กิจกรรมบำบัดกับมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด


มะเร็งปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิงระยะของมะเร็งปอด ระยะของมะเร็งกำหนดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของมะเร็ง และการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะร่างกาย ระยะของมะเร็งมีความสำคัญต่อการรักษา เพราะจะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่เหมาะสม ส่งผลต่อการหายของโรคหรือการมีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น

  • ระยะของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่ในบริเวณปอดเท่านั้น

ระยะการแพร่กระจาย (extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

  • ระยะของมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 พบมะเร็งเฉพาะที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง และยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

ระยะที่ 2

- ระยะที่ 2A คือ มะเร็งมีขนาดเล็กและพบแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด

- ระยะที่ 2B คือ มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้ว ปอด หรือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น เช่น ที่ผนังทรวงอก

ระยะที่ 3

- ระยะที่ 3A คือ เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณอื่นที่ห่างจากปอด หรือ พบมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองรอบๆ ปอด และเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังผนังทรวงอกหรือบริเวณกลางช่องอก

- ระยะที่ 3B คือ เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองอีกด้านของช่องอกหรือต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือ มีเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรือ เนื้องอกเจริญเติบโตในอีกด้านของช่องอก เช่น หัวใจ หลอดอาหาร หรือ มีของเหลวที่มีเซลล์มะเร็งอยู่รอบๆ ปอด

ระยะที่ 4 คือ มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ตับ กระดูก สมอง


อาการของโรคมะเร็งปอด

  • ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
  • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ไอมีเลือดปน
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ



บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะที่ได้รับเคมีบำบัด

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัดนั้นผลการรักษามักจะดีกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดในระยะเเรกๆ ซึ่งการรักษาด้วยยาเคมีบบำบัดจะเกิดอาการข้างเคียงต่างๆต่อร่างกาย ความรุนเเรงของอาการในเเต่ละคนจะมีความเเตกต่างกัน รวมไปถึงสามารถกระทบต่ออารมณ์เเละจิตใจของผู้ป่วยด้วย ซึ่งบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วย คือ

1.การรักษาสุขภาพจิตใจของผู้ป่วย เพราะการที่ผู้ป่วยเพิ่งได้เริ่มรู้ตัวว่าตนเองเป็นมะเร็งนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรับสิ่งที่ตนเองเป็นไม่ได้ เเละสิ่งที่จะเกิดตามมาคือการวิตกกังวล เมื่อเกิดการวิตกกังวลทำให้ผู่ป่วยมีการเปลี่ยนเเปลงเพื่อตอบสนองกับความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายเเละจิตใจ นักกิจกรรมบำบัดควรให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในโรคที่ตนเองเป็น เเละตระหนักถึงผลที่จะเกิดขึ้น ให้ผู้ป่วยยอบรับใสนสตัวเอง คือ ให้ผู้ป่วยปลดปล่อยตัวเองให้ได้ มองปัญหาทั้งหมดตามสภาพที่เป็นจริง

2.การให้ผู้ป่วยเข้าใจในการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดขึ้นเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด คือนักกิจกรรมบำบัดจะให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าการรักด้วยยาเคมีบำบัดนั้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร เเละร่างกายจะเปลี่ยนเเปลงไปอย่างไรบ้าง โดยนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับผลข้างเคียงเหล่านั้นให้ได้ เเละเเนะนำวิธีการเตรียมพร้อมในการอดทนกับความเจ็บปวดทางร่างกายที่จะเกิดขึ้น

3.การรักษาไว้ซึ่งความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย คือ เมื่อนักกิจกรรมบำบัดทราบว่าผู้ป่วยมีความต้องการเเละสามารถที่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อดูเเลตนเองในชีวิตประจำวัน นักกิจกรรมบำบัดสังเกตเเละประเมิณความสามารถในการทำกิตจวัตรประจำวัน เเละทำการวางเเผนร่วมกับผู้ป่วย เพื่อวางเป้าหมายในการทำกิจกรรมนั้นๆ พร้อมกับให้คำเเนะนำในการปรับสภาพเเวดล้อมในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

4.การสร้างสิ่งเเวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พัฒนาความสามารถในการดูเเละตนเอง ในการวางเป้าหมายที่เหมาะสม เเละสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัวเเละสังคมรอบข้าง คือนักกิจกรรมบำบัดควรเเนะนำวิธีการสร้างเเรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพทางด้านจิตใจที่ดีกับครอบครัว เเละสังคมรอบข้าง เช่น การสร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้ป่วย การพูดกับผู้ป่วยด้วยถ้อยคำที่มีความหมายเป็นบวก เพราะเมื่อผู้ป่วยได้รับพลังบวก ก็ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดี เเละอยากมีชีวิตต่อไปเพื่อตัวเองเเละคนรอบข้าง


อ้างอิงจาก

  • หวงฉวนกุ้ย.(2544).ดูเเลอย่างไร?ให้อยู่กับลูกหลานนานๆเมื่อเป็น"มะเร็ง".กรุงเทพมหานคร : ทำเนียบสมุนไพร. (ISฺ์BN : 974-88629-3-3)
  • ศุภลักษณ์ เข็มทอง.(2553). การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี : เทพประทานการพิมพ์.
  • อรทัย สนใจยุทธ.(2539).ผลการพยาบาลระบบสนับสนุนเเละให้ความรู้ต่อความวิตกกังวลเเละพฤติกรรมการดูเเลตนเองในผู้ป่วยยมะเร็งปอดที่ได้รับยาเคมีบำบัด.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล.นครปฐม. (ISBN : 974-588-786-2)

หมายเลขบันทึก: 626008เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2017 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2017 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท