มจร.วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เสวนาเรื่อง แนวทางขับเคลื่อน มจร.ปลอดบุหรี่ พร้อมเสนอกระตุ้นจิตสำนึกพระสงฆ์เลิกสูบบุหรี่


มจร.วิทยาเขตนครศรีธรรมราช เสวนาเรื่อง แนวทางขับเคลื่อน มจร.ปลอดบุหรี่ พร้อมเสนอกระตุ้นจิตสำนึกพระสงฆ์ในการเลิกสูบบุหรี่

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 21 มีนาคม 2560 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศีรธรรมราช ได้จัดประชุมเสวนาเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนสู่ มจร.ปลอดบุหรี่” โดยมีพระครูอรุณสุตาลังกา ,ผศ.ดร. ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นประธาน ณ ห้องประชุมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช และมีผู้เข้าร่วมทั้งพระนิสิตและคณาจารย์จากสาขาวิชาต่างๆ โดยมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังนี้

พระครูอรุณสุตาลังการ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการกล่าวว่า การสูบบุหรี่ในทัศนของนักศาสนาสอนไว้ว่าเป็นสิ่งไม่ดี ซึ่งสามารถนำมาตีความได้ว่าการสูบบุหรี่ผิดศีลข้อที่ 5 เช่นเดียวกับการดื่มสุรา เพราะมึนเมา ขาดสติ เป็นที่ตั้งของการประมาท ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่ข้อมูลการวิจัยก็ยังไม่แน่ชัด เพราะยังไม่มีบัญญัติในพระธรรมวินัย หากมองในประเทศอินเดียถือว่าไม่เหมาะสม ไม่ควร ในความเป็นจริงแล้วพระสงฆ์และสามเณรควรจะสำรวมในเรื่องนี้ ซึ่งบางวัดก็มีการวางกฎระเบียบไว้ว่าห้ามสูบบุหรี่ มีบทลงโทษหากมีรูปใดละเมิด สำหรับ มจร.ควรที่จะสร้างเกณฑ์ระเบียบในการสูบบุหรี่ โดยมีบทลงโทษหากมีผู้กระทำผิดเช่นกัน นอกจากนี้ท่านยังเสนอแนวทางแก้ไขว่า พระนิสิตที่จะเข้ามาเรียน มจร.ในอนาคตจะต้องคัดเลือกและแยกระหว่างพระนิสิตที่สูบบุหรี่กับพระนิสิตที่ไม่สูบบุหรี่ หากกรณีที่นิสิตสูบบุหรี่ มจร.จะต้องมีมาตราการบำบัด หรือช่วยให้พระนิสิตเลิกได้อย่างเด็ดขาด

ด้าน รศ.ดร.กันตภณ หนูทองแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมมาโศกราช (มมร.ศศ.) กล่าวว่า จากข้อมูลในวารสาร wso องค์การอนามัยโลกพบว่า วิธีแก้ไขปัญหาคนติดยาเสพติดคือยาชนิดหนึ่ง ให้ประสิทธิภาพมากสูงสุด บุหรี่จัดอยู่ในประเภทยาเสพติด เพราะมีสารชนิดหนึ่ง คือ นิโคติน ซึ่งมีต้นยาสูบเป็นสารตั้งต้น โดยช่องทางการนำไปใช้ได้แก่ การใช้ในการสูบ ใช้ในการเคี้ยว ใช้ในการพ่นหรือเป่า ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบให้เกิดโรค เกิดผลกระทบทางสมอง เป็นต้น

ดร.สามิต อ่อนคง นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า เรื่องของการสูบบุหรี่ ในส่วนของกระบวนการแก้ปัญหาการสูบของนิสิต นั้นไม่ยาก เพราะถ้าในมหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนด อัถตลักษณ์ หรือเอกลักษณ์ และจุดเด่น ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งโดยหลักศาสนานั้นไม่จำเป็นต้องเขียนกฎระเบียบ แต่ควรสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้อง โดยมีฐานเดิมของทางศาสนา สำหรับปัญหาของนิสิต และพระนิสิตในปัจจุบันนั้น ตั้งอยู่บนฐานศรัทธา แต่ขาดฐานปัญญา ขาดจิตสำนึก กระบวนการที่แก้ได้ของมหาวิทลัยสงฆ์นั้น คือสร้างจิตสำนึก สร้างความเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยสงฆ์







หมายเลขบันทึก: 626228เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2017 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2017 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท