กิจกรรมบำบัด | โรคมะเร็ง


ปัจจุบันโรคยอดฮิตอันดับต้นๆที่ประชากรทั่วโลกเป็นกันมากก็คือ โรคมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจว่าเป็นมะเร็งแล้วรักษาไม่หายต้องรอคอยความตายอย่างเดียว ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการต่อสู้กับโรคมะเร็ง กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมทั้งหากตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆในระยะเริ่มแรก บวกรวมกับการรักษาที่เหมาะสมก็จะทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคมะเร็งนี้ได้

ความจริงสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคมะเร็งนั้น มีต้นตอมาจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่ดีมากกว่าอย่างอื่น โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่บริโภคแต่อาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง รับประทานผักและผลไม้น้อย รวมทั้งการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบของคนปัจจุบัน ยังทำให้ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้นั่นเองที่ทำให้โรคมะเร็งถามหาได้อย่างง่ายดาย

จากการศึกษาระยะต่างๆของโรคมะเร็งแล้ว ดิฉันมีความสนใจในโรคมะเร็งระยะที่ 4 จึงได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งระยะที่ 4 ดังนี้

โรคมะเร็งระยะที่ 4

มะเร็งลุกลามมากขึ้นจนแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือแพร่กระจายตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด เป็นระยะสุดท้าย ไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาด (แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่หายจากมะเร็งระยะที่ 4 ก็มีอยู่หลายคน เช่น นพ.สำราญ อาบสุวรรณ และพลเอกประสาน เปรมะสกุล เป็นต้น)

อัตราการรอดที่ 5 ปี จะอยู่ในช่วง 0-5%

การรักษา

วิธีรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้แก่ ผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า รังสีร่วมรักษา และการรักษาประคับประคองตามอาการด้วยอายุรกรรมทั่วไป การรักษาโรคมะเร็งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียว หรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นกับระยะโรคด้วย

จากการศึกษาโรคมะเร็งระยะที่ 4 ผู้ป่วยมีอาการของโรคต่างๆ ลุกลามจนรักษาไม่หายและแพทย์ไม่มีแผนการรักษาเฉพาะโรคนั้นๆอีกต่อไป นอกจากรักษาดูแลแบบประคับประคองตามอาการ ใช้วิธีทางธรรมชาติบำบัด รักษาตามหลักโภชนาการบำบัด และทำจิตใจให้เข้มแข็งเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายต่อไป

  • วิธีรักษาทางหลักธรรมชาติบำบัด

โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีผู้ป่วยอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันเริ่มมีการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัดกันมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ที่รักษาด้วยวิธีนี้แล้วหายป่วยได้ แม้ว่าจะป่วยด้วยอาการของโรคระดับรุนแรงแล้วก็ตาม

โดยหลักการของธรรมชาติบำบัดนั้นจะไม่เน้นที่การกินยา ผ่าตัด หรือว่าฉายรังสีอย่างเดียว เพราะมีความเชื่อว่าวิธีการเหล่านี้ไม่ได้ช่วยให้มะเร็งในร่างกายถูกขจัดไปได้หมดสิ้น แต่มีหลักการในการกำจัดเนื้อร้ายด้วยวิธีผสมผสาน ดังนี้

  1. พยายามทำให้เซลล์มะเร็งในร่างกายมีขนาดเล็กลง
    โดยอาจอาศัยวิธีโภชนาการบำบัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง ไม่กินอาหารที่จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น กินอาหารโปรตีนที่ได้จากพืชเป็นหลัก ไม่กินน้ำตาล แป้ง เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น
  2. พยายามเพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น
    คือ การรับประทานผัก ผลไม้ให้มากๆโดยจะกินแบบสดๆ หรือคั้นน้ำดื่มก็ได้ รวมทั้งต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิคทุกวัน ได้แก่ การเต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน วิ่ง ว่ายน้ำ เดินเร็ว และควรมีสุขภาพจิตที่ดี ห้ามเครียด จึงจะทำให้เม็ดเลือดขาวกลับมาทำงานได้ปกติ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่านการผ่าตัด ฉายรังสี หรือคีโม ยิ่งต้องรีบฟื้นฟูร่างกายให้เม็ดเลือดขาวกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตามเดิมโดยเร็วที่สุด
  • สร้างพลังจิตควบคุมมะเร็ง

วงการแพทย์ตะวันตกกำลังหันมาสนใจวิธีสร้างกำลังใจให้กับผู้ป่วยมะเร็งกันมากขึ้น ด้วยเชื่อว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่หายได้ด้วยใจสู้ หากเรารักตัวเอง จิตใจของเราจะกำหนดพฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งการใช้ชีวิตและการกินอยู่ ซึ่งเอื้อให้สุขภาพแข็งแรงได้ด้วยจิตใต้สำนึกของตัวเองที่เรียกกันว่า “จิตสั่งกาย”

นักจิตวิทยาแบ่งจิตใจของมนุษย์ออกเป็นจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก

จิตสำนึก คือ การกระทำที่รู้ตัวตลอด สั่งได้ สามารถคิด ตัดสินใจ และสั่งให้สมองทำงานไปตามความต้องการของเจ้าตัวได้ เช่น จิตอยากกินขนม ก็สั่งร่างกายให้ใช้มือเอื้อมหยิบขนม แบบนี้คือจิตทำหน้าที่เป็นนายของร่างกาย

ส่วนจิตใต้สำนึก เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อารมณ์โกรธ ตื่นเต้น เหงื่อแตก อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเอง แม้จิตจะรู้ว่าร่างกายกำลังผิดปกติ มีอาการไม่ดี แต่ก็ไม่สามารถควบคุมให้หยุดปฏิกิริยานั้นได้ จนกว่าอารมณ์เหล่านั้นจะหยุดไปเอง แบบนี้คือร่างกายทำหน้าที่เป็นนายของจิต

กลไกจิตใจขอมนุษย์มีคำสั่งอยู่ 2 อย่าง คือ สั่งให้มีชีวิต และสั่งให้ตาย ปกติแล้วเซลล์มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้เองในกระแสเลือด คนที่ยังไม่เป็นมะเร็งนั่นเป็นเพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวยังทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสามารถจัดการสิ่งแปลกปลอมทิ้งได้ในทันที แต่เมื่อใดที่ปล่อยให้ใจตัวเองจมอยู่กับความเศร้า ความเก็บกด ความเครียด ร่างกายก็จะรับแต่สัญญาณแห่งความตายจากจิตใจ ทำให้ภูมิต้านทานลดลง และก่อมะเร็งได้

ทางแก้ปัญหาคือ ผู้ป่วยมะเร็งต้องเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิต้านทานภายในร่างกายของตัวเอง ให้ได้ ต้องทำให้จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกมีเป้าหมายเดียวกันให้ได้ โดยจัดการกับวิธีคิด อย่าจมอยู่กับ ความเศร้า ความเครียด อย่าทำตัวเองให้เหงา ออกไปสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างบ้าง การสร้างความสัมพันธ์จะช่วยให้เราแบ่งเบาความทุกข์และรับทัศนะที่ดีๆจากผู้อื่นเข้ามา ทำให้จิตใจเรา สบายขึ้น พยายามมองโลกในแง่ดีเข้าไว้ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสให้ได้ในทุกๆเรื่อง จะได้ไม่เป็นทุกข์ ฟังเพลงเบาๆที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างกำลังใจขึ้นมาใหม่ แล้วจิตจะมีกำลังมากจนสามารถนำ 'พลังจิต' นั้นมาปลุกภูมิต้านทานและสัญญาณแห่งความอยู่รอดขึ้นมาต่อสู้กับโรคมะเร็งได้

ที่เป็นเช่นนี้เพราะเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆในร่างกายล้วนถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจากต่อมไร้ ท่อ ซึ่งถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองอีกทอดหนึ่ง ซึ่งต่อมใต้สมองก็จะถูกควบคุมโดยสมองส่วน
ไฮโปทาลามัส ที่สามารถสั่งให้เซลล์เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้นได้ เมื่อภูมิต้านทานกระเตื้องขึ้น เซลล์มะเร็งก็จะค่อยๆถูกกำจัดออกไป หากมีความมั่นใจ มีใจสู้ ก็จะสามารถเอาชนะโรคมะเร็งได้ไม่ยาก

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการรักษา

รูปแบบการดูแลจัดการตนเอง (The Self-Management Model of Care) คือ วิธีการหนึ่ง ทางกิจกรรมบำบัดที่ฝึกทักษะการคิดแก้ไขปัญหาและทักษะการคิดวางแผนจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับอาการ เจ็บป่วยเรื้อรังความบกพร่องของร่างกาย-จิตใจ-สังคม ความแปรปรวน ของอารมณ์ภายใต้ สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การมีส่วนร่วมทำ กิจกรรมต่างๆด้วยความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน การยอมตามหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคลากร ทางการแพทย์อย่างเหมาะสม การรับรู้ทักษะ การจัดลำดับความสำคัญของอาการของโรคจนถึงสิ่งที่มีผล ตามมาจาก อาการของโรคการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องการดูแลตนเอง คนดูแล ผู้บำบัด คน/สังคมรอบข้าง สิ่งแวดล้อมและการรับรู้ ความก้าวหน้าของโปรแกรมการรักษาด้วยการประเมินตนเอง

การนำมาต่อยอดในบริบทของนักกิจกรรมบำบัดไทย

ในบ้านเราอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า “การดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อน สิ้นชีวิต” (มิใช่ว่าผู้ที่เป็นมะเร็ง ทุกคนต้องเสียชีวิต) เพราะส่วนมากคิด ว่าเป็นลางร้าย ที่จะพูดถึงความตายทั้งๆที่ยังไมตาย ซึ่งตรงกัน ข้ามกับ ต่างประเทศ ที่เตรียมพร้อมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอ สามารถกำหนด ระยะเวลามีชีวิตอยู่ได จะไดรับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุขที่สุด จากการเรียนรู ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งก่อนสิ้นชีวิตที่ออสเตรเลีย

นักกิจกรรมบำบัดเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยระบบนี้ไดอย่างดี นักกิจกรรมบำบัดจะทำ การประเมินดังนี้ เช่น

1. ผู้ป่วยต้องการอะไร

2. ผู้ป่วยเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองมากน้อยแคไหน อย่างไร

3. ผู้ป่วยอยากสื่อสารและเชื่อมโยงความรักและความเห็นอกเห็น ใจจากคนที่รักอย่างไร

4. ผู้ป่วยปรับความคิดและวางแผนทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแกชีวิตที่เหลืออยู่ไมมากนักอย่างไร

จากนั้นจึงให้คำแนะนำแกคนที่ผู้ป่วยรักในรูปแบบกิจกรรมเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรูวา จะจัดกิจกรรมใดให้ผู้ป่วยรูสึกสบายกายสบายใจ และวางแผนความต้องการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาสุดท้าย

เอกสารอ้างอิง

ธรรมปราโมทย์. (2552). มะเร็งไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา สถาบันบันลือธรรม.

วิโรจน์ บางโพ. (2555). มะเร็งเป็นได้หายได้. ปทุมธานี: เพื่อนชาวบ้าน.

ศุภลักษณ์ เข็มทอง. (2553). การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์.



หมายเลขบันทึก: 626039เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2017 00:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2017 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท