ผู้จัดการกองทุนสำคัญอย่างไรกับกองทุน


ผู้จัดการกองทุนก็คือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้มาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลการลงทุนของเงินที่ลูกค้าที่ได้มีการระดมทุนกันมา โดยผู้จัดการกองทุนจะดูว่าจะแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เพื่อไปลงทุนในหุ้น ในตราสารหนี้ หรือจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมด้วยกันก็ได้ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนตามที่ลูกค้าคาดหวัง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นผลตอบแทนที่สูงพอสมควร

การเป็นผู้จัดการกองทุน หรือ Fund Manager เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นหนึ่งในสาขาอาชีพที่เป็นที่คาดหวังของนักเรียน สาขาการเงินหลายๆคน สำหรับเหตุผลคงหนีไม่พ้นว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะมีโอกาสได้บริหารเงินที่มีจำนวนมาก

สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความ คาดหวัง (Expectation) ของนักลงทุน ทั้งในด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง ผู้จัดการกองทุนต้องตระหนักเสมอว่า เงินที่ลงทุนอยู่นั้นไม่ใช่เงินของตนเอง เงินที่นำมาลงทุนส่วนมากเป็นเงินที่นักลงทุนเก็บออมมาด้วยความยากลำบาก ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในยามเกษียณ หรือเพื่อสำหรับการศึกษาของบุตรธิดาของนักลงทุนนั้น ความคาดหวังจึงมีค่อนข้างสูง

โดยคุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนที่ดีจากหนังสือ “ลงทุนสวนกระแสอย่าง…แอนโทนี โบลตัน (INVESTING AGAINST THE TIDE)” เขียนโดย แอนโทนี โบลตัน ผู้จัดการกองทุน Fidelity Special Situations Fundได้ให้คำแนะนำว่าผู้จัดการกองทุนที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร โดยมีทั้งหมด 12 ข้อ

1. การมีสายตาทะลุทะลวง : ผู้จัดการกองทุนต้องมีการวิเคราะห์ที่มากกว่านักลงทุนท่านอื่นสองถึงสาม เราต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าบริษัทใดจะได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ซึ่งนักลงทุนท่านอื่นยังไม่ได้คิดถึง นอกจากนี้ผู้จัดการกองทุนต้องสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มสดใสในอนาคตที่ทุกคนมองข้าม และต้องมีราคาไม่แพงด้วย

2. การมีภาวะอารมณ์อันเหมาะสม : นอกจากการมี IQ ที่ดีแล้วสิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือ การมีภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสม เพราะผู้จัดการกองทุนจะพบกับความกดดันอย่างสูงทั้งหุ้นขาขึ้นและขาลง ซึ่งผู้จักการกองทุนต้องมีการปรับสมดุลของอารมณ์ไม่ให้หดหู่จนเกินไปในภาวะหุ้นขาลง และไม่หลงระเริงจนเกินไปในภาวะหุ้นขาขึ้น และเป็นคนที่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งนั้น

3. การมีระบบระเบียบ : ผู้จัดการกองทุนจะได้รับข้อมูลข่าวสารในแต่ละวันอย่างมากและไม่มีรูปแบบ เพราะฉะนั้นผู้จัดการกองทุนต้องมีระบบในการย่อยข้อมูลที่ดี มีการวางแผนทำงานในแต่ละวัน เพราะหากไม่เช่นนั้นเหตุการณ์ต่างๆ จะเข้ามาเป็นตัวกำหนดการทำงานของคุณ

4. การหลงใหลการวิเคราะห์ : การวิเคราะห์ที่ดีไม่ได้หวังผลเพียงแค่ผลลัพธ์ที่ถูกต้องเท่านั้น แต่กระบวนการทางความคิดและวิธีคิดก็มีความสำคัญไม่แพ้

5. การรู้กว้างแต่รู้ละเอียด : ผู้จัดการกองทุนต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและอุตสาหกรรมหลากหลาย จะต้องรู้กว้างและลึกพอสมควร เพราะหุ้นที่มีธุรกิจที่แตกต่างกันในพอร์ตฟอริโอ แต่อาจไม่จำเป็นที่ต้องรู้ลึกเหมือนกับนักวิเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญในหุ้นกลุ่มนั้นๆ

6. ความต้องการชัยชนะ : งานบริหารกองทุนมีการแข่งขันสูงมาก ผลตอบแทนที่ผู้จัดการกองทุนทำได้นอกจากจะถูกเปรียบเทียบกับเกณฑ์วัดมาตราฐาน (Benchmark) แล้วยังต้องเปรียบเทียบกับผู้จัดการกองทุนท่านอื่นที่มีนโยบายการบริหารกองทุนที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในสภาพการแข่งขันที่สูงแบบนี้ ผู้จัดการกองทุนต้องมีความปรารณนาในการที่จะชนะเกณฑ์วัดมาตราฐานและผู้จัดการกองทุนท่านอื่น

7. การมีความเชื่อมั่นอันยืดหยุ่น : ผู้บริหารกองทุนต้องหลีกเลี่ยงการมีความเชื่อมั่นตัวเองจนเกินไปและการดื้อด้านแบบโง่ๆ ความเชื่อมันต้องมีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะเปลี่ยนความคิดหากมีข้อมูลใหม่ของบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ

8. การยินดีที่จะสวนกระแสฝูงชน : ผู้จัดการกองทุนควรเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกความคิดของตลาดเข้ามามีอิทธิพลมากเกินไป มีความกล้าที่จะสวนกระแสฝูงชนเพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ในฝูงชน ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ผิด

9. การรู้จักตัวเอง : ผู้จัดการกองทุนต้องรู้จักตัวเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน ต้องรู้สไตร์หรือวิธีการบริหารกองทุนให้เหมาะสมกับภาวะอารมณ์ของตัวเอง การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเป็นการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนคนนั้น เพราะฉะนั้นการมีหัวใจประชาธิปไตยไม่ใช่คุณสมบัติของผู้จัดการกองทุนที่ดี

10. ประสบการณ์ : การเข้าใจถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นมีความจำเป็น ถึงแม้ว่ามันไม่สามารถที่จะพยากรณ์ในอนาคตว่าเหตุการณ์จะเหมือนเดิมหรือไม่ แต่มันจะมีบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกัน

11. การมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ : การมีคุณธรรมและความซื่อสัตยเป็นสิ่งจำเป็น ผู้จัดการกองทุนต้องซื่อสัตย์กับบริษัท เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือแม้กระทั่งตัวเอง

12. การมีสามัญสำนึก : ผู้จัดการกองทุนต้องมีสามัญสำนึกที่ดี เช่น หากบริษัทมีการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่แปลกไปจากภาวะปกติ ผู้จัดการกองทุนควรตั้งคำถามกับตัวเองว่ามันสมเหตุสมผลหรือไม่ หากคิดว่ามันเป็นสิ่งยากที่จะเข้าใจก็ควรหลีกเลี่ยง

สำหรับใครที่สนใจจะเป็นผู้จัดการกองทุนนั้นจะจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นสายบริหาร บัญชี การเงิน และก็มีบ้างที่เป็นสายวิศวกรรม ซึ่งทุกคนจะต้องสอบผ่านหลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับหนึ่ง และมีประสบการณ์ทำงานด้านการลงทุนหรือการวิเคราะห์หลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่ถ้าหากไม่มีประสบการณ์แต่ได้รับวุฒิบัตร (ระดับ 3) หลักสูตร Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst (CISA) และนอกจากจะสอบผ่าน CFA หรือ CISA แล้ว ยังต้องผ่านการทดสอบเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณเกี่ยวกับการเป็นผู้จัดการกองทุนด้วยอีกหนึ่งอย่างถึงจะได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดการกองทุนได้



แหล่งที่มา

http://fundmanagertalk.com/fund-talk-12-fund-manag...

http://fundmanagertalk.com/career-talk-fund-manage...

https://moneyhub.in.th/article/fund-manager/

หมายเลขบันทึก: 625818เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2017 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2017 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท