อยู่กับมะเร็งอย่างเป็นสุข ด้วยกิจกรรมบำบัด



โรคที่พบมากในปัจจุบันโรคหนึ่งคือ มะเร็ง สาเหตุของโรคก็คือ ความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายที่สารพันธุกรรม หรือ ยีน ผิดปกติ ทำให้เซลล์เจริญผิดปกติเป็นก้อนเนื้อร้าย และ สามารถรุกรานไปอวัยวะต่างๆได้ มะเร็งจึงเป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็นเพราะเป็นโรคที่สามารถพาชีวิตของมนุษย์ไปสู่ความตายได้ เมื่อผู้คน ทราบว่า ตนเป็นมะเร็ง นั้น กิจกรรมบำบัดสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้คนเหล่านี้ได้ ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ เช่น การรักษาด้วยการผ่าตัด การทำเคมีบำบัด การทำรังสีบำบัด เป็นต้น


การรับรู้ว่า "ตัวเองเป็นมะเร็ง" นั้น ผู้ป่วยบางส่วนจะสามารถรับได้ แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่เกิด ภาวะวิตกกังวล(anxiety) และ ภาวะโรคซึมเศร้า(depression)ได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะกลัว วิตกกังวล มีความเครียด คิดถึงสถานการณ์ในอนาคตในแง่ร้ายทั้งเรื่อง อาการของโรค ความเจ็บปวดที่จะตามมา ครอบครัว เศรษฐฐานะทางการเงิน หรือ ผู้ป่วยบางรายอาการท้อแท้ในชีวิตจนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ นอกจากนี้การเกิดมะเร็งก็ทำให้ซึ่งอาการต่างๆเช่น ความเจ็บปวดทางร่างกาย ความเหนื่อยล้าที่มากขึ้นในการประกอบกิจกรรมจากทั้งตัวโรค การรักษา ความเครียด กังวล หรือ จิตใจที่ห่อเหี่ยว ซึ่งส่งผลต่อการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้เกิดความไม่สมดุลในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประวันได้

กิจกรรมบำบัดจึงสามารถเข้าไปช่วย
ให้ผู้ใช้ชีวิตอยู่กับมะเร็งมีสภาวะทางจิตที่มั่นคงมากขึ้น
ให้ตระหนักถึงความสามารถของตนเอง
จัดการตนเองให้ทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย
รู้คุณค่าในตนเอง
มีแรงใจ กำลังใจในการบำบัดรักษา
พัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง
เปิดใจ ยอมรับ รักตัวเอง ปล่อยวาง
และ อยู่ร่วมกับมะเร็งอย่างเป็นสุข

การดูแลผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และ หลังการทำการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การทำเคมีบำบัดต่างๆ นักกิจกรรมบำบัดสามารถที่จะเข้าไปช่วยเหลือในด้านต่างๆ ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ เช่น

  • ทำให้ผู้ป่วยตระหนัก ทำความเข้าใจถึงโรคที่ตนเป็น รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
  • วางแผนร่วมกับผู้ป่วยถึงการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันระหว่างการรักษาและหลังการรักษาโดย ปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจกรรมต่างๆ (ทั้งตัวผู้ป่วย การทำกิจกรรม สิ่งแวดล้อม) เพื่อสงวนพลังงาน ลดความเครียด ความอ่อนล้า วางแผนการประกอบกิจกรรมโดยหากิจกรรมการดำเนินชีวิต(การดูแลตนเอง การทำงาน การเรียน การพักผ่อนนอนหลับ การทำกิจกรรมยามว่าง การเข้าสังคม)ที่มีความหมาย มีเป้าหมาย ร่วมกับผู้ป่วยและญาติ ให้ได้แผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมตามความต้องการ และพยาธิสภาพของผู้ป่วย
  • ให้ผู้ป่วยรู้จักที่จะผ่อนคลายตัวเองจากความเครียด ความกังวล รู้จักยอมรับปล่อยวาง รู้จักพักผ่อน
  • หาแนวทางร่วมกับผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติพัฒนาจิตวิญญาณให้เข้มแข็ง มีแรงใจในการบำบัดรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะ สภาวะจิตใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง กิจกรรมบำบัดต้องพัฒนาจิตใจของผู้ป่วยให้มีจิตใจที่เข้มแข็ง ต่อสู้กับความกลัว เปิดใจยอมรับ รักตัวเอง รักษาจนเซลล์มะเร็งหายไปได้ หรือ ในบางรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายได้ สามารถให้ผู้ป่วย เปิดใจ ยอมรับ รักตัวเอง รับรู้ว่าสภาวะต่างๆคือความไม่แน่นอน ปล่อยวาง ให้เบาสบาย คิดดีจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และจากไปอย่างสงบ

..."A diagnosis of cancer is not a death sentence"...
(Charles Dobree, 1998, pp 135)



เอกสารอ้างอิง

Charles Dobree. (1998). Cancer Your question answered. London : Ebury Press.
Lawrence D. Wagman ;/et al. (2003). Cancer management : A Multidisciplinary Approach. Newyork : Publishers of Oncology News International.
คณาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล. กิจกรรมบำบัดเพื่อประชาชน. --กรุงเทพฯ : แสงดาว. 2555.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (ค้นคว้า 15 มีนาคม 2560). ความรู้ ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็ง. จาก http://www.nci.go.th.


หมายเลขบันทึก: 625954เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท