ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก กรณีศึกษา การจัดการขยะ ชุมชนเมืองสวนตะไคร้ (ครี่งที่ 2)


"กิจกรรมธนาคารขยะ"

ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทางกลุ่มเราได้ทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกองทุนหมู่บ้านชุมชนสวนตะไคร้ในกิจกรรมรับซื้อขยะจากชาวบ้านในชุมชนสวนตะไคร้และทางกลุ่มเรายังได้ลงมือปฏิบัติงานจริงและเรียนรู้การจัดการรับซื้อขยะของกองทุนหมู่บ้านชุมชนสวนตะไคร้ว่าเป็นอย่างไร

ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทางกลุ่มเราก็ได้ลงไปช่วยงานพี่ๆของกองทุนในกิจกรรมรับซื้อขยะทางกลุ่มเรานั้นก็จะได้รับมอบหมายให้ช่วยยกของที่ชาวบ้านนำมาขายกับทางกองทุนลงจากรถเพราะว่าช้าวบ้านบางก็นำขยะมาเป็นคันรถกระบะ บางคนก้อใส่รถสาลี่มา บางคนก้อเดินแบกมาจากบ้านของตัวเอง และก็ได้ช่วยแม่ค้าที่มารับซื้อคัดแยกประเภทของขยะเพื่อที่จะนำไปชั่งกิโล


(เป็นภาพการช่วยชาวบ้านยกของที่จะนำมาขายลงจากรถกระบะ)


(เป็นภาพการช่วยชาวบ้านยกของที่จะนำมาขายลงจากรถกระบะ)

(การคัดแยกขวดน้ำพลาสติดของแม่ค้าที่มารับซื้อของเก่า)


(สมาชิกกลุ่มกำลังช่วยแม่ค้าที่มารับซื้อของเก่าคัดแยกขยะก่อนนำไปชั่งน้ำหนัก)

เมื่อทำการคัดแยกขยะเรียบร้อบแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือการนำขยะไปชั่งน้ำหนักเพื่อบันทึกจำนวนที่ได้และนำมาคิดเงินตามราคาของขยะประเภทต่างๆ ซึ่งขยะแต่ละประเภทก็มีราคาต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด


(เป็นขั้นตอนการน้ำขยะแต่ละประเภทมาชั่งน้ำหนัก)


(เป็นขั้นตอนการน้ำขยะแต่ละประเภทมาชั่งน้ำหนัก)


(เป็นการจดบันทึกจำนวนขยะที่ได้เพื่อนำมาคิดเงิน)


(เป็นขั้นตอนการนำจำนวนของขยะที่จดบันทึกไว้มาคำนวนราคาตามประเภทเพื่อจ่ายเงินให้ผู้ที่นำขยะมาขาย)


และเมื่อแม่ค้าที่รับซื้อของเก่าคิดเงินเรียบร้อยตามจำนวนที่ได้จดบันทึกไว้แล้วก็จะทำการจ่ายเงินให้ผู้ที่นำขยะมาขาย แล้วก็จำนำใบกระดาษที่จดบันทึกจำนวนขยะที่นำมาขายมาให้กับคณะกรรมการของกองทุนเพื่อทำการจดบันทึกแต้มหรือจำนวนน้ำหนักสะสมนั่นเอง เพื่อที่จะนำน้ำหนักรวมนั้นมาสะสมแลกเป็นของรางวัลต่อไป



(แม่ค้ารับซื้อของเก่ากำลังคิดเงินให้กับผู้ที่นำขยะมาขาย)


(แม่ค้ารับซื้อของเก่าทำการแจ้งยอดน้ำหนัดรวมของขยะให้กับคณะกรรมการกองทุนเพื่อจดบันทึกยอดน้ำหนักรวมของสมาชิกที่นำขยะมาขาย)


และในช่วงสุดท้ายทางกลุ่มเราก็ได้นั่งสัมภาษณ์ป้าอู๊ดแม่ค้ารับซื้อของเก่าและพี่ตุ้ยรองประธานกองทุนหมู่บ้านชุมชนสวนตะไคร้




(เป็นภาพการนั่งสัมภาษณ์ป้าอู๊ดแม่ค้ารับซื้อของเก่า)

ป้าอู๊ดบอกบอกกับพวกเราว่า "คนสมัยนี้ไม่ค่อยรู้จักคุณค่าของขยะไม่รู็ว่าสิ่งของบางสิ่งนั้นสามารถเก็บแล้วนำมาขายต่อได้ เอะอะอะไรก็จะเอามายัดใส่ถึงขยะอย่างเดียว ถ้าหากทุกคนรู้จักคักแยกขยะบางทีจำนวนขยะอาจจะน้อยลงก็ได้"

และป้ายังบอกอีกด้วยว่า "สมัยนี้นะอย่าดูถูกอาชีพคนหาของเก่าเพราะบางคนก็สามารถทำรายได้กับการหาของเก่าหวกนี้จนเป็นเศรษฐีมาแล้วก็มี"



(ภาพการสัมภาษณ์พี่ตุ้ยรองประธานกองทุนหมู่บ้านชุมชนสวนตะไคร้)

#พี่ตุ้ยหนึ่งในคณะกรรการกองทุนหมู่บ้านชุมชนสวนตะไคร้เล่าว่า "การจะทำให้ชุมชนของเรานั้นไม่มีขยะตามข้างทางหรือการนำขยะมาทิ้งในที่สาธารณะนั้นมันทำยาก แต่ถ้าหากพวกเรานิ้งเฉยข้างทางก็คงมีแต่ขยะดังนั้นพวกเราต้องทำอะไรสักอย่างทางเราจึงได้ทำโครงการจัดการขยะขึ้นในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ของเรารู้จักคัดแยกขยะและสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับเรื่องของขยะ เพื่อนเป็นส่วนช่วยให้ชาวบ้านในชุมชนทำให้จำนวนขยะนั้นลงลดแทนที่มันจะเพิ่มขึ้น"

และในการที่จะสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านหันมาสวนใจโครงการพี่ตุ้ยบอกว่า "การที่จะทำให้ชาวบ้านมาสนใจโครงการของเราคงหนีไม่พ้นของแถม ทางเราเลยทำการจดบันทึกน้ำหนักของขยะที่สมาชิกทุกคนนำมาขายให้กับเราเพื่อที่จะทำการแจกของรางวัลให้กับสมาชิกที่ทำยอดน้ำหนักรวมได้มากที่สุด สวนของรางวัลก็จะเป็นพวกไข่ น้ำมันพืช น้ำปลา ที่ต้องแจกของก็เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านนำขยะมาขายเพื่อลดจำนวนขยะ ดีกว่านำไปยัดๆในขยะโดยไม่แยกประเภท"



(ใบจดบันทึกยอดน้ำหนักของสมาชิกแต่ละคนที่นำขยะมาขาย)



ในการลงพื้นที่ในครั้งทางกลุ่มเราก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการคัดแยกขยะและก็วิธีการที่จะชักชวนให้คนเห็นความสำคัญของขยะทางกลุ่มเราขอขอบคุณสมาชิกและคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านทุกท่านที่ให้ความรู้กับเรา



"ขอบคุณครับ"

หมายเลขบันทึก: 625965เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2017 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2017 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท