U-Learning


ลักษณะของ U-Learning

1. Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้มาจากที่ใดก็ได้และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียนเพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

2. Multimedia สื่อ ที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

3. Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ

4. Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม Links ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดย อัตโนมัติอยู่แล้วและผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ทำ ให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

รูปแบบการทำงานของ U-Learning

1. Common Store สามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็น 2 กลุ่มที่สำคัญ คือ

– กลุ่มแรก ได้แก่ Learning objects และ Learning tasks เป็นส่วนที่ใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ประกอบด้วย ข้อความ รูภาพ เสียง วิดีโอ เว็บไซต์ สื่อนำเสนอต่างๆ

– กลุ่มที่สอง ได้แก่ Learning, exposition learning communications และ administrative functions เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและควบคุมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

2. Filtering criteria เป็นส่วนที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมาจาก Common Store แล้วทำการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ากำลังสื่อสารไปยัง Desktop หรือ Mobile

3. Rendering criteria เป็นส่วนที่ทำงานต่อมาจากส่วน Filtering criteria เพื่อทำการเลือกวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับสื่อที่แตกต่างกันข้อมูลเดียวกันที่ถูกส่งไปยัง Desktop และ Mobile จะสามารถนำเสนอได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามขนาดของจอแสดงผล

แหล่งอ้างอิง

https://sirikanya926.wordpress.com/2014/01/28/u-le...

คำสำคัญ (Tags): #u-learning
หมายเลขบันทึก: 626975เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2017 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2017 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท