บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง


"เมื่อเรากำลังอยู่ในช่วงชีวิตที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีครอบครัวที่ดี มีความสุข แต่แล้ววันหนึ่ง... คุณกลับพบว่าตัวเองกำลังเป็นโรคร้าย ...มะเร็ง... คุณจะทำอย่างไร ชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อไป"

มีหลายคำถามเกิดขึ้นมากมายในหัว พร้อมกับภาวะความเครียด ซึมเศร้าที่เกิดขึ้นได้ มีความอ่อนล้าทางความคิด ด้านร่างกายและจิตใจ บางคนอาจจะไม่มีจิตใจที่จะทำกิจกรรมอะไร

จากหนังสือที่นักศึกษาได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง นักศึกษาคิดว่า กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ได้ทุกระยะในโรคมะเร็ง เพราะในทุกระยะจะพบได้ว่าผู้ป่วยต่างมีภาวะต่างๆดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่จะมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้บำบัดควรออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

กระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่พบได้แก่

  • โปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-Management Program) เป็นโปรแกรมทบทวนความคิดของตนเองให้เข้าใจผลกระทบของโรคและประเมินสุขภาวะของตนเองเพื่อวางแผนฝึกทักษะการดำเนินชีวิต เช่น การจัดการเวลาและพลังงานในการทำกิจกรรม การจัดการอุปสรรคและอารมณ์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

ประโยชน์ ------> ผู้ป่วยสามารถจัดการการดำเนินชีวิตของตัวเองในแต่ละวันได้ว่าจะต้องทำอะไร โดยไม่อ่อนเพลียจนเกินไปและมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคที่เป็นอยู่ ไม่มีความอ่อนล้าทางความคิด ด้านร่างกายและจิตใจจนไม่อยากทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย และให้เกิดความรู้สึกว่าชีวิตยังมีคุณค่า

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในอเมริกา ได้ทำการรักษากลุ่มคนไข้ที่มีอาการดีขึ้น พบว่า 10%ของคนไข้ ดีขึ้นจากผลของยา 30%ดีขึ้นเพราะปัจจัยอื่นๆ แต่60% ดีจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง


  • วางแผนการพักผ่อน (Plan Your Rests) ผู้ป่วยมะเร็ง เมื่อได้รับการผ่าตัด รับรังสี จะมีผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย หมดแรง ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆเลย

ประโยชน์ ------> มีความรู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น สามารถทำกิจกรรมได้มากขึ้น เกิดความสุขหลังจากพักผ่อนเพียงพอหรือจากการทำกิจกรรมที่ชอบ

ความอ่อนเพลีย อาจมาจากสาเหตุอื่นๆได้อีก เช่น นอนไม่พอ ซึมเศร้า เครียด ท้อถอย ไม่อยากมีชีวิตต่อไป


  • การทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ได้ทำเพื่อผู้อื่น ได้ช่วยเหลือกันและกัน

ประโยชน์ ------> มีการวิจัยพบว่าการมีกิจกรรมกลุ่มทำให้ลดการใช้ยาแก้ปวด ยานอนหลับ หรือยาลดความเครียดได้ มีความเข้าใจโรคที่เป็นมากขึ้น รู้สึกว่าตัวเองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าด้วย

จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม พบว่า คนไข้ที่เข้าร่วมกลุ่มมีชีวิตอยู่ได้นานกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม ประมาณ2เท่า (เฉลี่ยประมาน 36.6 เดือน และ 18.9 เดือน ตามลำดับ)


  • โภชนบำบัด การเลือกรับประทานอาหารมีความสำคัญมาก เพราะถ้าภูมิคุ้มกันน้อย เซลล์มะเร็งจะสามารถลุกลามได้

ประโยชน์ ------> การเลือกรับประทานอาหาร สามารถทำให้ภูมิต้านทานฟื้นสภาพคืนมาได้ มีเพิ่มมากขึ้นได้

อาหารที่ไม่ควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ และไขมันทุกประเภท อาหารที่มีรสเค็ม ควรกินผักสดและผลไม้สดมากๆ

จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่ากระเทียม ขิง ชาเขียว โสม แอสตรากาลัส(สมุนไพรจีน) เป็นต้น สามารถต่อต้านโรคมะเร็งได้


ขอขอบคุณหนังสือ

  1. Andrew Weil, M.D. พลังบำบัด ร่างกายคุณรักษาตนเองได้. แปลจากเรื่อง Spontaneous Healing โดย อัปสร มีสิงห์. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: คลินิกสุขภาพ, 2554.
  2. ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง. การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์, 2553.
  3. นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง. ม.ป.ท.


หมายเลขบันทึก: 625814เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2017 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มีนาคม 2017 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท