์ตามภาพบนสุดทางขวามือ

ลักษณะของวัชระซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์จึงดูย้อนแย้งกันอยู่

แต่หลังจากค้นหาลักษณะของ Vajra ต่อไปอีก ทางเราจึงพบกับ Vajra Cross(วัชรกากบาท รึใครจะเรียกกางเขนวัชระก็แล้วแต่) ซึ่งเป็นภาพของ Vajra จำนวน ๒ ชิ้นซ้อนไขว้กันอยู่

ทางเราจึงได้ข้อสันนิษฐานว่า ภาพของ Vajra Cross นี้เองที่อาจเป็นต้นกำเนิดรูปลักษณ์ของอาวุธพระอินทร์ที่เป็น"กงจักร"ขึ้นมา เพราะลักษณะของ Vajra Cross หากใช้เป็นอาวุธก็น่าจะใช้ขว้างในแนวนอนแบบดาวกระจาย และ Vajra Cross ก็จะหมุนตามแรงเหวี่ยงที่ขว้างซึ่งลักษณะการโจมตีแนวนี้จะคล้ายกับการขว้างกงจักร ดังนั้น หากจะให้วัชระของพระอินทร์อยู่ในรูปกงจักรก็ไม่นับว่าผิดแต่อย่างใด ไม่จำเป็นต้องตีกัน(เอง)ให้เสียเวลา

ส่วนภาพกลุ่ม๑๒รูปตรงกลางด้านล่างสุด คือกลุ่มของ วัชรมณฑล(Vajra Mandalas) ซึ่งมีรูปลักษณ์ทรงกลมคล้ายกับกงจักร

อนึ่ง เมื่อสังเกตอย่างถี่ถ้วนจะพบว่ารูปทรงของ Vajra Cross มีความคล้ายกับ "ลายประจำยาม" ตามภาพจิตรกรรมไทย(สยาม)อย่างลงตัว(จนน่าประหลาดใจ)อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 627151เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2017 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2017 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท