หุ่นจำลอง ( Models )


หุ่นจำลอง( Models ) หมายถึง วัสดุสามมิติที่สร้างเพื่อใช้แทนของจริง ให้มีรูปลักษณะและสีสันคล้ายของจริงมากที่สุด มีสัดส่วนที่ถูกต้อง ซึ่งอาจมีขนาดเท่าของจริง โตกว่าหรือเล็กกว่า และเลือกวัสดุที่ใช้ทำให้เหมาะสมอาจใช้โลหะ กระดาษ ดิน ปูนปลาสเตอร์ พลาสติก ยาง โฟม เป็นต้น

คุณค่าของหุ่นจำลอง

1. ช่วยแก้ปัญหาขนาด ในกรณีของจริงมีขนาดใหญ่หือเล็กเกินไป

2. ช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่มีความซับซ้อน เช่นอวัยวะภายในร่างกายของมนุษย์

3. ช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสิ่งที่ไม่อาจสำผัสได้ให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เช่น โครงสร้างของอะตอม

4. ใช้แทนของจริงบางอย่าง ในกรณีชำรุดง่าย เป็นอันตราย หาดูยาก หรือราคาแพงเกินไป

5. หุ่นจำลองไม่เน่าเสีย เช่น หุ่นจำลองผลไม้ คน สัตว์ เป็นต้น

ลักษณะของหุ่นจำลองที่ดี

1. หุ่นจำลองที่เป็นวัสดุสามมิติ ทำให้ผู้ดูเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง

2. ขยายหรือลดขนาดแท้จริงได้ ให้สะดวกแก่การพิจารณา

3. หุ่นจำลองที่แสดงให้เห็นภายในได้ ซึ่งไม่สามารถเห็นได้จกของจริง

4. ใช้สีเพื่อให้เห็นส่วนสำคัญ

5. ควรตัดส่วนที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้เข้าใจง่าย

ประเภทของหุ่นจำลอง

หุ่นจำลองอาจแบ่งได้หลาประเภทตามลักษณะ และความมุ่งหมายของหุ่นจำลองนั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การแบ่งประเภทของหุ่นจำลองอาจแบ่งแยกประเภทกันไม่ชัดเจน เพราะแต่ละประเภทก็มีความเกี่ยวข้องกัน หรือมีลักษณะบางอย่างเหมือนกันโดยทั่วไปแบ่งประเภทดังนี้

1. หุ่นจำลองรูปทรงภายนอก ( Solid Models ) เป็นหุ่นจำลองที่ต้องการแสดงรูปร่าง หรือทรวดทรงภายนอกเท่านั้น มีน้ำหนัก พื้นผิว สี รูปร่าง มาตราส่วน อาจมีขนาดเท่าของจริง โตกว่าหรือเล็กกว่าของจริงก็ได้ เช่น หุ่นจำลองของสัตว์ ผลไม้ พืช สิ่งของ เครื่องมือ เป็นต้น

2. หุ่นจำลองเท่าของจริง ( Exact Models ) เป็นหุ่นจำลองที่มีขนาดรูปร่างรายละเอียดต่างๆ เหมือนของจริงทุกประการ ใช้แทนของจริงที่หาได้ยาก แตก หักง่าย หรือราคาแพง เสียหารหรือไม่สะดวกที่จะนำมาใช้ในหองเรียน เช่น โทรศัพท์แบบพกพา โครงกระดูก ผลไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้น

3. หุ่นจำลองแบบย่อส่วน ( Reduce Models ) เป็นหุ่นจำลองที่ใช้แทนของจริงที่มีขนาดเล็กเกินไป จนไม่หมาะี่จะนำมาศึกษาในห้องเรียนได้ เช่น ลูกโลก หลักศิลาจารึก เป็นต้น

4. หุ่นจำลองแบบขยายส่วน (Enlarge Models ) เป็นหุ่นจำลองที่ใช้แทนของจริงที่มีขนาดเล็กเกินไป ผู้เรียนไม่สามารถศึกษาด้วยตาเปล่าหรือไม่ชัดเจนเท่าที่ควรจึงขยายให้ใหญ่มองเห็นชัดเจนขึ้น เช่น ตา หู จมูก ปาก เป็นต้น

5. หุ่นจำลองแบบผ่าซีก ( Cut-Away Models ) เป็นหุ่นจำลองที่แสดงให้เห็นลักษณะและส่วนประกอบภายใน เช่น หัวใจผ่าซีกฟันผ่าซีก จมูกผ่าซีก เป็นต้น

6. หุ่นจำลองแบบแยกส่วน ( Build up Models ) เป็นหุ่นจำลองที่แสดงส่วนประกอบต่างๆ ของวัตถุที่สามารถถอดออกเป็นส่วนๆได้ เช่น หุ่นจำลองอวัยวะภายในร่างกาย เป็นต้น

7. หุ่นจำลองแบบเคลื่อนไหวทำงานได้( Working Models ) เป็นหุ่นจำลองที่แสดงให้เห็นส่วนที่เคลื่อนไหวหรือการทำงานของเครื่องใช้ เครื่องจักรกล เช่น หุ่นจำลองเครื่องยนต์ หุ่นจำลองเครื่องจักรไอน้ำ หุ่นจำลองมอเตอร์ เป็นต้น

การเลือกหุ่นจำลองประกอบการสอน

การเลือกหุ่นจำลองประกอบกรเรียนการสอน เพื่อให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพผู้สอนควารคำนึงถึงหลักการ ดังนี้

1. เลือกหุ่นจำลองชนิดที่ให้ประสบการณ์ตรงจุดประสงค์ของการสอนมากที่สุด

2. ผู้เรียนสามารถมองเห็นได้อย่างทั่วถึง

3. สามารถใช้สื่อวัสดุประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย

4. ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดที่ถูกต้อง

5. หุ่นจำลองทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ได้ถูกต้อง

หลักการใช้หุ่นจำลอง

1. ต้องเลือกหุ่นจำลองที่เหมาะสมทั้งขนาดรูปร่าง สี และสัญลักษณ์ต่างๆ

2. ผู้สอนต้องศึกษาล่วงหน้าก่อนนำไปใช้สอน

3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม หรือเข้ามาระยะใกล้

4. ควรใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ

5. หุ่นจำลองบางชนิดจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

6. เปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากหุ่นจำลองด้วยตัวเอง

หมายเลขบันทึก: 626179เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2017 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2017 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท