OBP (Occupational Base Practice)


OBP (Occupational Base Practice)
เนื่องจากในอดีต ยังไม่มีคําว่า OBP จึงทําให้เรายังไม่สามารถเข้าถึงความต้องการของตัวผู้รับ

บริการจริงๆ ซึ่งเคสที่ได้เป็นน้องเพศชาย อายุ 3 ปี 3 เดือน น้องมีอาการ ไม่ทําตามคําสั่ง ซน มองหน้า สบตาเล็กน้อย ยังพูดไม่เป็นคํา เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันไม่ค่อยได้ ไม่เล่นสมมติ เล่นของเล่นไม่เป็น เอา มาขว้าง ชอบหมุนล้อรถของเล่นแต่ไม่บ่อย ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Autistic Spectrum Disorder

แผนการรักษาทางกิจกรรมบําบัด (มององค์รวม OBP)
1. การให้กิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้เด็กได้ออกกําลังกายมากๆ ลดแรงขับ แรงผลักใน ตัวน้อง เพื่อลดพฤติกรรมไม่นิ่ง : อาจจะให้น้องกระโดดบนเตียงนอนของตัวเองที่บ้าน
2. ให้กิจกรรมเพื่อให้น้องรับรู้ทําตามคําสั่งง่ายๆ :บอกคําสั่งง่ายๆกับน้อง เช่น สวัสดีพี่ซิ แล้วให้ขนมที่ น้องชอบ / ของเล่นที่น้องชอบเล่น ทําซ้ําไปเรื่อยๆ ถ้าน้องไม่ยอมทําตามต้องกระตุ้นให้ทํา
3. ให้กิจกรรมที่ทําให้น้องสามารถสบตา : กระตุ้นการมองของน้องด้วยการถือของ(ล้อรถของเล่น)ที่น้อง สนใจในขณะทํากิจกรรม เมื่อน้องมองหน้าให้กล่าวคําชมเชยและยิ้มให้
4. ให้กิจกรรมที่ทําให้น้องสามารถควบคุมตัวเองได้ : ให้น้องเดินบนพื้นกระเบื้อง แต่ห้ามเหยียบเส้น เพื่อ ไปหยิบของเล่นจากตะกร้ามาให้ผู้บําบัด
5. ให้กิจกรรมที่ทําให้น้องคงความสนใจขณะทํากิจกรรมได้ : ให้น้องกระโดดขวางสิ่งกีดขวาง โดยนําของ เหล่านั้นมาจากของใกล้ๆตัว หรือเป็นของเล่น / ตุ๊กตา ของน้องเอง ทําซ้ําๆ หลายๆรอบ สามารถช่วย เหลือน้องได้

6. ให้กิจกรรมที่ทําให้น้องสามารถรับรู้สีแดงได้ : สอนให้น้องรู้จักสีก่อน จากนั้นให้นําของเล่นหลายๆสีมา แล้วบอกน้องว่า มีสีอะไรบ้าง แล้วให้น้องทาย ถ้าทายถูกก็จะให้ขนมที่น้องชอบ

คำสำคัญ (Tags): #OBP
หมายเลขบันทึก: 625589เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2017 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท