ดูเเลเเละเข้าใจผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย


ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

มะเร็งระยะสุดท้ายก็คือ มะเร็งชนิดแพร่กระจาย อยู่ใน ระยะ4 อาการที่พบโดยส่วนใหญ่ จะมีอาการปวด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายซูบผอม ท้องผูก ปากเเห้ง กลืนลำบาก กินอากหารได้ไม่เต็มที่ น้ำหนักตัวลดลง 10% จากน้ำหนักตัวปกติ จนเมื่อมีการลุกลามของโรคมากขึ้น ร่างกายจะค่อยๆถดถอย อวัยต่างๆในร่างกายจะเริ่มสูญเสียการทำงาน ดังนั้นญาติ จึงจำเป็นต้องเข้าใจการดูแลและทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และอาการของผู้ป่วย


  • ทางจิตใจ : ส่วนใหญ่เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการหดหู่ เศร้าใจ ว่าเพราะอะไรถึงเกิดขึ้นกับตนเอง มีอาการซึมเศร้าและมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายการดูแลรักษา การพยาบาล หรือระยะเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัว บางคนอาจไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาในช่วงเริ่มแรกนี้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการยอมรับและเข้าใจตัวเอง รวมถึงสามารถจัดการปัญหาทางอารมณ์ได้แล้วก็จะยอมให้ความร่วมมือในการรักษา
  • ทางสังคม : ในระยะแรกที่รับรู้ มักจะมีการตีตัวออกจากสังคม ไม่อยากพบปะผู้คน ในทางสังคม ครอบครัวจึงมีส่วนสำคัญในการที่จะช่วยให้คำปรึกษา ช่วยตัดสินใจเกี่ยวกับอาการป่วย ช่วยรับฟังปัญหา และคอยอยู่เคียงข้างผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการที่จะต่อสู้กับโรคร้าย และพร้อมต่อการรับการรักษาควบคู่ไปกับการดูแลร่างกาย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยได้ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันหากผู้ป่วยและครอบครัวมีความคิดที่ตรงข้ามกันในเรื่องการรักษาก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ใจและอาจนำมาสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัวจนทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดลงจากความทุกข์และความเครียดที่เกิดขึ้น



วิธีการรักษาทั่วไป

หลังตรวจพบว่าเป็นมะเร็งก็จะต้องเข้ารับการรักษากับแพทย์โรงพยาบาล ซึ่งโดยส่วนใหญ่โรงพยาบาลจะแนะนำให้ผ่าตัดนำเซลล์มะเร็งนั้นออกจากอวัยวะที่พบ นอกจากนี้อาจมีการรักษาโดยใช้ยาเคมีร่วมด้วย การทำงานของยาคือจะเป็นตัวทำลายเซลล์มะเร็งซึ่งเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้นๆ แต่ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นแบบประคับประคอง คือ เป็นการบรรเทาความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานจากโรคหรือจากผลข้างเคียงทางการรักษา และช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

โดยส่วนใหญ่บทบาทในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของนักกิจกรรบำบัดจะเป็นการดูแลเกี่ยวกับความต้องการ การบอกให้ผู้ป่วยรับรู้เกี่ยวกับอาการของตนเอง วิธีการดูแลตัวเอง ทักษะความสามรถของตนที่มีในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึงให้คำแนะนำแก่ญาติ เกี่ยวกับการดูแลและการทำความเข้าใจผู้ป่วย


การดูแลผู้ป่วย

1.รักษา/ดูแลสภาพแวดล้อมภายในให้สวยงามเพื่อลดอาการหดหู่

2.คอยสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกทางด้านจิตใจ

3.ดูแลเรื่องโภชนาการ เพราะผู้ป่วยระยะนี้มักมีการขาดสารอาหารเนื่องจากเบื่ออาหารและภาวะกลืนลำบาก จึงควรจัดอาหารที่มีลักษณะเหลวให้ เมื่อมะเร็งมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจึงควรดูแลด้านโภชนาการทีเพิ่มขึ้นคือการให้ผู้ป่วยได้รับทานอาหารที่ชอบมากขึ้น เพิ่มเติมขึ้นจากอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารปกติ

4.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย แต่ก็ควรเหมาะสมกับผู้ป่วย

5.ให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่อยากทำหรือในสิ่งที่เขาชอบในระดับที่เหมาะสม

6.ช่วยทำให้ช่วงเวลาที่เหลือของผู้ป่วยมีความสุข เช่น การพาผู้ป่วยไปในสถานที่ที่อยากไป จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบ

7.ให้กำลังใจและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยในการวางแผนในช่วงระยะเวลาที่เหลือ



ที่มา :

ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง. (2553). การจัดการตัวเองเมื่อเป็นมะเร็ง. ฉบับที่ 1

จงจิตร อังคทะวานิช. (2558). โภชนาการและการกำหนดอาหารในโรคมะเร็ง. กรุงเทพมหานคร : คณะเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อำนาจ เจริญศิลป์. (2557). สู้ชีวิตพิชิตมะเร็ง. กรุงเทพมหานคร : ศรีอนันต์การพิมพ์

Chulacancer รังสีและมะเร็งวิทยา. (2560 มีนาคม 15). แหล่งที่มาการดูแลแบบประคับประคอง.

สืบค้นจาก: http://www.chulacancer.net/patient-list.php?gid=48

รศ.พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2560 มีนาคม 15). แหล่งที่มาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย.

สืบค้นจาก : http://budnet.org/peacefuldeath/node/126

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล (รศ.พญ.) (2553). ' จดหมายข่าวการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ช่วงขณะสุดท้ายของชีวิต : ภาวะ

ร่างกายและการดูแล”. อาทิตย์อัสดง , ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖ เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2560

จากhttp://www.budnet.org/sunset/node/83

หมายเลขบันทึก: 625890เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท